Top

ข้อมูลนักท่องเที่ยว

แหล่งรวบรวมข้อมูลที่จำเป็นสำหรับนักท่องเที่ยว

สภาพอากาศ

สภาพอากาศ : สุโขทัย
สภาวะอากาศทั่วไป
ฤดูร้อน เริ่มประมาณเดือนมีนาคม-พฤษภาคม อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ยรายวันสูงกว่า 36°C เดือนเมษายนจะร้อนมากที่สุดในรอบปี โดยมีอุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ยเท่ากับ 37°C และต่ำสุดเฉลี่ยเท่ากับ 27°C
ฤดูฝน เริ่มประมาณเดือนพฤษภาคม-ตุลาคม อุณหภูมิช่วงเวลานี้ให้ความรู้สึกร้อนอบอ้าว เดือนที่มีฝนตกมากที่สุดคือ เดือนกันยายน
ฤดูหนาว เริ่มประมาณเดือนกรกฎาคม-มกราคม อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ยรายวันสูงกว่า 32°C เดือนธันวาคมจะหนาวเย็นมากที่สุดในรอบปี โดยมีอุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ยเท่ากับ 19°C และสูงสุดเฉลี่ยเท่ากับ 31°C
  • ช่วงที่ท้องฟ้าแจ่มใสมากที่สุดของปี คือ เดือนกุมภาพันธ์
  • ช่วงเวลาปลอดฝนของปี คือ ระหว่างเดือนพฤศจิกายน-กุมภาพันธ์
  • สภาพอากาศ : กำแพงเพชร
    สภาวะอากาศทั่วไป
    ฤดูร้อน เริ่มประมาณเดือนมีนาคม-พฤษภาคม อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ยรายวันสูงกว่า 36°C เดือนเมษายนจะร้อนมากที่สุดในรอบปี โดยมีอุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ยเท่ากับ 37°C และต่ำสุดเฉลี่ยเท่ากับ 27°C
    ฤดูฝน เริ่มประมาณเดือนพฤษภาคม-ตุลาคม อุณหภูมิช่วงเวลานี้ให้ความรู้สึกร้อนอบอ้าว เดือนที่มีฝนตกมากที่สุดคือ เดือนสิงหาคม
    ฤดูหนาว เริ่มประมาณเดือนกันยายน-มกราคม อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ยรายวันสูงกว่า 32°C เดือนธันวาคมจะหนาวเย็นมากที่สุดในรอบปี โดยมีอุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ยเท่ากับ 19°C และสูงสุดเฉลี่ยเท่ากับ 30°C
  • ช่วงที่ท้องฟ้าแจ่มใสมากที่สุดของปี คือ เดือนกุมภาพันธ์
  • ช่วงเวลาปลอดฝนของปี คือ ระหว่างเดือนพฤศจิกายน-กุมภาพันธ์
  • ข้อแนะนำการท่องเที่ยวสุโขทัย/กำแพงเพชร ในช่วงฤดูร้อน
    สภาวะอากาศที่ร้อนมาก อุณหภูมิสูงประมาณ 37-43 °C นักท่องเที่ยวควรศึกษาข้อแนะนำเหล่านี้
    สวมใส่เสื้อผ้าที่เหมาะสม ควรสวมใส่เสื้อผ้าแบบสบาย ๆ ไม่รัด ไม่หนา เพื่อให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก หรืออาจสวมใส่เสื้อผ้าที่ป้องกันแสงยูวี ควรสวมหมวก สวมแว่นกันแดด
    ทาครีมกันแดด ช่วงหน้าร้อนนี้แดดจะแรงเป็นพิเศษ เพื่อป้องกันผิวไหม้ และภัยร้ายจากแสงยูวี ไม่ควรลืมที่จะทาครีมกันแดดเพื่อปกป้องสุขภาพผิว
    ดื่มน้ำบ่อยๆ ควรดื่มน้ำให้เพียงพอและมากขึ้นเพื่อทดแทนน้ำที่ร่างกายสูญเสียไป และยังป้องกันภาวะร่างกายขาดน้ำได้อีกด้วย
    สังเกตสัญญาณเตือนอาการฮีทสโตรก (Heat Stroke)
    • - หน้าแดง ตัวร้อนจัด (อุณหภูมิสูงกว่า 40 องศาเซลเซียส)
    • - ไม่มีเหงื่อ แม้อากาศร้อน
    • - กระหายน้ำ
    • - หายใจเร็ว หายใจถี่
    • - คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนเพลีย
    • - วิงเวียนศีรษะ ความรู้สึกตัวลดลง หน้ามืด หมดสติ

    กลุ่มเสี่ยง
    • - ผู้สูงอายุและเด็ก
    • - ผู้เป็นโรคเรื้อรัง เช่น โรคอ้วน
    • - ผู้ที่พักผ่อนไม่เพียงพอ

    แนวทางป้องกัน
    • - ดื่มน้ำมาก ๆ
    • - ใส่เสื้อผ้าโปร่งสบาย สีอ่อน
    • - หลีกเลี่ยงการอยู่กลางแดดเป็นเวลานาน

    วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น
    • - นำผู้ป่วยเข้าที่ร่ม กันคนห้อมล้อมออก ให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก
    • - คลายเสื้อผ้าออก ปลดเข็มขัด ถอดรองเท้า ถุงเท้า
    • - นอนศีรษะราบ ยกขาสูงทั้งสองข้าง โดยหาของมารองปลายเท้า เพื่อให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงหัวใจได้ดีขึ้น
    • - ใช้ผ้าชุบน้ำเย็น หรือน้ำแข็งประคบตามซอกคอ ตัว รักแร้ ขาหนีบ หน้าผาก ใช้พัดลมช่วยเป่าระบายความร้อน
    • - หากไม่หมดสติให้ดื่มน้ำเปล่ามากๆ และรีบนำตัวส่งโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด

    หากสงสัยว่าตนเองจะมีอาการฮีทสโตรกหรือพบเห็นผู้มีอาการ ต้องการความช่วยเหลือติดต่อสายด่วนได้ตลอด 24 ชั่วโมง
    • - 1669 หน่วยแพทย์ฉุกเฉิน
    • - 1155 ตำรวจท่องเที่ยว

    ย้อนกลับ