บ้านภูมิปัญญาฟั่นเทียน
(แหล่งศิลปวัฒนธรรม, อ.ศรีสัชนาลัย, จ.สุโขทัย)
ย้อนหลังกลับไปเมื่อครั้งสมัยสุโขทัยเป็นราชธานี เมื่อ 700 ปีล่วงผ่านมา การคมนาคมขนส่งไม่เจริญเท่าทุกวันนี้บ้านเรือนไม่มีไฟฟ้าใช้ มีเพียงการก่อไฟให้แสงสว่างด้วยวิธีธรรมชาติ ยามเมื่อรัตติกาลมาเยือน มีเพียงความมืดมิดปกคลุมทุกพื้นที่ ด้วยวิถีชีวิตที่ใกล้ชิดกับธรรมชาติก่อเกิดเป็นภูมิปัญญาที่พัฒนามาจากการสะสมประสบการณ์ เรียนรู้ และถ่ายทอดรุ่นต่อรุ่น จากบรรพบุรุษสู่ลูกหลาน “การฟั่นเทียน” ถือเป็นหนึ่งภูมิปัญญาที่เกิดจากการถ่ายทอด ซึมซับ เรียนรู้ เพื่อนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการดำรงชีวิต จากอดีตนับเนื่องสู่ปัจจุบัน
คุณสมบูรณ์ โฆษประสิทธ์ (หรือที่เราเรียกว่า ป้าแอ๊ว) ผู้สืบทอดภูมิปัญญาฟั่นเทียน เล่าให้ฟังเกี่ยวกับการฟั่นเทียนว่า เป็นความรู้ที่ได้รับการถ่ายทอดมาจากพ่อและแม่ สมัยเด็ก ๆ ช่วงอายุประมาณ 15 ปี (พ.ศ. 2487) เคยตามพ่อไปหาเก็บรังผึ้งเพื่อเอามาเคี่ยวทำเทียน รังผึ้ง 1 รัง จะเคี่ยวเพื่อให้ได้เทียนไม่มาก จะเลือกเอาเฉพาะส่วนที่เกือบติดกับกิ่งไม้ออกไปรับประทาน และส่วนที่เป็นรังนำมาล้างให้สะอาด เอามาตั้งไฟเคี่ยว (ไม่ต้องใส่น้ำ) เมื่อเคี่ยวได้ที่หรือพอเหมาะแล้ว ส่วนที่สามารถใช้ทำเทียนได้จะลอยขึ้น ก็เลือกตักเฉพาะส่วนที่ลอยนั้นเอาออกมาพักไว้เพื่อให้แข็งตัว ถ้าเป็นเทียนที่มีลักษณะดี มีคุณภาพ สีจะออกเหลืองอ่อน แต่ถ้าไม่ดีสีจะออกสีขาว ก่อนจะทำเทียนได้นั้น ต้องมีไส้เทียน ซึ่งเป็นด้ายขนาดเส้นไม่ต้องใหญ่มาก หรือถ้าจะทำเทียนเล่มใหญ่ จะใช้ด้ายพันกันเป็นเกลียวและฟั่น เทียนทับด้านนอก กรรมวิธีการฟั่นเทียนไม่ยาก จะยุ่งยากซับซ้อนเฉพาะตอนหารังผึ้งมาเคี่ยวทำเนื้อเทียนเท่านั้น
วิธีการฟั่นเทียน จะเริ่มจาก เอาเทียนที่เราทำเป็นก้อน มาลนไฟให้อ่อน ก่อไฟด้านบน ส่วนด้านล่าง ให้เอาเทียนก้อนไปวางเพื่อจะรับไอความร้อนจากด้านบนที่ส่งมาถึงใต้เตา เมื่อเทียนอ่อนตัว เราก็เอาเทียนไปชั่งบน “กระเต็ง” (เครื่องชั่งเทียน/ทอง) ให้ได้น้ำหนัก 1 บาท เทียบกับทอง ก็มีน้ำหนักเท่ากับ 15.2 กรัม การชั่งเทียนเพื่อจะได้รู้สัดส่วนของการฟั่นเทียนแต่ละเล่ม ยกตัวอย่างเช่น การทำเทียนชัย ปกติทั่วไป จะใช้เทียนน้ำหนัก 1 บาท ปัจจุบันราคาขายเล่มละ 15 บาท แต่ถ้าเป็นเทียนที่สั่งทำพิเศษ เช่น เทียนชัยสำหรับการบวงสรวงพระยาลิไทย จะใช้น้ำหนักเทียน 5 บาท จะทำให้ 1 เล่ม แต่ถ้าเป็นเทียนจุดฟังเทศน์ ก็ขายอยู่ที่ 100 เล่ม ราคา 130 บาท เป็นต้น ก่อนจะฟั่นเทียนต้องรู้ขนาดว่าเทียนที่เราจะฟั่นจะใช้ขนาดเนื้อเทียนกี่บาท เอาไส้เทียนวางเป็นแนว หยิบเนื้อเทียนลนไฟจนอ่อนมาแปะลงที่ไส้เทียนและค่อยๆ คลึงให้เนื้อเทียนโอบไส้เทียนจนได้ระดับความยาวที่ต้องการ และใช้มือเกลี่ยเนื้อเทียนให้เสมอกันตลอดเล่มเทียน หลังจากนั้นตัดไส้เทียนออก ถือเป็นการเสร็จสิ้นการฟั่นเทียน 1 เล่ม
ป้าสมบูรณ์เล่าว่า ตอนนี้รังผึ้งแถบบ้านเราที่จะนำมาทำเทียนหาไม่ได้แล้ว ป้าสมบูรณ์ต้อง สั่งซื้อมาจากต่างจังหวัด ราคาอยู่ที่กิโลกรัมละ 300 บาท แต่เมื่อนำมาฟั่นเทียนก็ได้มากโขคุ้มค่าอยู่ ถ้าใช้ความชำนาญในการทำ ก็จะไม่สิ้นเปลืองมาก วิชาการฟั่นเทียนนี้ป้ารัก เวลาว่างก็ไม่มีอะไรทำก็มานั่งฟั่นเทียนอยู่เรื่อย ๆ เพราะขายได้ตลอดไม่ขาด การฟั่นเทียนที่มีส่วนผสมมาจากรังผึ้งนี้จะใช้เฉพาะงานมงคล การฟังเทศน์ การบวงสรวงเท่านั้น ป้าสมบูรณ์บอกว่ามีความสุข และดีใจที่ตอนนี้มีคนมารับถ่ายทอดฝีมือการฟั่นเทียนแล้ว
คุณสมบูรณ์ โฆษประสิทธ์ (หรือที่เราเรียกว่า ป้าแอ๊ว) ผู้สืบทอดภูมิปัญญาฟั่นเทียน เล่าให้ฟังเกี่ยวกับการฟั่นเทียนว่า เป็นความรู้ที่ได้รับการถ่ายทอดมาจากพ่อและแม่ สมัยเด็ก ๆ ช่วงอายุประมาณ 15 ปี (พ.ศ. 2487) เคยตามพ่อไปหาเก็บรังผึ้งเพื่อเอามาเคี่ยวทำเทียน รังผึ้ง 1 รัง จะเคี่ยวเพื่อให้ได้เทียนไม่มาก จะเลือกเอาเฉพาะส่วนที่เกือบติดกับกิ่งไม้ออกไปรับประทาน และส่วนที่เป็นรังนำมาล้างให้สะอาด เอามาตั้งไฟเคี่ยว (ไม่ต้องใส่น้ำ) เมื่อเคี่ยวได้ที่หรือพอเหมาะแล้ว ส่วนที่สามารถใช้ทำเทียนได้จะลอยขึ้น ก็เลือกตักเฉพาะส่วนที่ลอยนั้นเอาออกมาพักไว้เพื่อให้แข็งตัว ถ้าเป็นเทียนที่มีลักษณะดี มีคุณภาพ สีจะออกเหลืองอ่อน แต่ถ้าไม่ดีสีจะออกสีขาว ก่อนจะทำเทียนได้นั้น ต้องมีไส้เทียน ซึ่งเป็นด้ายขนาดเส้นไม่ต้องใหญ่มาก หรือถ้าจะทำเทียนเล่มใหญ่ จะใช้ด้ายพันกันเป็นเกลียวและฟั่น เทียนทับด้านนอก กรรมวิธีการฟั่นเทียนไม่ยาก จะยุ่งยากซับซ้อนเฉพาะตอนหารังผึ้งมาเคี่ยวทำเนื้อเทียนเท่านั้น
วิธีการฟั่นเทียน จะเริ่มจาก เอาเทียนที่เราทำเป็นก้อน มาลนไฟให้อ่อน ก่อไฟด้านบน ส่วนด้านล่าง ให้เอาเทียนก้อนไปวางเพื่อจะรับไอความร้อนจากด้านบนที่ส่งมาถึงใต้เตา เมื่อเทียนอ่อนตัว เราก็เอาเทียนไปชั่งบน “กระเต็ง” (เครื่องชั่งเทียน/ทอง) ให้ได้น้ำหนัก 1 บาท เทียบกับทอง ก็มีน้ำหนักเท่ากับ 15.2 กรัม การชั่งเทียนเพื่อจะได้รู้สัดส่วนของการฟั่นเทียนแต่ละเล่ม ยกตัวอย่างเช่น การทำเทียนชัย ปกติทั่วไป จะใช้เทียนน้ำหนัก 1 บาท ปัจจุบันราคาขายเล่มละ 15 บาท แต่ถ้าเป็นเทียนที่สั่งทำพิเศษ เช่น เทียนชัยสำหรับการบวงสรวงพระยาลิไทย จะใช้น้ำหนักเทียน 5 บาท จะทำให้ 1 เล่ม แต่ถ้าเป็นเทียนจุดฟังเทศน์ ก็ขายอยู่ที่ 100 เล่ม ราคา 130 บาท เป็นต้น ก่อนจะฟั่นเทียนต้องรู้ขนาดว่าเทียนที่เราจะฟั่นจะใช้ขนาดเนื้อเทียนกี่บาท เอาไส้เทียนวางเป็นแนว หยิบเนื้อเทียนลนไฟจนอ่อนมาแปะลงที่ไส้เทียนและค่อยๆ คลึงให้เนื้อเทียนโอบไส้เทียนจนได้ระดับความยาวที่ต้องการ และใช้มือเกลี่ยเนื้อเทียนให้เสมอกันตลอดเล่มเทียน หลังจากนั้นตัดไส้เทียนออก ถือเป็นการเสร็จสิ้นการฟั่นเทียน 1 เล่ม
ป้าสมบูรณ์เล่าว่า ตอนนี้รังผึ้งแถบบ้านเราที่จะนำมาทำเทียนหาไม่ได้แล้ว ป้าสมบูรณ์ต้อง สั่งซื้อมาจากต่างจังหวัด ราคาอยู่ที่กิโลกรัมละ 300 บาท แต่เมื่อนำมาฟั่นเทียนก็ได้มากโขคุ้มค่าอยู่ ถ้าใช้ความชำนาญในการทำ ก็จะไม่สิ้นเปลืองมาก วิชาการฟั่นเทียนนี้ป้ารัก เวลาว่างก็ไม่มีอะไรทำก็มานั่งฟั่นเทียนอยู่เรื่อย ๆ เพราะขายได้ตลอดไม่ขาด การฟั่นเทียนที่มีส่วนผสมมาจากรังผึ้งนี้จะใช้เฉพาะงานมงคล การฟังเทศน์ การบวงสรวงเท่านั้น ป้าสมบูรณ์บอกว่ามีความสุข และดีใจที่ตอนนี้มีคนมารับถ่ายทอดฝีมือการฟั่นเทียนแล้ว
ชมทัศนียภาพ
พักผ่อน
ร้านของฝาก/ของที่ระลึก
ปั่นจักรยาน
มอเตอร์ไซค์
รถยนต์
ที่จอดรถ
กิจกรรมแบบเดี่ยว
กิจกรรมแบบกลุ่ม
เพื่อความบันเทิง
กิจกรรมในร่ม