Top

กำแพงเมืองและประตูเมือง

ตรีบูรได้สามพันสี่ร้อยวา
(อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย, เมืองเก่าสุโขทัย)
ภูมิปัญญาอันชาญฉลาดของบรรพชนสุโขทัยนั้น สามารถดูได้จากการสร้างกำแพงเมืองที่ล้อมรอบเมืองโบราณสุโขทัยเอาไว้ ศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช กล่าวไว้ว่า "รอบเมืองสุโขทัยนี้ตรีบูรได้สามพันสี่ร้อยวา" และ "เมืองสุโขทัยนี้มีสี่ปากประตูหลวง" เมื่อนำมาพิจารณาร่วมกับสภาพของกำแพงเมืองโบราณสุโขทัยที่ยังหลงเหลืออยู่ค่อนข้างมาก พบว่ามีลักษณะตรงกัน

คำว่าตรีบูรนั้น เดิมเข้าใจว่าหมายถึงกำแพงสามชั้น แต่ปรากฏว่าคำนี้ปรากฏในวรรณกรรมอื่นๆ อีก เช่น ในกำสรวลสมุทร กล่าวว่า "อยุธยาไพโรจน์ใต้ ตรีบูร" และในจารึกวัดเชียงมั่น กล่าวว่า "พญามังรายเจ้า และพญางําเมือง พญาร่วง ทั้งสามตน ตั้งหอนอน ในที่ชัยภูมิราชมณเทียร ขุดคือก่อตรีบูร ทั้งสี่ด้าน" ทั้งสองแห่งนี้เล่าถึงสภาพของเมืองเชียงใหม่ และกรุงศรีอยุธยา ซึ่งมิได้มีกำแพงสามชั้น แต่ก็ใช้คำว่า "ตรีบูร" เช่นกัน ดังนั้นคำนี้น่าจะหมายถึงกำแพงเมือง เท่านั้น

เชื่อกันว่าแต่เดิมกำแพงเมืองสุโขทัยมีเพียงชั้นในสุดด้านเดียว สองชั้นนอกสร้างขึ้นในสมัยหลัง มีการขุดค้นพบเศษเครื่องถ้วยจีมีอายุตรงกับช่วงอยุธยาตอนต้นในกำแพงเมืองชั้นนอก ซึ่งสนับสนุนแนวคิดนี้ได้อย่างดี สันนิษฐานว่าที่กำแพงต้องมีสามชั้นคั่นด้วยคูน้ำ เป็นเพราะเหตุผลในการชลประทาน เพื่อการระบายน้ำมากกว่าสิ่งอื่น

ผังเมืองสุโขทัย มีกำแพงเมืองเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีประตูเมืองอยู่เกือบกึ่งกลางของทั้งสี่ด้าน ประตูเมืองด้านทิศเหนือ ปัจจุบันเรียกว่า "ประตูศาลหลวง" ด้านทิศใต้ เรียกว่า "ประตูนะโม" ยังปรากฎร่องรอยของป้อมปราการบริเวณปากประตู โดยเฉพาะที่ประตูนะโม มีอาคารที่เชื่อว่าเป็นวัดขนาดเล็ก ตั้งขวางประตูไว้ ก่อกำแพงป้อมล้อมรอบ เชื่อว่าเป็นผลมาจากการขยายแนวกำแพงออกไปอีกสองชั้น ทำให้วัดต้องเข้ามาอยู่ในเขตป้อม ส่วนประตูด้านทิศตะวันออกเรียกว่า "ประตูกำแพงหัก" ด้านทิศตะวันตก เรียกว่า "ประตูอ้อ" ชื่อเหล่านี้เป็นชื่อที่ชาวบ้านใช้เรียกกัน มิใช่ชื่อโบราณ

น้ำจากอ่างเก็บน้ำที่เรียกว่า "สรีดภงค์" ในภูเขาหลังเมืองสุโขทัย จะถูกส่งผ่านมาทางคลองเสาหอ เข้าสู่คูเมืองสุโขทัยที่มุมกำแพงด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ แล้วปล่อยผ่านทางน้ำเข้าสู่ตระพังต่างๆ จากนั้นจึงระบายออกจากเมืองบริเวณประตูกำแพงหักซึ่งอยู่ใกล้คลองแม่รำพัน ระบบการบริหารจัดการน้ำอันมีประสิทธิภาพนี้ ทำให้เมืองสุโขทัยเจริญอยู่ได้หลายร้อยปี




ข้อมูลติดต่อ
ชื่อผู้ติดต่อ :
อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย
ที่อยู่ :
อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ต.เมืองเก่า อ.เมืองสุโขทัย จ.สุโขทัย 64210
เบอร์โทรศัพท์ :
พิกัด :
ประตูศาลหลวง (17.02483, 99.70348) , ประตูนะโม (17.01238, 99.70595) ,
ประตูกำแพงหัก (17.01867, 99.71243), ประตูกำแพงอ้อ (17.01575, 99.69491)
Facebook :

ข้อมูลทั่วไป
วันทำการ :
ทุกวัน
เวลาทำการ :
แนะนำให้เยี่ยมชมก่อนเวลา 15.00 น. (เส้นทางเปลี่ยว และอันตราย)
ค่าเข้าชม :
-
ค่าเช่าพาหนะ :
  • รถจักรยาน 30 บาท/วัน (สามารถเช่าได้ ที่ด้านหน้าอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย)
  • รถจักรยานยนต์ 200-250 บาท/วัน
  • รถสามล้อเครื่อง 150-200 บาท (ราคาโดยประมาณ) จอดบริเวณด้านหน้าประตูอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย
  • หมายเหตุ ร้านเช่ารถ อยู่ตรงข้ามพิพิธภัณฑสถานรามคำแหง บริเวณที่ด้านหน้าอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย

    ชมทัศนียภาพ
    พักผ่อน
    เรียนรู้ประวัติศาสตร์
    หาประสบการณ์
    เติมเต็มจิตวิญญาณ
    โบราณสถาน
    เดินเท้า
    ปั่นจักรยาน
    สามล้อเครื่อง
    รถราง
    Information Center
    ที่จอดรถ
    จุดถ่ายภาพ
    ตำนานพระร่วง
    ป้ายแผนที่
    กษัตริย์เสด็จ
    กิจกรรมแบบเดี่ยว
    กิจกรรมแบบกลุ่ม
    เพื่อความรู้์
    กิจกรรมกลางแจ้ง
    แนะนำการเดินทาง
    กำแพงเมืองและประตูเมือง ตั้งนอกเขตอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย หากเดินทางมาจากเขตเทศบาลเมืองสุโขทัย มายังอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย จะต้องเดินทางด้วย รถจักรยาน , รถจักรยานยนต์ , รถยนต์ , รถคอกหมู และรถสามล้อเครื่อง มีระยะทางห่าง 12.9 กิโลเมตร
    วิธีการเดินทาง
    ระยะทาง
    ระยะเวลา
    หมายเหตุ
    เดินเท้า
    12.9 กม
    2.30-2.50 ชั่วโมง
    ไม่แนะนำ
    รถจักรยาน
    12.9 กม
    20-30 นาที
    -
    รถมอเตอร์ไซค์
    12.9 กม
    15-20 นาที
    -
    รถยนต์
    12.9 กม
    10-15 นาทีี
    -
    รถคอกหมู
    12.9 กม
    20-25 นาที
    20-40 บาท
    รถสามล้อเครื่อง
    12.9 กม
    ตามข้อตกลง
    อื่นๆ (รถราง)
    -
    -
    -

    ประตูศาลหลวง
    จากประตูทางเข้าอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยเดินทางไป ประตูศาลหลวง ซึ่งอยู่ภายนอกอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย สามารถเที่ยวชมภายในด้วยการ เดินเท้า, ปั่นจักรยาน, รถจักรยานยนต์, รถสามล้อเครื่อง และรถยนต์เท่านั้น โดยวัดระยะทางจากประตูทางเข้าได้เป็นระยะทาง 1 กิโลเมตร
    วิธีการเดินทาง
    ระยะทาง
    ระยะเวลา
    หมายเหตุ
    เดินเท้า
    1 กิโลเมตร
    10-15 นาที
    ไม่แนะนำ
    รถจักรยาน
    1 กิโลเมตร
    10-12 นาที
    -
    รถมอเตอร์ไซค์
    1 กิโลเมตร
    5-8 นาที
    -
    รถยนต์
    1 กิโลเมตร
    2-5 นาที
    -
    รถคอกหมู
    -
    -
    -
    รถสามล้อเครื่อง
    1 กิโลเมตร
    8-10 นาที
    ตามข้อตกลง
    อื่นๆ (รถราง)
    -
    -
    -

    ประตูนะโม
    จากประตูทางเข้าอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยเดินทางไป ประตูนะโม ซึ่งอยู่ภายนอกอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย สามารถเที่ยวชมภายในด้วยการ เดินเท้า, ปั่นจักรยาน, รถจักรยานยนต์, รถสามล้อเครื่อง และรถยนต์เท่านั้น โดยวัดระยะทางจากประตูทางเข้าได้เป็นระยะทาง 650 เมตร
    วิธีการเดินทาง
    ระยะทาง
    ระยะเวลา
    หมายเหตุ
    เดินเท้า
    650 เมตร
    10-15 นาที
    ไม่แนะนำ
    รถจักรยาน
    650 เมตร
    10-12 นาที
    -
    รถมอเตอร์ไซค์
    650 เมตร
    5-8 นาที
    -
    รถยนต์
    650 เมตร
    2-5 นาที
    -
    รถคอกหมู
    -
    -
    -
    รถสามล้อเครื่อง
    650 เมตร
    8-10 นาที
    ตามข้อตกลง
    อื่นๆ (รถราง)
    -
    -
    -

    ประตูกำแพงหัก
    จากประตูทางเข้าอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยเดินทางไป ประตูกำแพงหัก ซึ่งอยู่ภายนอกอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย สามารถเที่ยวชมภายในด้วยการ เดินเท้า, ปั่นจักรยาน, รถจักรยานยนต์, รถสามล้อเครื่อง และรถยนต์เท่านั้น โดยวัดระยะทางจากประตูทางเข้าได้เป็นระยะทาง 650 เมตร
    วิธีการเดินทาง
    ระยะทาง
    ระยะเวลา
    หมายเหตุ
    เดินเท้า
    650 เมตร
    10-15 นาที นาที
    ไม่แนะนำ
    รถจักรยาน
    650 เมตร
    10-12 นาที
    -
    รถมอเตอร์ไซค์
    650 เมตร
    5-8 นาที
    -
    รถยนต์
    650 เมตร
    2-5 นาที
    -
    รถคอกหมู
    -
    -
    -
    รถสามล้อเครื่อง
    650 เมตร
    8-10 นาที
    ตามข้อตกลง
    อื่นๆ (รถราง)
    -
    -
    -

    ประตูอ้อ
    จากประตูทางเข้าอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยเดินทางไป ประตูอ้อ ซึ่งอยู่ภายนอกอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย สามารถเที่ยวชมภายในด้วยการ เดินเท้า, ปั่นจักรยาน, รถจักรยานยนต์, รถสามล้อเครื่อง และรถยนต์เท่านั้น โดยวัดระยะทางจากประตูทางเข้าได้เป็นระยะทาง 2.6 กิโลเมตร
    วิธีการเดินทาง
    ระยะทาง
    ระยะเวลา
    หมายเหตุ
    เดินเท้า
    2.6 กิโลเมตร
    15-20 นาที
    ไม่แนะนำ
    รถจักรยาน
    2.6 กิโลเมตร
    12-18 นาที
    -
    รถมอเตอร์ไซค์
    2.6 กิโลเมตร
    10-15 นาที
    -
    รถยนต์
    2.6 กิโลเมตร
    8-10 นาที
    -
    รถคอกหมู
    -
    -
    -
    รถสามล้อเครื่อง
    2.6 กิโลเมตร
    10-15 นาที
    ตามข้อตกลง
    อื่นๆ (รถราง)
    -
    -
    -

    จุดสังเกต
    ประตูและกำแพงมืองมีทั้งหมด 4 ด้าน คือ
    1. ประตูศาลหลวง ตั้งอยู่ในซอยด้านขวามือ ถัดจากวัดซ่อนข้าว ทางทิศเหนือของอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย
    2. ประตูนะโม ตั้งอยู่ก่อนถึงวัดเชตุพล ทางทิศใต้ของอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย
    3. ประตูกำแพงหัก อยู่ใกล้เคียงศาสปู่ผาดำ ทางทิศตะวันออกของอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย
    4. ประตูอ้อ ตั้งอยู่ใกล้กับวัดก้อนแลง ทางทิศตะวันตกของอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย

    ที่ตั้ง
    ตั้งอยู่รอบโบราณสถานนอกเมืองโบราณสุโขทัย ทั้ง 4 ด้าน
    1. ประตูศาลหลวง ตั้งอยู่ทางทิศตเหนือ
    2. ประตูนะโม ตั้งอยู่ทางทิศใต้
    3. ประตูกำแพงหัก ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออก
    4. ประตูอ้อ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตก

    แผนที่

    ข้อแนะนำ
  • อากาศค่อนข้างร้อน ควรพกร่ม หรือ หมวก และน้ำดื่ม ระหว่างการเยี่ยมชม
  • แสงแดดจ้า ควรทาโลชั่นกันแดด เพื่อป้องกันผิวไหม้
  • กำแพงเมืองและประตูเมือง ถือเป็นโบราณสถานที่สำคัญแห่งหนึ่งของเมืองสุโขทัย นักท่องเที่ยวควรจะศึกษาข้อมูลมาเบื้องต้นเพื่อให้เข้าใจและสามารถซึมซับประวัติศาสตร์ได้อย่างถ่องแท้

  • ข้อควรระวัง
  • บางช่วงของกำแพงเมืองและป้อมประตูเมืองอยู่นอกเขตชุมชน เปลี่ยว และมีป่าไม้ รวมถึงพื้นที่เกษตรกรรมของชาวบ้านโดยรอบ ไม่แนะนำให้เดินทางมาเองคนเดียว ไม่ว่าเวลาใดก็ตาม
  • โปรดระวังสัตว์มีพิษ เช่น งู ตะขาบ หรือ ผึ้ง เป็นต้น
  • ไม่ควรเดินออกนอกเส้นทางที่จัดไว้ให้
  • ไม่ควรปีนป่ายและแสดงกิริยาไม่สมควรในเขตโบราณสถาน
  • ไม่แนะนำให้เดินทางมาเองคนเดียว ในเวลากลางคืน



  • สถานที่ท่องเที่ยวใกล้เคียง

    ค้นหาแหล่งท่องเที่ยวใกล้เคียงที่น่าสนใจได้อีกมากมาย

    ย้อนกลับ