วัดพระพายหลวง
ศูนย์กลางอำนาจเดิม และสมรภูมิแห่งความเป็นไท
(อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย, เมืองเก่าสุโขทัย)
ในจำนวนโบราณสถานนอกเขตกำแพงเมืองสุโขทัยทั้งหมดนั้น ไม่มีวัดแห่งใดมีอาณาบริเวณกว้างขวางเท่ากับวัดพระพายหลวง ซึ่งล้อมรอบด้วยคูน้ำขนาดใหญ่ที่เรียกว่า "คูแม่โจน" เลยสักแห่ง แค่เพียงเหตุผลนี้ย่อมแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของวัดแห่งนี้ในสมัยโบราณได้อย่างดี
ทว่าหากได้เข้ามาชมโบราณสถานในวัดแล้ว จะพบว่ามีโบราณสถาน สร้างขึ้นในแนวทิศตะวันออก – ทิศตะวันตกของวัด โดยมี "ปรางค์" สามองค์เรียงอยู่บนฐานเดียวกันในแนวทิศเหนือ-ใต้เป็นสถาปัตยกรรมประธาน สร้างด้วยศิลาแลง ปรางค์องค์กลางและองค์ด้านทิศใต้นั้น ส่วนยอดพังทลายลงมาแล้ว เหลือเพียงส่วนเรือนธาตุ แต่ปรางค์ด้านทิศเหนือคือสิ่งที่น่าสนใจ เพราะนอกจากจะมีเรือนยอดอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์แล้ว ลายปูนปั้นก็ยังเหลือร่องรอยอยู่ค่อนข้างมาก มีทั้งพระพุทธรูป รูปพระสาวก รูปเทวดา ลายกนก และลายพรรณพฤกษา ให้ชื่นชมความงามได้เต็มอิ่มภายในห้องครรภคฤหะของปรางค์เหล่านี้ยังมีแท่นฐานรูปเคารพตั้งอยู่ แต่รูปเคารพไม่ปรากฏอยู่แล้ว ลักษณะเหล่านี้ชี้ให้เราทราบว่าเป็นศิลปกรรมในอิทธิพลของขอม ด้านหน้าปรางค์ทั้งสามมีวิหารหลวง ถัดจากวิหารหลวง มีเจดีย์ทรงเหลี่ยมที่มีซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูปอยู่โดยรอบ หากสังเกตดีดีจะพบว่าพระพุทธรูปบางองค์ถูกโบกปูนทับ แสดงให้เห็นว่ามีการก่อสร้างเพิ่มเติมโดยปรับเปลี่ยนรูปแบบของเจดีย์ คงแก้ไขจากเจดีย์ทรงเหลี่ยมแบบลำพูนให้กลายเป็นเจดีย์ดอกบัวตูมแบบที่นิยมในสมัยอาณาจักรสุโขทัย
ถัดออกไปทางด้านหน้าวัด จะพบสถาปัตยกรรมที่สันนิษฐานว่าเป็นมณฑปพระสี่อิริยาบถ ด้วยยังมีแกนของอาคารที่มีพระพุทธรูปซึ่งแม้จะทรุดโทรมมากแล้วแต่ก็พอจับเค้าได้ว่าเป็นพระยืน 1 องค์ นั่ง 2 องค์ และเดินอีก 1 องค์เหลืออยู่ ด้านหน้าของพระเดิน หรือพระลีลา มีซากก่ออิฐที่สันนิษฐานว่าเป็นพระพุทธรูปนอนประดิษฐานอยู่ ทำให้วิหารพระสี่อิริยาบถแห่งนี้น่าสนใจ เพราะสร้างพระนอนแยกออกมาจากแนวแกนของอาคาร อาจเป็นเพราะมีข้อจำกัดเรื่องขนาดพื้นที่ที่มีความกว้างไม่เพียงพอกับการสร้างพระนอน ทำให้มีผู้สันนิษฐานว่ามณฑปพระสี่อิริยาบถแห่งนี้อาจถูกสร้างขึ้นเป็นแห่งแรกๆ ของสุโขทัย
รูปแบบสถาปัตยกรรมที่หลากหลายของสิ่งก่อสร้างหลักของวัดนี้ นักวิชาการเชื่อว่าเป็นผลมาจากความสำคัญของวัดที่เริ่มต้นมาตั้งแต่สมัยขอมเรืองอำนาจอยู่ในสุโขทัย และแม้กาลเวลาและการเมืองจะเปลี่ยนไป แต่ความสำคัญของวัดไม่เคยเปลี่ยน จึงมีการสร้างสิ่งก่อสร้างใหม่เพิ่มเติม ขยายพื้นที่ออกมาทางด้านหน้าวัด ตามแนวทิศตะวันออก-ตะวันตก
ดังนั้นในปี พุทธศักราช 2525 เมื่อรัฐบาลไทยมีโครงการจะสร้างอนุสรณ์สถานแห่งชาติ ขึ้นในกรุงเทพมหานคร และดำริจะค้นหาดินจาก 7 สมรภูมิรบที่สำคัญในประวัติศาสตร์ไทยไปบรรจุไว้ยังสถานที่นั้น ประจวบกับมีการขุดสำรวจจนถึงรากฐานของปรางค์องค์ทิศเหนือของวัดพระพายหลวง ซึ่งเชื่อว่าอยู่ในยุคเดียวกับช่วงขอมสบาดโขลญลำพงมีอำนาจ และศูนย์กลางของเมืองสุโขทัยในเวลานั้นคือวัดแห่งนี้ ดินในชั้นนั้นจึงร่วมสมัยกับสงครามปลดแอกสุโขทัย นำโดยพ่อขุนบางกลางท่าว และพ่อขุนผาเมือง จึงนำดินบริเวณนั้นไปยังอนุสรณ์สถานแห่งชาติ ดังกล่าว
ทว่าหากได้เข้ามาชมโบราณสถานในวัดแล้ว จะพบว่ามีโบราณสถาน สร้างขึ้นในแนวทิศตะวันออก – ทิศตะวันตกของวัด โดยมี "ปรางค์" สามองค์เรียงอยู่บนฐานเดียวกันในแนวทิศเหนือ-ใต้เป็นสถาปัตยกรรมประธาน สร้างด้วยศิลาแลง ปรางค์องค์กลางและองค์ด้านทิศใต้นั้น ส่วนยอดพังทลายลงมาแล้ว เหลือเพียงส่วนเรือนธาตุ แต่ปรางค์ด้านทิศเหนือคือสิ่งที่น่าสนใจ เพราะนอกจากจะมีเรือนยอดอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์แล้ว ลายปูนปั้นก็ยังเหลือร่องรอยอยู่ค่อนข้างมาก มีทั้งพระพุทธรูป รูปพระสาวก รูปเทวดา ลายกนก และลายพรรณพฤกษา ให้ชื่นชมความงามได้เต็มอิ่มภายในห้องครรภคฤหะของปรางค์เหล่านี้ยังมีแท่นฐานรูปเคารพตั้งอยู่ แต่รูปเคารพไม่ปรากฏอยู่แล้ว ลักษณะเหล่านี้ชี้ให้เราทราบว่าเป็นศิลปกรรมในอิทธิพลของขอม ด้านหน้าปรางค์ทั้งสามมีวิหารหลวง ถัดจากวิหารหลวง มีเจดีย์ทรงเหลี่ยมที่มีซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูปอยู่โดยรอบ หากสังเกตดีดีจะพบว่าพระพุทธรูปบางองค์ถูกโบกปูนทับ แสดงให้เห็นว่ามีการก่อสร้างเพิ่มเติมโดยปรับเปลี่ยนรูปแบบของเจดีย์ คงแก้ไขจากเจดีย์ทรงเหลี่ยมแบบลำพูนให้กลายเป็นเจดีย์ดอกบัวตูมแบบที่นิยมในสมัยอาณาจักรสุโขทัย
ถัดออกไปทางด้านหน้าวัด จะพบสถาปัตยกรรมที่สันนิษฐานว่าเป็นมณฑปพระสี่อิริยาบถ ด้วยยังมีแกนของอาคารที่มีพระพุทธรูปซึ่งแม้จะทรุดโทรมมากแล้วแต่ก็พอจับเค้าได้ว่าเป็นพระยืน 1 องค์ นั่ง 2 องค์ และเดินอีก 1 องค์เหลืออยู่ ด้านหน้าของพระเดิน หรือพระลีลา มีซากก่ออิฐที่สันนิษฐานว่าเป็นพระพุทธรูปนอนประดิษฐานอยู่ ทำให้วิหารพระสี่อิริยาบถแห่งนี้น่าสนใจ เพราะสร้างพระนอนแยกออกมาจากแนวแกนของอาคาร อาจเป็นเพราะมีข้อจำกัดเรื่องขนาดพื้นที่ที่มีความกว้างไม่เพียงพอกับการสร้างพระนอน ทำให้มีผู้สันนิษฐานว่ามณฑปพระสี่อิริยาบถแห่งนี้อาจถูกสร้างขึ้นเป็นแห่งแรกๆ ของสุโขทัย
รูปแบบสถาปัตยกรรมที่หลากหลายของสิ่งก่อสร้างหลักของวัดนี้ นักวิชาการเชื่อว่าเป็นผลมาจากความสำคัญของวัดที่เริ่มต้นมาตั้งแต่สมัยขอมเรืองอำนาจอยู่ในสุโขทัย และแม้กาลเวลาและการเมืองจะเปลี่ยนไป แต่ความสำคัญของวัดไม่เคยเปลี่ยน จึงมีการสร้างสิ่งก่อสร้างใหม่เพิ่มเติม ขยายพื้นที่ออกมาทางด้านหน้าวัด ตามแนวทิศตะวันออก-ตะวันตก
ดังนั้นในปี พุทธศักราช 2525 เมื่อรัฐบาลไทยมีโครงการจะสร้างอนุสรณ์สถานแห่งชาติ ขึ้นในกรุงเทพมหานคร และดำริจะค้นหาดินจาก 7 สมรภูมิรบที่สำคัญในประวัติศาสตร์ไทยไปบรรจุไว้ยังสถานที่นั้น ประจวบกับมีการขุดสำรวจจนถึงรากฐานของปรางค์องค์ทิศเหนือของวัดพระพายหลวง ซึ่งเชื่อว่าอยู่ในยุคเดียวกับช่วงขอมสบาดโขลญลำพงมีอำนาจ และศูนย์กลางของเมืองสุโขทัยในเวลานั้นคือวัดแห่งนี้ ดินในชั้นนั้นจึงร่วมสมัยกับสงครามปลดแอกสุโขทัย นำโดยพ่อขุนบางกลางท่าว และพ่อขุนผาเมือง จึงนำดินบริเวณนั้นไปยังอนุสรณ์สถานแห่งชาติ ดังกล่าว
ข้อมูลติดต่อ
ชื่อผู้ติดต่อ : อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย
ที่อยู่ : อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ต.เมืองเก่า อ.เมืองสุโขทัย จ.สุโขทัย 64210
เบอร์โทรศัพท์ :
พิกัด : 17.029257, 99.699699
Facebook :
ชื่อผู้ติดต่อ :
อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย
ที่อยู่ :
อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ต.เมืองเก่า อ.เมืองสุโขทัย จ.สุโขทัย 64210
เบอร์โทรศัพท์ :
พิกัด :
17.029257, 99.699699
Facebook :
ข้อมูลทั่วไป
วันทำการ : ทุกวัน
เวลาทำการ : แนะนำให้เยี่ยมชมก่อนเวลา 18.00 น. (ห่างจากบ้านชุมชน ไม่ค่อยมีการสัญจรไปมาหลังเวลานี้)
สถานที่ตั้ง : อยู่นอกอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ทางทิศเหนือ ประมาณ 2.9 กิโลเมตร
การเดินทาง : รถจักรยาน รถจักรยานยนต์ รถยนต์ส่วนตัว รถไฟฟ้าเช่าขับเอง
วันทำการ :
ทุกวัน
เวลาทำการ :
แนะนำให้เยี่ยมชมก่อนเวลา 18.00 น. (ห่างจากบ้านชุมชน ไม่ค่อยมีการสัญจรไปมาหลังเวลานี้)
สถานที่ตั้ง :
อยู่นอกอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ทางทิศเหนือ ประมาณ 2.9 กิโลเมตร
การเดินทาง :
รถจักรยาน รถจักรยานยนต์ รถยนต์ส่วนตัว รถไฟฟ้าเช่าขับเอง
ชมทัศนียภาพ
พักผ่อน
เรียนรู้ประวัติศาสตร์
หาประสบการณ์
เติมเต็มจิตวิญญาณ
โบราณสถาน
เดินเท้า
ปั่นจักรยาน
สามล้อเครื่อง
รถราง
Information Center
ที่จอดรถ
จุดถ่ายภาพ
ตำนานพระร่วง
ป้ายแผนที่
กษัตริย์เสด็จ
กิจกรรมแบบเดี่ยว
กิจกรรมแบบกลุ่ม
เพื่อความรู้์
กิจกรรมกลางแจ้ง