วัดช้างรอบ
จักรวาลบนหลังช้าง
(อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร, จ.กำแพงเพชร)
สำหรับเมืองโบราณกำแพงเพชร วัดช้างรอบคือวัดสำคัญที่สุด งดงามและยิ่งใหญ่ที่สุด ตั้งอยู่บนชัยภูมิที่ดีที่สุด ไม่ต่างจากมงกุฎล้ำค่าที่ประดับประดาด้วยเพชร คืองานศิลปกรรมล้ำค่าควรแก่การเที่ยวชม
แม้ผู้คนจะชอบถกเถียงถึงนัยสำคัญของชื่อ "ช้างรอบ" กับ "ช้างล้อม" แต่แท้ที่จริงแล้ว คำสองคำนี้หมายถึงเจดีย์ที่มีประติมากรรมรูปช้างอยู่รอบฐาน ขึ้นอยู่กับความนิยมเรียกกันของผู้คนในท้องถิ่น ไม่ได้มีนัยลึกซึ้งแตกต่างกันเลย
วัดนี้ตั้งอยู่บนเนินสูงที่สุดนอกเมืองโบราณกำแพงเพชรด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ซึ่งเชื่อกันมาแต่เดิมว่าเป็นเขตอรัญญิก คือเขตวัดป่านอกเมือง แต่เพราะโบราณสถานในเขตนี้มีมากมาย ล้วนใหญ่โตมั่นคง ผิดแผกจากความนิยมของพระสงฆ์ฝ่ายอรัญวาสี ที่เน้นการบำเพ็ญจิตภาวนาในเขตสงบวิเวก นักวิชาการบางท่านจึงสันนิษฐานว่าบริเวณนี้คือส่วนขยายของเมืองกำแพงเพชร ซึ่งมีพื้นที่ภายในเมืองจำกัดนั่นเอง
สถาปัตยกรรมประธานของวัดคือเจดีย์ขนาดใหญ่ ที่ส่วนยอดหักหายไป ทว่ายังสามารถทราบได้จากส่วนที่เหลือว่าเป็นทรงระฆัง ตั้งอยู่บนลานประทักษิณ หรือลานสำหรับเดินเวียนขวาเพื่อทำความเคารพเจดีย์ มีฐานรูปสี่เหลี่ยมรองรับอีกชั้นหนึ่ง มีบันไดทางขึ้นสู่ลานประทักษิณทั้ง 4 ด้าน ฐานชั้นนี้ตกแต่งด้วยประติมากรรมรูปช้างทรงเครื่องคชาภรณ์จำนวน 68 เชือก คั่นด้วยประติมากรรมปูนปั้นรูปต้นไม้ หากสังเกตดีดีจะเห็นรายละเอียดของลวดลายตกแต่ง เช่น รูปสัตว์ อาทิ กระรอก งู รังต่อ เป็นต้น ที่ฐานของเจดีย์ทรงระฆัง พบร่องรอยการประดับตกแต่งด้วยประติมากรรมดินเผารูปหงส์ บุคคล และภาพเล่าเรื่อง อาจเป็นรามเกียรติ์ หรือพุทธประวัติ ประติมากรรมเหล่านี้นำไปจัดแสดง ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร
ด้านหน้ามีวิหารหลวง ถัดออกไปมีอุโบสถขนาดเล็ก สถาปัตยกรรมเหล่านี้สร้างสรรค์ขึ้นจากศิลาแลง ซึ่งคงขุดขึ้นมาจากบริเวณนั้น ดังได้พบบ่อขนาดใหญ่ด้านหน้าวิหารหลวง
แม้ผู้คนจะชอบถกเถียงถึงนัยสำคัญของชื่อ "ช้างรอบ" กับ "ช้างล้อม" แต่แท้ที่จริงแล้ว คำสองคำนี้หมายถึงเจดีย์ที่มีประติมากรรมรูปช้างอยู่รอบฐาน ขึ้นอยู่กับความนิยมเรียกกันของผู้คนในท้องถิ่น ไม่ได้มีนัยลึกซึ้งแตกต่างกันเลย
วัดนี้ตั้งอยู่บนเนินสูงที่สุดนอกเมืองโบราณกำแพงเพชรด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ซึ่งเชื่อกันมาแต่เดิมว่าเป็นเขตอรัญญิก คือเขตวัดป่านอกเมือง แต่เพราะโบราณสถานในเขตนี้มีมากมาย ล้วนใหญ่โตมั่นคง ผิดแผกจากความนิยมของพระสงฆ์ฝ่ายอรัญวาสี ที่เน้นการบำเพ็ญจิตภาวนาในเขตสงบวิเวก นักวิชาการบางท่านจึงสันนิษฐานว่าบริเวณนี้คือส่วนขยายของเมืองกำแพงเพชร ซึ่งมีพื้นที่ภายในเมืองจำกัดนั่นเอง
สถาปัตยกรรมประธานของวัดคือเจดีย์ขนาดใหญ่ ที่ส่วนยอดหักหายไป ทว่ายังสามารถทราบได้จากส่วนที่เหลือว่าเป็นทรงระฆัง ตั้งอยู่บนลานประทักษิณ หรือลานสำหรับเดินเวียนขวาเพื่อทำความเคารพเจดีย์ มีฐานรูปสี่เหลี่ยมรองรับอีกชั้นหนึ่ง มีบันไดทางขึ้นสู่ลานประทักษิณทั้ง 4 ด้าน ฐานชั้นนี้ตกแต่งด้วยประติมากรรมรูปช้างทรงเครื่องคชาภรณ์จำนวน 68 เชือก คั่นด้วยประติมากรรมปูนปั้นรูปต้นไม้ หากสังเกตดีดีจะเห็นรายละเอียดของลวดลายตกแต่ง เช่น รูปสัตว์ อาทิ กระรอก งู รังต่อ เป็นต้น ที่ฐานของเจดีย์ทรงระฆัง พบร่องรอยการประดับตกแต่งด้วยประติมากรรมดินเผารูปหงส์ บุคคล และภาพเล่าเรื่อง อาจเป็นรามเกียรติ์ หรือพุทธประวัติ ประติมากรรมเหล่านี้นำไปจัดแสดง ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร
ด้านหน้ามีวิหารหลวง ถัดออกไปมีอุโบสถขนาดเล็ก สถาปัตยกรรมเหล่านี้สร้างสรรค์ขึ้นจากศิลาแลง ซึ่งคงขุดขึ้นมาจากบริเวณนั้น ดังได้พบบ่อขนาดใหญ่ด้านหน้าวิหารหลวง
ข้อมูลติดต่อ
ชื่อผู้ติดต่อ : อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร
ที่อยู่ : อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ต.หนองปลิง อ.เมืองกำแพงเพชร จ.กำแพงเพชร 62000
เบอร์โทรศัพท์ :
พิกัด : 16.5029250, 99.5096834
ชื่อผู้ติดต่อ :
อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร
ที่อยู่ :
อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ต.หนองปลิง อ.เมืองกำแพงเพชร จ.กำแพงเพชร 62000
เบอร์โทรศัพท์ :
พิกัด :
16.5029250, 99.5096834
ข้อมูลทั่วไป
วันทำการ : ทุกวัน
เวลาทำการ : 08.00-18.00 น.
ค่าเข้าชม : คนไทย 20 บาท/คน
ต่างชาติ 100 บาท/คน
ค่าเช่าพาหนะ : รถจักรยาน 30 บาท/วัน/คัน (สามารถเช่าได้ ที่ด้านหน้าอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย)
รถจักรยานเสือภูเขา 50 บาท/วัน/คัน
รถราง 1-5 คน เหมา 100 บาท/คัน
รถราง 6 คนขึ้นไป คิดตามจำนวนคน/คนละ 20 บาท
สามารถเช่าได้ที่บริเวณป้อมจำหน่ายบัตร 4 และ 5 ภายในอุทยานประวัติศาสตร์
รถราง 1 คัน นั่งได้ไม่เกิน 15 คนรวมคนขับ
จุดขึ้นรถรางอยู่หน้าศูนย์บริการข้อมูล
วันทำการ :
ทุกวัน
เวลาทำการ :
08.00-18.00 น.
ค่าเข้าชม :
ค่าเช่าพาหนะ :
สามารถเช่าได้ที่บริเวณป้อมจำหน่ายบัตร 4 และ 5 ภายในอุทยานประวัติศาสตร์
รถราง 1 คัน นั่งได้ไม่เกิน 15 คนรวมคนขับ
จุดขึ้นรถรางอยู่หน้าศูนย์บริการข้อมูล
รถราง 1 คัน นั่งได้ไม่เกิน 15 คนรวมคนขับ
จุดขึ้นรถรางอยู่หน้าศูนย์บริการข้อมูล
สัญลักษณ์
แรงจูงใจ :
ประเภทของสถานที่
การเดินทาง
สิ่งอำนวยความสะดวก
Touch Point
กิจกรรม
แรงจูงใจ :
ประเภทของสถานที่
การเดินทาง
สิ่งอำนวยความสะดวก
Touch Point
กิจกรรม
แนะนำการเดินทาง
จากอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยเดินทางไป อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร สามารถเดินทางไปเที่ยวชมด้วยการ รถจักรยานยนต์ , รถยนต์ และรถสองแถวเท่านั้น โดยวัดระยะทางจากอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยได้เป็นระยะทาง 77.9 กิโลเมตร
วิธีการเดินทาง
ระยะทาง
ระยะเวลา
หมายเหตุ
รถมอเตอร์ไซค์
77.9 กม.
3.30-4.00 ชม.
ไม่แนะนำ
รถยนต์
77.9 กม.
1-1.3 ชม.
-
รถสองแถว (สุโขทัย-กำแพงเพชร)
77.9 กม.
1.40-2.00 ชม.
ขึ้นรถที่ บขส.สุโขทัยเท่านั่น
วิธีการเดินทาง
จากอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชรเดินทางไป วัดช้างรอบ ซึ่งอยู่ภายในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร เขต 1 โดยวัดระยะทางจากประตูทางเข้าอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ได้เป็นระยะทาง 1.5 กิโลเมตร
วิธีการเดินทาง
ระยะทาง
ระยะเวลา
หมายเหตุ
เดินเท้า
1.5 กม.
18-25 นาที
-
รถจักรยาน
1.5 กิโลเมตร
15-17 นาที
-
รถมอเตอร์ไซค์
1.5 กิโลเมตร
9-12 นาที
-
รถยนต์
1.5 กิโลเมตร
5-7 นาที
ขับในเส้นทางอุทยานฯ
รถราง
1.5 กิโลเมตร
-
สามารถซื้อตั๋วและขึ้นรถรางได้ที่จุดจอดรถราง