Top

กำแพงเมืองและประตูเมือง

(อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย, อ.ศรีสัชนาลัย, จ.สุโขทัย)
ประตูเตาหม้อ
ประตูเตาหม้ออยู่ระหว่างกำแพงเมืองชั้นในด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือใกล้กับมุมที่ต่อจากกำแพงเมืองด้านตะวันออก เป็นประตูขนาดใหญ่ก่อด้วยศิลาแลง ภายในประตูทั้งสองฟากมีการเว้นช่องซึ่งอาจเป็นช่องสำหรับทหาร หรือเป็นช่องที่ลงเขื่อนไม้เมื่อเวลามีศึกสงคราม สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงอธิบายความเพิ่มเติมไว้ในหนังสือเที่ยวเมืองพระร่วงว่า "ที่เรียกว่าประตูหม้อสันนิษฐานว่าประตูหม้อเป็นทางเดินไปตำบลที่ตั้งเตาหม้อคือเครื่องทำสังคโลก ถ้าเช่นนั้นก็จะอยู่ตอนริมน้ำทางด้านเหนือ"

ประตูดอนแหลม
ประตูดอนแหลมเป็นประตูเมืองทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ รูปทรงของประตูไม่เหลือสภาพให้เห็นเนื่องจากถูกไถปรับเป็นถนนเข้าสู่ตัว เมืองศรีสัชนาลัย ถัดออกมามีป้อมห้าเหลี่ยมสร้างบนกำแพงเมือง พงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับสมเด็จพระวันรัตน์กล่าวถึงตอนที่สมเด็จพระนเรศวร ยกทัพมาตีเมืองสวรรคโลก (ศรีสัชนาลัย) ตอนหนึ่งว่า "โหราจารย์ยังทูลว่าจะได้ แต่ซึ่งปล้นข้าง ประตูสามเกิดนี้เห็นจะได้ด้วยยาก ถ้าปล้นข้างประตูดอนแหลมไซร้เห็นจะได้โดยง่าย" ส่วนอายุสมัยของประตูนี้ กำหนดไว้ในช่วงก่อนปี พ.ศ.2017

ประตูชัยพฤกษ์
กำแพงชัยพฤกษ์ตั้งอยู่บริเวณมุมช่วงต่อของกำแพงเมืองชั้นในด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ประตูก่อด้วยศิลาแลง มีขนาดเล็ก ลักษณะเป็นการเจาะกำแพงออกไปตรงๆ ไม่พบร่องรอยการย่อมุม

ประตูชนะสงคราม
ตั้งอยู่ระหว่างแนวกำแพงเมืองชั้นในด้านตะวันตกเฉียงใต้ ด้านทิศเหนือของเขาสุวรรณคีรี ซึ่งอยู่คนละฟากเขากับประตูสะพานจันทร์ ประตูเมืองก่อด้วยศิลาแลงมีทางเดินเป็นคัน ดินไปหาตัวป้อมซึ่งเป็นป้อมห้าเหลี่ยม

ประตูรามณรงค์
ประตูด่านแรกสู่ดินแดนแห่งประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย ที่ไม่ว่าใครก็ต้องเจอเป็นอันดับแรกก่อนเข้าอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย
เป็นประตูขนาดใหญ่ก่อด้วยศิลาแลง ฐานประตูรูปบัวคว่ำ กรอบนอกทั้ง 4 มุม เป็นลักษณะย่อมุมไม้สิบสอง ด้านหน้ามีทางเดินปูด้วยลูกรังไปถึงป้อมประตู ซึ่งเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ผนังด้านนอกสุดเป็นการสกัดลงบนชั้นดินดาน รอบตัวป้อมล้อมรอบด้วยคูเมืองและสระน้ำ
จึงสันนิษฐานว่าเป็นทางเข้า-ออกหลักของเมือง และเป็นจุดแรกที่นักท่องเที่ยวต้องเจอก่อนเข้าสู่เมืองประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย

ประตูสะพานจันทร์
ประตูสะพานจันทร์อยู่บริเวณเชิงเขาสุวรรณคีรีฟากทิศใต้ ลักษณะเป็นฐานก่อเรียงตั้งสูงขึ้นแบบเรียบๆ ตัวป้อมใช้แนวหินธรรมชาติก่อเรียงเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า
ประวัติของประตูและป้อมแห่งนี้ปรากฏในพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับพระนพรัตน์ฯ ตอนที่กล่าวถึงสมเด็จพระนเรศวรมหาราชยกทัพเข้าตีเมืองสวรรคโลก และปรากฏในหนังสือเที่ยวเมืองพระร่วง พระราชนิพินธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวเช่นกัน ส่วนอายุของป้อมและประตูนี้ กำหนดไว้ในช่วงก่อนปี พ.ศ. 2017



ข้อมูลติดต่อ
ชื่อผู้ติดต่อ :
อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย
ที่อยู่ :
หมู่ 6 ตำบลศรีสัชนาลัย อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย
เบอร์โทรศัพท์ :
พิกัด :
ประตูเตาหม้อ 17.43806, 99.78663
ประตูดอนแหลม 17.43171, 99.7912
ประตูชัยพฤกษ์ 17.43503, 99.78003
ประตูชนะสงคราม 17.43394, 99.78035
ประตูรามณรงค์ 17.42744, 99.78809
ประตูสะพานจันทร์ 17.43139, 99.78197
Facebook :

ข้อมูลทั่วไป
วันทำการ :
ทุกวัน
เวลาทำการ :
08.00-18.00 น.
ค่าเข้าชม :
li>คนไทย 20 บาท/คน
  • ต่างชาติ 100 บาท/คน
  • ประตูดอนแหลมและประตูเตาหม้อ ไม่เสียค่าใช้จ่ายในการเข้าชม
  • ค่าเช่าพาหนะ :
  • รถจักรยาน 20 บาท/วัน/คัน
  • สามารถเช่ารถจักรยานได้ที่บริเวณด้านหน้าอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย (เช่าได้ถึง 18.00 น.)

    สัญลักษณ์
    แรงจูงใจ :



    ประเภทของสถานที่



    การเดินทาง



    Touch Point



    กิจกรรม





    แนะนำการเดินทาง
    จากอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยลัยเดินทางไป อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย สามารถเดินทางไปเที่ยวชมด้วยการ รถจักรยานยนต์ , รถยนต์ และรถประจำทางวินทัวร์เท่านั้น โดยวัดระยะทางจากอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยได้เป็นระยะทาง 70.5 กิโลเมตร
    วิธีการเดินทาง
    ระยะทาง
    ระยะเวลา
    หมายเหตุ
    รถมอเตอร์ไซค์
    70.5 กม.
    3-3.30 ชม.
    ไม่แนะนำ
    รถยนต์
    70.5 กม.
    1.25-1.50 ชม.
    -
    รถสองแถว (สุโขทัย-กำแพงเพชร)
    70.5 กม.
    2-2.30 ชม.
    จุดขึ้นรถ

    ประตูเตาหม้อ
    โดยวัดระยะทางจากอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัยได้เป็นระยะทาง 1.8 กิโลเมตร
    วิธีการเดินทาง
    ระยะทาง
    ระยะเวลา
    หมายเหตุ
    เดินเท้า
    1.8 กม.
    22-30 นาที
    -
    รถจักรยาน
    1.8 กม.
    9-11 นาที
    -
    รถมอเตอร์ไซค์
    1.8 กม.
    6-7 นาที
    -
    รถยนต์
    1.8 กม.
    4-6 นาที
    ถนนเส้นเล็กและแคบ
    อื่นๆ (รถราง)
    -
    -
    -

    ประตูดอนแหลม
    โดยวัดระยะทางจากอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัยได้เป็นระยะทาง 900 เมตร
    วิธีการเดินทาง
    ระยะทาง
    ระยะเวลา
    หมายเหตุ
    เดินเท้า
    900 เมตร
    11-13 นาที
    -
    รถจักรยาน
    900 เมตร
    7-9 นาที
    -
    รถมอเตอร์ไซค์
    900 เมตร
    4-6 นาที
    -
    รถยนต์
    900 เมตร
    2-5 นาที
    ถนนเส้นเล็กและแคบ
    อื่นๆ (รถราง)
    -
    -
    -

    ประตูชัยพฤกษ์
    โดยวัดระยะทางจากอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัยได้เป็นระยะทาง 1.64 กิโลเมตร (เขตรถจักรยานเท่านั่น)
    วิธีการเดินทาง
    ระยะทาง
    ระยะเวลา
    หมายเหตุ
    เดินเท้า
    1.64 กม.
    20-35 นาที
    -
    รถจักรยาน
    1.64 กม.
    20-35 นาที
    -
    รถมอเตอร์ไซค์
    -
    -
    -
    รถยนต์
    -
    -
    -
    อื่นๆ (รถราง)
    -
    -
    -

    ประตูรามณรงค์
    โดยวัดระยะทางจากอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัยได้เป็นระยะทาง 180 เมตร (เขตรถจักรยานเท่านั่น)
    วิธีการเดินทาง
    ระยะทาง
    ระยะเวลา
    หมายเหตุ
    เดินเท้า
    180 เมตร
    3-5 นาที
    -
    รถจักรยาน
    180 เมตร
    1-3 นาที
    -
    รถมอเตอร์ไซค์
    -
    -
    -
    รถยนต์
    -
    -
    -
    อื่นๆ (รถราง)
    -
    -
    -

    ประตูชนะสงคราม
    โดยวัดระยะทางจากอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัยได้เป็นระยะทาง 1.50 กิโลเมตร (เขตรถจักรยานเท่านั่น)
    วิธีการเดินทาง
    ระยะทาง
    ระยะเวลา
    หมายเหตุ
    เดินเท้า
    1.50 กม.
    19-34 นาที
    -
    รถจักรยาน
    1.50 กม.
    7-11 นาที
    -
    รถมอเตอร์ไซค์
    -
    -
    -
    รถยนต์
    -
    -
    -
    อื่นๆ (รถราง)
    -
    -
    -

    ประตูสะพานจันทร์
    โดยวัดระยะทางจากอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัยได้เป็นระยะทาง 1.16 กิโลเมตร (เขตรถจักรยานเท่านั่น)
    วิธีการเดินทาง
    ระยะทาง
    ระยะเวลา
    หมายเหตุ
    เดินเท้า
    1.16 กม.
    13-16 นาที
    -
    รถจักรยาน
    1.16 กม.
    6-10 นาที
    -
    รถมอเตอร์ไซค์
    -
    -
    -
    รถยนต์
    -
    -
    -
    อื่นๆ (รถราง)
    -
    -
    -

    จุดสังเกต
    ประตูและกำแพงมืองมีทั้งหมด 6 ประตู คือ
    1. ประตูเตาหม้อ ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย ใกล้กับวัดกุฎีรายติดแม่น้ำยม ที่ปากประตูจะมีศาลเจ้าแม่ละอองสำลี จำลอง อยู่หน้าปากประตู
    2. ประตูดอนแหลม ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้
    3. ประตูชัยพฤกษ์ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย
    4. ประตูชนะสงคราม ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย ใกล้กับประตูชัยพฤกษ์
    5. ประตูรามณรงค์ ตั้งอยู่ประตูทางเข้าอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย
    6. ประตูสะพานจันทร์ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย ใกล้กับวัดขาสุวรรณคีรี

    ที่ตั้ง
    ประตูและกำแพงมืองมีทั้งหมด 6 ประตู คือ
    1. ประตูเตาหม้อ ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย
    2. ประตูดอนแหลม ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใตของอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย ้
    3. ประตูชัยพฤกษ์ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย
    4. ประตูชนะสงคราม ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย
    5. ประตูรามณรงค์ ตั้งอยู่ประตูทางเข้าอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย
    6. ประตูสะพานจันทร์ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย

    แผนที่

    ข้อแนะนำ
  • อากาศค่อนข้างร้อน ควรพกร่ม หรือ หมวก และน้ำดื่ม ระหว่างการเยี่ยมชม
  • แสงแดดจ้า ควรทาโลชั่นกันแดด เพื่อป้องกันผิวไหม้
  • ควรเที่ยวชมก่อนเวลา 15.00 น. เพราะเส้นทางค่อนข้างเปลี่ยว
  • ประตูเมืองและกำแพงเมือง ถือเป็นโบราณสถานที่สำคัญแห่งหนึ่ง นักท่องเที่ยวควรจะศึกษาข้อมูลมาเบื้องต้นเพื่อให้เข้าใจและสามารถซึมซับประวัติศาสตร์ได้อย่างถ่องแท้
  • ควรแต่งกายให้เหมาะสม

  • ข้อควรระวัง
  • หากเดินทางโดยลำพัง ให้ระมัดระวังความปลอดภัย
  • อย่าปีนป่าย โบราณสถาน
  • โปรดปฏิบัติตามคำเตือน



  • สถานที่ท่องเที่ยวใกล้เคียง

    ค้นหาแหล่งท่องเที่ยวใกล้เคียงที่น่าสนใจได้อีกมากมาย

    ย้อนกลับ