เมื่อพูดถึงจังหวัดสุโขทัย คนจำนวนมากเข้าใจว่านี่คือดินแดนประวัติศาสตร์ เคยมีเมืองโบราณที่เจริญรุ่งเรืองมากเมื่อราว ๗๐๐ ปีที่แล้ว คือเมืองสุโขทัย แต่น้อยคนจะทราบว่าในพื้นที่จังหวัดนี้ มีเมืองโบราณขนาดใหญ่ถึงสามแห่งตั้งอยู่ คือเมืองโบราณสุโขทัย เมืองโบราณศรีสัชนาลัย และเมืองบางขลัง
จากการสำรวจทางโบราณคดีพบว่าบริเวณคุ้งน้ำยม ที่แม่น้ำไหลวกเป็นเส้นโค้งย้อนกลับ ใกล้กับเขาพระศรี ใกล้กับทิวเขาทางตอนเหนือของจังหวัดสุโขทัย มีโครงกระดูกมนุษย์และโบราณวัตถุอายุราว ๒,๐๐๐ ปีอยู่จำนวนหนึ่ง และพบโบราณวัตถุที่มีอายุไล่เลียงขึ้นมาเรื่องๆทั้งวัฒนธรรมทวารวดี ลพบุรี สุโขทัย อยุธยา และรัตนโกสินทร์ ทำให้เชื่อได้ว่าดินแดนแถบนี้มีผู้คนอายุอยู่สืบมา โดยรับเอาวัฒนธรรมรอบข้างผสมผสานจนกลายเป็นเอกลักษณ์ของพื้นถิ่น บ้านเมืองที่เชื่อว่าพัฒนาจากเมืองเชลียงในยุคต้น ก่อนจะประสบปัญหาบางประการ เช่น การพังทลายของตลิ่ง และปัญหาการขยับขยายขนาดของเมือง ทำให้ต้องย้ายถิ่นฐานจากบริเวณคุ้งน้ำ มาสู่เชิงเขาพระศรี สร้างเมืองศรีสัชนาลัยขึ้น และรุ่งเรืองสืบมา ก่อนจะเปลี่ยนนามเป็น เชียงชื่น เมื่อเมืองแห่งนี้ตกอยู่ใต้อิทธิพลล้านนา และถูกเปลี่ยนนามเป็นสวรรคโลก เมื่อกรุงศรีอยุธยายึดเมืองคืนมาได้ และกลายเป็นอำเภอศรีสัชนาลัยอีกครั้งในสมัยหลังนี้เอง
จากการสำรวจทางโบราณคดีพบว่าบริเวณคุ้งน้ำยม ที่แม่น้ำไหลวกเป็นเส้นโค้งย้อนกลับ ใกล้กับเขาพระศรี ใกล้กับทิวเขาทางตอนเหนือของจังหวัดสุโขทัย มีโครงกระดูกมนุษย์และโบราณวัตถุอายุราว ๒,๐๐๐ ปีอยู่จำนวนหนึ่ง และพบโบราณวัตถุที่มีอายุไล่เลียงขึ้นมาเรื่องๆทั้งวัฒนธรรมทวารวดี ลพบุรี สุโขทัย อยุธยา และรัตนโกสินทร์ ทำให้เชื่อได้ว่าดินแดนแถบนี้มีผู้คนอายุอยู่สืบมา โดยรับเอาวัฒนธรรมรอบข้างผสมผสานจนกลายเป็นเอกลักษณ์ของพื้นถิ่น บ้านเมืองที่เชื่อว่าพัฒนาจากเมืองเชลียงในยุคต้น ก่อนจะประสบปัญหาบางประการ เช่น การพังทลายของตลิ่ง และปัญหาการขยับขยายขนาดของเมือง ทำให้ต้องย้ายถิ่นฐานจากบริเวณคุ้งน้ำ มาสู่เชิงเขาพระศรี สร้างเมืองศรีสัชนาลัยขึ้น และรุ่งเรืองสืบมา ก่อนจะเปลี่ยนนามเป็น เชียงชื่น เมื่อเมืองแห่งนี้ตกอยู่ใต้อิทธิพลล้านนา และถูกเปลี่ยนนามเป็นสวรรคโลก เมื่อกรุงศรีอยุธยายึดเมืองคืนมาได้ และกลายเป็นอำเภอศรีสัชนาลัยอีกครั้งในสมัยหลังนี้เอง
เมืองโบราณศรีสัชนาลัยที่ได้รับการประกาศจัดตั้งเป็นอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย เมื่อ พ.ศ.๒๕๓๓ และได้รับการประกาศให้เป็นหนึ่งในแหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรมโดยองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติหรือ ยูเนสโก เมื่อ พ.ศ.๒๕๓๔ มีโบราณสถานประมาณ ๒๑๕ แห่ง ทั้งในและนอกกำแพงเมือง ซึ่งเฉพาะโบราณสถานในเขตกำแพงเมืองนั้น อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย กรมศิลปากร ไม่อนุญาตให้นำยานพาหนะที่มีเครื่องยนต์ทุกชนิดเข้าไปภายใน ยกเว้นรถราง และยานพาหนะที่จำเป็นของอุทยานเท่านั้น และโบราณสถานเหล่านี้ช่วยเล่าเรื่องราวของศรีสัชนาลัยได้ทุกด้านทั้งประวัติศาสตร์ สังคม ขนบธรรมเนียมประเพณี ความเชื่อ ภูมิปัญญา เศรษฐกิจฯ จึงไม่ควรพลาดชม
คำแนะนำ
โบราณสถานบางแห่งตั้งอยู่นอกเขตชุมชน ไม่ควรเยี่ยมชมตามลำพังไม่ว่าเวลาใดก็ตาม
ในเขตกำแพงเมือง สามารถเลือกเยี่ยมชมได้หลายวิธี เช่น บริการรถรางของอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย อัตราค่าโดยสารคนละ ๒๐ บาท หรือจะเช่าจักรยานที่ด้านหน้าอุทยานฯ อัตราค่าเช่าคันละ ๒๐ บาท กระนั้นหากมีเวลาพอ การค่อยๆเดินชมความงดงามของโบราณสถานท่ามกลางธรรมชาติ ก็เป็ฯทางเลือกที่น่าสนใจ อัตราค่าธรรมเนียมเข้าชม ชาวไทยคนละ ๑๐ บาท ชาวต่างชาติ ๓๐ บาท ตั้งแต่เวลา ๐๘.๐๐ – ๑๗.๐๐ น. ทุกวัน
โปรดช่วยกันรักษาโบราณสถาน
โปรดแสดงกิริยาสุภาพในเขตโบราณสถาน
คำแนะนำ