ประวัติศาสตร์ และการค้า
"สังคโลก" เป็นชื่อที่ใช้เรียกเครื่องปั้นดินเผาเนื้อแกร่ง (Stone Ware) ทั้งชนิดเคลือบและไม่เคลือบ ถูกเผาที่อุณหภูมิประมาณ 1,150-1,250 องศาเซลเซียส ซึ่งเริ่มทำกันราวกลางพุทธศตวรรษที่ 19 จนถึงต้นศตวรรษที่ 22 มีแหล่งผลิตใหญ่อยู่ในเขตวัฒนธรรมของอาณาจักรสุโขทัย
จากหลักฐานทางโบราณคดีที่ค้นพบ เชื่อกันว่าช่างสุโขทัยมีภูมิปัญญาในการสร้างสรรค์เครื่องปั้นดินเผามาตั้งแต่เดิม และพยายามปรับปรุงคุณภาพของผลิตภัณฑ์อยู่เสมอ โดยการทดลองเรียนรู้เอง และการเรียนรู้จากวัฒนธรรมอื่นๆ เช่น เขมร มอญ จีน เวียดนาม เป็นต้น จนในที่สุดก็กลายเป็นเอกลักษณ์ที่ได้รับการยอมรับไปทั่ว ทั้งใน และนอกอาณาจักร จนมีการผลิตเพื่อการค้าอย่างจริงจังในช่วงตอนกลางถึงตอนปลายของอาณาจักรสุโขทัย โดยมีแหล่งผลิตอยู่ที่เมืองสวรรคโลก (เก่า) ซึ่งปัจจุบันคือเมืองโบราณศรีสัชนาลัย ดังนั้นชื่อ "สังคโลก" จึงอาจเป็นคำที่เพี้ยนมาจาก "สวรรคโลก" ก็เป็นได้
เตาทุเรียงป่ายาง
เตาทุเรียงเกาะน้อย
แบบจำลองเตาทุเรียง
ชิ้นส่วนสังคโลกที่ค้นพบบริเวณเตาทุเรียง
ภาพตัวอย่างสังคโลกที่ค้นพบ
ภาพตัวอย่างสังคโลกที่ค้นพบ
ภาพตัวอย่างสังคโลกที่ค้นพบ
ภาพตัวอย่างสังคโลกที่ค้นพบ
ภาพตัวอย่างสังคโลกที่ค้นพบ
ปัจจุบันนอกจากจะพบเครื่องสังคโลกจำนวนมากทั่วทุกเมืองของอาณาจักรสุโขทัยแล้ว ยังพบแหล่งผลิต มีเตาทุเรียงที่ใช้เผาเครื่องสังคโลกจำนวนมาก บริเวณนอกเมืองโบราณศรีสัชนาลัยทางทิศเหนือ นอกเมืองโบราณสุโขทัยทางทิศเหนือ และพบเตาทุเรียงริมแม่น้ำน่านทางทิศเหนือของตัวเมืองพิษณุโลก เชื่อกันว่าที่เมืองสุโขทัย และพิษณุโลกนั้นเป็นการพยายามขยายฐานการผลิตเครื่องสังคโลก เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของตลาดนั่นเอง แต่ละแหล่งใช้ดินในพื้นที่ในการผลิต ทำให้มีคุณภาพแตกต่างกัน และไม่มีแหล่งใดเทียบคุณภาพสังคโลกจากเมืองสวรรคโลกได้เลย
ในสมัยโบราณ ประโยชน์ใช้สอยของสังคโลกมีมากมาย ทั้งภาชนะ เครื่องประดับสถาปัตยกรรม ประติมากรรม เป็นต้น มีการพบสังคโลกบนเส้นทางการค้า เช่นบริเวณเทือกเขาในจังหวัดตาก และจมอยู่กับเรือที่อับปางในอ่าวไทย สะท้อนความพยายามในการขนส่งเพื่อค้าขาย และพบสังคโลกในต่างแดน อาทิ อินโดนีเซีย ฟิลิปินส์ และญี่ปุ่น
คุณค่าและเอกลักษณ์ของเครื่องสังคโลก ทำให้หัตถศิลป์ประเภทนี้ได้รับการรื้อฟื้น สืบค้นภูมิปัญญา เพื่อรักษา "มรดกพระร่วง" อันทรงคุณค่านี้ไว้ตลอดไป
ประเภทของสังคโลก
แม้ว่าโดยทั่วไปแล้ว ผู้คนมักคิดว่าเครื่องเคลือบสีเขียวเขียนลายสีดำเท่านั้นที่หมายถึงสังคโลก แต่จริง ๆแล้ว เครื่องถ้วยชนิดนี้แบ่งออกได้หลายประเภท ได้แก่
1. แบบไม่เคลือบสี
2. แบบเคลือบสี
3. แบบเคลือบสี และเขียนลาย
1. แบบไม่เคลือบสี
หากเป็นโบราณวัตถุมักพบเป็นประเภทไห โถ ตลับ บางมีอัฐิบรรจุอยู่ภายในแล้วฝังดิน นอกจากนี้ยังพบจมอยู่กับเรือที่อับปางลงในทะเล สันนิษฐานว่าสังคโลกแบบไม่เคลือบเป็นเครื่องถ้วยยุคแรกๆที่สร้างสรรค์ขึ้น ก่อนทีจะพัฒนาระบบเตา และน้ำยาเคลือบ กระนั้นก็ตาม แม้มีเทคโนโลยีการทำเครื่องเคลือบจะเจริญแล้ว เครื่องถ้วยแบบไม่เคลือบก็ยังพบมีการผลิตอยู่ อาจใช้เพื่อเป็นบรรจุภัณฑ์ จึงพบในเรืออับปาง หรืออาจใช้ในพิธีกรรม เนื่องจากเผาในอุณหภูมิไม่สูง เนื้อไม่แกร่งมาก อาจมีราคาไม่สูงสามารถซื้อหาได้ทั่วไป
2. แบบเคลือบสี
มีการค้นพบเครื่องถ้วยจีน และเวียดนามภายในเมืองสุโขทัยอยู่บ้าง ทำให้เชื่อว่าการรับส่งและถ่ายทอดทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาอยู่เสมอระหว่างผู้คนในภูมิภาคนี้ อาจนำมาสู่การเรียนรู้วิธีการเคลือบเครื่องปั้นดินเผามาจากจีน หรือเวียดนาม และพยายามพัฒนาคุณภาพของน้ำยาเคลือบ ตลอดจนกรรมวิธีการเคลือบอยู่เสมอ ทำให้สังคโลกสุโขทัยมีสีสันสวยงาม อาทิ เคลือบสีขาว ซึ่งพบทั้งที่เป็นภาชนะ ประติมากรรมขนาดเล็ก และเครื่องประดับสถาปัตยกรรม เคลือบสีเขียว พบค่อนข้างมาก และหลากเฉด เคลือบสีดำ และสีเคลือบที่ได้รับการยอมรับว่างดงาม จนเป็นเอกลักษณ์มาจนถึงปัจจุบันคือ สีเขียวไข่กาหรือสีเขียวอมฟ้า (Ceradon) และมีการพัฒนาการเคลือบสองสีบนภาชนะชิ้นเดียวด้วย
นอกจากนี้ช่างสุโขทัยยังใช้กรรมวิธีขูดขีด บาก หรือปั้นดินมาแปะบนพื้นผิวภาชนะก่อนเคลือบ เพื่อความสวยงานแปลกตา
3. แบบเคลือบสี และเขียนลาย
ลวดลายที่อ่อนช้อย งดงาม พลิ้วไหว และสะท้อนวิถีชีวิตของอดีตออกมาได้อย่างมีชีวิตชีวา คือสัญลักษณ์อย่างหนึ่งของเครื่องสังคโลก การเขียนลวดลายเหล่านี้คงได้อิทธิพลมาจากจีนและเวียดนามเช่นเดียวกับการเคลือบ ทว่าช่างสุโขทัยได้ปรับปรุงแร่ธาตุในน้ำสีที่ใช้เขียนลายให้เหมาะสมกับท้องถิ่น โดยใช้ออกไซต์จากเหล็กที่มีอยู่มากในพื้นที่เป็นส่วนประกอบ อาจนำมาจากแหล่งดิน หรือดินลูกรัง ทำให้ลวดลายของสังคโลกมีสีดำหรือน้ำตาลเข้ม ไม่ใช่สีครามแบบเครื่องถ้วยจีนหรือเวียดนาม
1. แบบไม่เคลือบสี
2. แบบเคลือบสี
3. แบบเคลือบสี และเขียนลาย
หากเป็นโบราณวัตถุมักพบเป็นประเภทไห โถ ตลับ บางมีอัฐิบรรจุอยู่ภายในแล้วฝังดิน นอกจากนี้ยังพบจมอยู่กับเรือที่อับปางลงในทะเล สันนิษฐานว่าสังคโลกแบบไม่เคลือบเป็นเครื่องถ้วยยุคแรกๆที่สร้างสรรค์ขึ้น ก่อนทีจะพัฒนาระบบเตา และน้ำยาเคลือบ กระนั้นก็ตาม แม้มีเทคโนโลยีการทำเครื่องเคลือบจะเจริญแล้ว เครื่องถ้วยแบบไม่เคลือบก็ยังพบมีการผลิตอยู่ อาจใช้เพื่อเป็นบรรจุภัณฑ์ จึงพบในเรืออับปาง หรืออาจใช้ในพิธีกรรม เนื่องจากเผาในอุณหภูมิไม่สูง เนื้อไม่แกร่งมาก อาจมีราคาไม่สูงสามารถซื้อหาได้ทั่วไป
มีการค้นพบเครื่องถ้วยจีน และเวียดนามภายในเมืองสุโขทัยอยู่บ้าง ทำให้เชื่อว่าการรับส่งและถ่ายทอดทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาอยู่เสมอระหว่างผู้คนในภูมิภาคนี้ อาจนำมาสู่การเรียนรู้วิธีการเคลือบเครื่องปั้นดินเผามาจากจีน หรือเวียดนาม และพยายามพัฒนาคุณภาพของน้ำยาเคลือบ ตลอดจนกรรมวิธีการเคลือบอยู่เสมอ ทำให้สังคโลกสุโขทัยมีสีสันสวยงาม อาทิ เคลือบสีขาว ซึ่งพบทั้งที่เป็นภาชนะ ประติมากรรมขนาดเล็ก และเครื่องประดับสถาปัตยกรรม เคลือบสีเขียว พบค่อนข้างมาก และหลากเฉด เคลือบสีดำ และสีเคลือบที่ได้รับการยอมรับว่างดงาม จนเป็นเอกลักษณ์มาจนถึงปัจจุบันคือ สีเขียวไข่กาหรือสีเขียวอมฟ้า (Ceradon) และมีการพัฒนาการเคลือบสองสีบนภาชนะชิ้นเดียวด้วย
นอกจากนี้ช่างสุโขทัยยังใช้กรรมวิธีขูดขีด บาก หรือปั้นดินมาแปะบนพื้นผิวภาชนะก่อนเคลือบ เพื่อความสวยงานแปลกตา
ลวดลายที่อ่อนช้อย งดงาม พลิ้วไหว และสะท้อนวิถีชีวิตของอดีตออกมาได้อย่างมีชีวิตชีวา คือสัญลักษณ์อย่างหนึ่งของเครื่องสังคโลก การเขียนลวดลายเหล่านี้คงได้อิทธิพลมาจากจีนและเวียดนามเช่นเดียวกับการเคลือบ ทว่าช่างสุโขทัยได้ปรับปรุงแร่ธาตุในน้ำสีที่ใช้เขียนลายให้เหมาะสมกับท้องถิ่น โดยใช้ออกไซต์จากเหล็กที่มีอยู่มากในพื้นที่เป็นส่วนประกอบ อาจนำมาจากแหล่งดิน หรือดินลูกรัง ทำให้ลวดลายของสังคโลกมีสีดำหรือน้ำตาลเข้ม ไม่ใช่สีครามแบบเครื่องถ้วยจีนหรือเวียดนาม