มีผู้กล่าวว่า สิ่งบ่งชี้พิกัดทางวัฒนธรรมของพื้นที่ที่อยู่ในเครือข่ายวัฒนธรรม "พระร่วง" คือ เจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์หรือทรงดอกบัวตูม พระพุทธรูปลีลา ดนตรีมังคละ และสำเนียงพระร่วงหรือภาษาถิ่นสุโขทัย หากใครเคยเดินทางเข้ามาในเขตพื้นภาคเหนือตอนล่างบางแห่งคงจะเคยได้ยินสำเนียงแปร่งหูของผู้คนท้องถิ่น สำเนียงนั้นคืออัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งดังกล่าวไว้ข้างต้น
แม้จะไม่สามารถยืนยันได้ว่าสำเนียงพระร่วงหรือภาษาถิ่นสุโขทัยนี้ ใช้สื่อสารกันมาตั้งแต่เมื่อใด จะย้อนหลังลงไปจนถึงสมัยสุโขทัยได้หรือไม่ แต่จากหลักฐานประเภทวรรณกรรมหลายแห่งก็ยืนยันถึงสำเนียงเหล่านี้ อาทิ จากวรรณกรรมเรื่องขุนช้างขุนแผน ซึ่งสันนิษฐานว่าแต่งขึ้นในสมัยอยุธยานั้น เล่าถึงเมืองสุโขทัย และอัตลักษณ์ของผู้คนว่า
"สามวันครั้นถึงเมืองสุโขทัย เสียงชาวเหนือเกื๋อไก๋ไปทุกบ้าน
แลเห็นจวนเจ้าพระยาฝากระดาน ผีกุมารบอกพลายชุมพลพลัน
และ
"อ้ายทิดโบกมือบอกให้ออกเรือ พลพายชาวเหนือเสียงเกื๋อไก๋
ยังไม่เคยเลยพ่อพายอย่างไร ทำขวักไขว่เกะกะกีดกันเอง"
ลักษณะเฉพาะตัวของสำเนียงพระร่วง คือการผันเสียงวรรณยุกต์ที่มักใช้เสียงเอกและจัตวาสลับกัน อาทิ หมู เป็น หมู่ (หมายถึงสัตว์ชนิดหนึ่ง) หมู่ เป็น หมู (หมายถึงกลุ่ม เหล่า) ดังนั้นหากคนภาคกลางพูดว่า "ชวนนายหมู่ไปกินหมูป่า" คนสุโขทัยจะพูดด้วยสำเนียงพระร่วงว่า "ชวนนายหมูไปกินหมู่ป๋า" ด้วยเห็นนี้ กวีอยุธยาจึงกล่าวว่าคนที่นี้พูด "เกื๋อไก๋"
พื้นที่ที่ยังพูดสำเนียงพระร่วงในปัจจุบันคือจังหวัดสุโขทัย พิษณุโลก อุตรดิตถ์ พิจิตร กำแพงเพชร ชัยนาท ตาก เป็นต้น ทำให้สามารถมองเห็นเครือข่ายของความเป็น
แลเห็นจวนเจ้าพระยาฝากระดาน ผีกุมารบอกพลายชุมพลพลัน
ยังไม่เคยเลยพ่อพายอย่างไร ทำขวักไขว่เกะกะกีดกันเอง"