พระร่วงและจิตวิญญาณแห่งสุโขทัย
ปลาก้างพระร่วง
เป็นปลาพื้นถิ่น มีตำนานเล่าว่าเกิดขึ้นด้วยอำนาจวาจาสิทธิ์ของพระร่วง เล่ากันว่าวันหนึ่งเมื่อพระร่วงกำลังท่องเที่ยวไปในป่า เกิดหิว แต่มีเพียงข้าวห่อเดียวติดตัวมา ไม่มีกับข้าว จึงจับปลาในหนองน้ำบริเวณนั้นมารับประทาน จนเหลือแต่หัวกับก้าง จึงปล่อยปลานั้นกลับลงสู่ลำธารแล้วสาปให้กลับมามีชีวิตอยู่และแพร่พันธ์ต่อไป ปลาที่มีแต่หัวกับก้าง เนื้อใส่มองเห็นทะลุปรุโปร่งจึงเกิดขึ้นนับจากนั้น
ปลาชนิดนี้ มีหนวด 2 คู่อยู่ที่ขากรรไกรบนและล่าง มีครีบหลังขนาดเล็ก สั้นมาก หางเว้าลึก ลำตัวเพรียวยาว และแบน ลำตัวโปร่งใสจนสามารถมองเห็นอวัยวะภายในได้ชัดเจน ไม่มีเกล็ด และไม่มีเม็ดสีในร่างกาย อวัยวะส่วนใหญ่อยู่ใกล้กับหัว หากส่องด้วยแว่นขยายจะมองเห็นหัวใจปลาเต้นได้ และถ้ามีแสงกระทบในมุมที่ถูกต้องก็จะเห็นตัวปลาเป็นสีเหลือบรุ้ง บางครั้งเรียกว่า "ปลากระจก"
ปลาชนิดนี้ มีหนวด 2 คู่อยู่ที่ขากรรไกรบนและล่าง มีครีบหลังขนาดเล็ก สั้นมาก หางเว้าลึก ลำตัวเพรียวยาว และแบน ลำตัวโปร่งใสจนสามารถมองเห็นอวัยวะภายในได้ชัดเจน ไม่มีเกล็ด และไม่มีเม็ดสีในร่างกาย อวัยวะส่วนใหญ่อยู่ใกล้กับหัว หากส่องด้วยแว่นขยายจะมองเห็นหัวใจปลาเต้นได้ และถ้ามีแสงกระทบในมุมที่ถูกต้องก็จะเห็นตัวปลาเป็นสีเหลือบรุ้ง บางครั้งเรียกว่า "ปลากระจก"