พระร่วงและจิตวิญญาณแห่งสุโขทัย
ขอมดำดิน
ที่วัดมหาธาตุกลางเมืองโบราณสุโขทัย ด้านหน้าพระอัฐฐารส ซึ่งประดิษฐานอยู่ทางด้านขวามือของพระเจดีย์ประธาน ปัจจุบันมีแท่นปูนแท่นหนึ่งถูกก่อไว้ แต่เดิมเป็นที่ตั้งของ "ขอมดำดิน" ซึ่งเป็นชาวเขมรชื่อ "เดโช" มีวิชาอาคมแก่กล้า เดินทางมาตามพระบรมราชโองการของกษัตริย์เขมร เพื่อลอบทำร้ายพระร่วง มิให้อยู่แข่งบุญบารมีกับกับกษัตริย์เขมร เวลานั้นพระร่วงบวชเป็นภิกษุอยู่ในวัดมหาธาตุ กำลังกวาดลานวัดอยู่ พญาเดโชดำดินมาโผล่ขึ้นเพียงเอว ถามหาพระร่วง พระร่วงจับกลได้จึงสาปให้กายพญาเดโชกลายเป้ฯหินจมดินอยู่บริเวณนั้น ชาวบ้านทราบข่าวต่างเลื่อมใสในปาฏิหาริย์ ประกอบกับเมืองสุโขทัยกำลังว่างกษัตริย์ จึงเชิญพระร่วงลาสิกขา แล้วครองเมืองสุโขทัยสืบมา
ศิลาที่เรียกว่า "ขอมดำดิน" นั้น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร (ต่อมาคือรัชกาลที่ ๖) เคยทรงถ่ายภาพไว้เมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๕๐ เป็นก้อนหินรูปร่างเหมือนท่อนลำตัวของคน ไม่มีแขนและศีรษะ ขนาดเท่าคนจริงๆ จมดินอยู่ แต่ต่อมาชาวบ้านเชื่อถือในความศักดิ์สิทธิ์ พากันกระเทาะขอมดำดินกลับไป เชื่อว่าผสมน้ำ หรือฝนทา แก้พิษแมลงกัดต่อยได้ดี ขอมดำดินจึงเหลือเป็นก้อนเล็กๆ ทางการต้องย้ายไปเก็บรักษาที่ศาลากลางจังหวัด ศาลพระแม่ย่า และปัจจุบันนำมาจัดแสดง ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง
ศิลาที่เรียกว่า "ขอมดำดิน" นั้น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร (ต่อมาคือรัชกาลที่ ๖) เคยทรงถ่ายภาพไว้เมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๕๐ เป็นก้อนหินรูปร่างเหมือนท่อนลำตัวของคน ไม่มีแขนและศีรษะ ขนาดเท่าคนจริงๆ จมดินอยู่ แต่ต่อมาชาวบ้านเชื่อถือในความศักดิ์สิทธิ์ พากันกระเทาะขอมดำดินกลับไป เชื่อว่าผสมน้ำ หรือฝนทา แก้พิษแมลงกัดต่อยได้ดี ขอมดำดินจึงเหลือเป็นก้อนเล็กๆ ทางการต้องย้ายไปเก็บรักษาที่ศาลากลางจังหวัด ศาลพระแม่ย่า และปัจจุบันนำมาจัดแสดง ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง