พระร่วงและจิตวิญญาณแห่งสุโขทัย
พระร่วงผู้เป็นมหาธรรมราชา
"พระร่วง" นามพระราชวงศ์ที่เคยปกครองอาณาจักรสุโขทัย และหนึ่งในพระราชวงศ์ที่ปกครองอาณาจักรอยุธยาในช่วงต้น เรื่องราวเหล่านี้แทรกอยู่ในบทเรียนประวัติศาสตร์ไทยมาเนิ่นนาน
นักวิชาการสันนิษฐานว่า ความเชื่อถือในตำนานอันศักดิ์สิทธิ์ของ 'พระร่วงผู้มีวาจาสิทธิ์' ทำให้ผู้คนเรียกขานกษัตริย์แห่งสุโขทัยว่า "พระร่วง" โดยเทิดทูนไว้ด้วยภักดี
แม้ไปปรากฏคำเรียกกษัตริย์ว่า "พระร่วง" อย่างเป็นลายลักษณ์อักษรในหลักฐานของสุโขทัยอย่างศิลาจารึกใดๆ แต่พบคำว่า "พรญาร่วง" ในหลักฐานของแคว้นอื่นร่วมสมัยกับสุโขทัย เช่น เมืองพะเยา เมืองเชียงใหม่ หรือเมืองกำแพงเพชรที่อยู่ภายใต้อิทธิพลอยุธยา และพบคำว่า "พระร่วง" ในหลักฐานช่วงหลังจากความรุ่งเรืองของสุโขทัย เช่น สมัยอยุธยา และรัตนโกสินทร์ แม้แต่ชื่อเรียกพระราชวงศ์ที่ปกครองสุโขทัยว่า "ราชวงศ์พระร่วง" ก็เป็นผลมาจากความพยายามจัดระบบรายพระนามของพระมหากษัตริย์เพื่อป้องกันความสับสนในการศึกษา ซึ่งมีขึ้นในช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์นี้เอง
คำที่ชาวสุโขทัยใช้กล่าวถึงพระมหากษัตริย์ของตนในศิลาจารึกมีหลายคำ เปลี่ยนแปลงไปตามสมัย เช่น พ่อขุน พรญา ตลอดจนมหาธรรมราชา ซึ่งใช้เป้นสร้อยพระนามกษัตริย์ในช่วงกลางถึงปลายสุโขทัยหลายพระองค์ สะท้อนบทบาทของพุทธศาสนาที่มีต่อสถาบันกษัตริย์ ในขณะที่แคว้นอื่นๆ ยังคงใช้คำ 'พรญาร่วง' เรียกเจ้านายจากสุโขทัยไม่เปลี่ยนแปลง ดังนั้น "พระร่วง" จึงเป็นนามอันเป็นเอกลักษณ์บ่งบอกความเป็นสุโขทัยในมโนทัศน์ของผู้คนทั้งหลายได้เป็นอย่างดี และด้วยนัยนี้ พระร่วงผู้ครองแผ่นดินสุโขทัยย่อมเป็นมหาธรรมราชาผู้ปกครองโดยธรรม สะท้อนความเชื่อมโยงของความเชื่อดั้งเดิมเข้ากับพระพุทธศาสนา ที่เจริญรุ่งเรืองในยุคสุโขทัยได้อย่างแจ่มชัดเช่นกัน
นักวิชาการสันนิษฐานว่า ความเชื่อถือในตำนานอันศักดิ์สิทธิ์ของ 'พระร่วงผู้มีวาจาสิทธิ์' ทำให้ผู้คนเรียกขานกษัตริย์แห่งสุโขทัยว่า "พระร่วง" โดยเทิดทูนไว้ด้วยภักดี
แม้ไปปรากฏคำเรียกกษัตริย์ว่า "พระร่วง" อย่างเป็นลายลักษณ์อักษรในหลักฐานของสุโขทัยอย่างศิลาจารึกใดๆ แต่พบคำว่า "พรญาร่วง" ในหลักฐานของแคว้นอื่นร่วมสมัยกับสุโขทัย เช่น เมืองพะเยา เมืองเชียงใหม่ หรือเมืองกำแพงเพชรที่อยู่ภายใต้อิทธิพลอยุธยา และพบคำว่า "พระร่วง" ในหลักฐานช่วงหลังจากความรุ่งเรืองของสุโขทัย เช่น สมัยอยุธยา และรัตนโกสินทร์ แม้แต่ชื่อเรียกพระราชวงศ์ที่ปกครองสุโขทัยว่า "ราชวงศ์พระร่วง" ก็เป็นผลมาจากความพยายามจัดระบบรายพระนามของพระมหากษัตริย์เพื่อป้องกันความสับสนในการศึกษา ซึ่งมีขึ้นในช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์นี้เอง
คำที่ชาวสุโขทัยใช้กล่าวถึงพระมหากษัตริย์ของตนในศิลาจารึกมีหลายคำ เปลี่ยนแปลงไปตามสมัย เช่น พ่อขุน พรญา ตลอดจนมหาธรรมราชา ซึ่งใช้เป้นสร้อยพระนามกษัตริย์ในช่วงกลางถึงปลายสุโขทัยหลายพระองค์ สะท้อนบทบาทของพุทธศาสนาที่มีต่อสถาบันกษัตริย์ ในขณะที่แคว้นอื่นๆ ยังคงใช้คำ 'พรญาร่วง' เรียกเจ้านายจากสุโขทัยไม่เปลี่ยนแปลง ดังนั้น "พระร่วง" จึงเป็นนามอันเป็นเอกลักษณ์บ่งบอกความเป็นสุโขทัยในมโนทัศน์ของผู้คนทั้งหลายได้เป็นอย่างดี และด้วยนัยนี้ พระร่วงผู้ครองแผ่นดินสุโขทัยย่อมเป็นมหาธรรมราชาผู้ปกครองโดยธรรม สะท้อนความเชื่อมโยงของความเชื่อดั้งเดิมเข้ากับพระพุทธศาสนา ที่เจริญรุ่งเรืองในยุคสุโขทัยได้อย่างแจ่มชัดเช่นกัน