วัดช้างรอบ
จักรวาลบนหลังช้าง
(อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร, จ.กำแพงเพชร)
สำหรับเมืองโบราณกำแพงเพชร วัดช้างรอบคือวัดสำคัญที่สุด งดงามและยิ่งใหญ่ที่สุด ตั้งอยู่บนชัยภูมิที่ดีที่สุด ไม่ต่างจากมงกุฎล้ำค่าที่ประดับประดาด้วยเพชร คืองานศิลปกรรมล้ำค่าควรแก่การเที่ยวชม
แม้ผู้คนจะชอบถกเถียงถึงนัยสำคัญของชื่อ "ช้างรอบ" กับ "ช้างล้อม" แต่แท้ที่จริงแล้ว คำสองคำนี้หมายถึงเจดีย์ที่มีประติมากรรมรูปช้างอยู่รอบฐาน ขึ้นอยู่กับความนิยมเรียกกันของผู้คนในท้องถิ่น ไม่ได้มีนัยลึกซึ้งแตกต่างกันเลย
วัดนี้ตั้งอยู่บนเนินสูงที่สุดนอกเมืองโบราณกำแพงเพชรด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ซึ่งเชื่อกันมาแต่เดิมว่าเป็นเขตอรัญญิก คือเขตวัดป่านอกเมือง แต่เพราะโบราณสถานในเขตนี้มีมากมาย ล้วนใหญ่โตมั่นคง ผิดแผกจากความนิยมของพระสงฆ์ฝ่ายอรัญวาสี ที่เน้นการบำเพ็ญจิตภาวนาในเขตสงบวิเวก นักวิชาการบางท่านจึงสันนิษฐานว่าบริเวณนี้คือส่วนขยายของเมืองกำแพงเพชร ซึ่งมีพื้นที่ภายในเมืองจำกัดนั่นเอง
สถาปัตยกรรมประธานของวัดคือเจดีย์ขนาดใหญ่ ที่ส่วนยอดหักหายไป ทว่ายังสามารถทราบได้จากส่วนที่เหลือว่าเป็นทรงระฆัง ตั้งอยู่บนลานประทักษิณ หรือลานสำหรับเดินเวียนขวาเพื่อทำความเคารพเจดีย์ มีฐานรูปสี่เหลี่ยมรองรับอีกชั้นหนึ่ง มีบันไดทางขึ้นสู่ลานประทักษิณทั้ง 4 ด้าน ฐานชั้นนี้ตกแต่งด้วยประติมากรรมรูปช้างทรงเครื่องคชาภรณ์จำนวน 68 เชือก คั่นด้วยประติมากรรมปูนปั้นรูปต้นไม้ หากสังเกตดีดีจะเห็นรายละเอียดของลวดลายตกแต่ง เช่น รูปสัตว์ อาทิ กระรอก งู รังต่อ เป็นต้น ที่ฐานของเจดีย์ทรงระฆัง พบร่องรอยการประดับตกแต่งด้วยประติมากรรมดินเผารูปหงส์ บุคคล และภาพเล่าเรื่อง อาจเป็นรามเกียรติ์ หรือพุทธประวัติ ประติมากรรมเหล่านี้นำไปจัดแสดง ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร
ด้านหน้ามีวิหารหลวง ถัดออกไปมีอุโบสถขนาดเล็ก สถาปัตยกรรมเหล่านี้สร้างสรรค์ขึ้นจากศิลาแลง ซึ่งคงขุดขึ้นมาจากบริเวณนั้น ดังได้พบบ่อขนาดใหญ่ด้านหน้าวิหารหลวง
แม้ผู้คนจะชอบถกเถียงถึงนัยสำคัญของชื่อ "ช้างรอบ" กับ "ช้างล้อม" แต่แท้ที่จริงแล้ว คำสองคำนี้หมายถึงเจดีย์ที่มีประติมากรรมรูปช้างอยู่รอบฐาน ขึ้นอยู่กับความนิยมเรียกกันของผู้คนในท้องถิ่น ไม่ได้มีนัยลึกซึ้งแตกต่างกันเลย
วัดนี้ตั้งอยู่บนเนินสูงที่สุดนอกเมืองโบราณกำแพงเพชรด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ซึ่งเชื่อกันมาแต่เดิมว่าเป็นเขตอรัญญิก คือเขตวัดป่านอกเมือง แต่เพราะโบราณสถานในเขตนี้มีมากมาย ล้วนใหญ่โตมั่นคง ผิดแผกจากความนิยมของพระสงฆ์ฝ่ายอรัญวาสี ที่เน้นการบำเพ็ญจิตภาวนาในเขตสงบวิเวก นักวิชาการบางท่านจึงสันนิษฐานว่าบริเวณนี้คือส่วนขยายของเมืองกำแพงเพชร ซึ่งมีพื้นที่ภายในเมืองจำกัดนั่นเอง
สถาปัตยกรรมประธานของวัดคือเจดีย์ขนาดใหญ่ ที่ส่วนยอดหักหายไป ทว่ายังสามารถทราบได้จากส่วนที่เหลือว่าเป็นทรงระฆัง ตั้งอยู่บนลานประทักษิณ หรือลานสำหรับเดินเวียนขวาเพื่อทำความเคารพเจดีย์ มีฐานรูปสี่เหลี่ยมรองรับอีกชั้นหนึ่ง มีบันไดทางขึ้นสู่ลานประทักษิณทั้ง 4 ด้าน ฐานชั้นนี้ตกแต่งด้วยประติมากรรมรูปช้างทรงเครื่องคชาภรณ์จำนวน 68 เชือก คั่นด้วยประติมากรรมปูนปั้นรูปต้นไม้ หากสังเกตดีดีจะเห็นรายละเอียดของลวดลายตกแต่ง เช่น รูปสัตว์ อาทิ กระรอก งู รังต่อ เป็นต้น ที่ฐานของเจดีย์ทรงระฆัง พบร่องรอยการประดับตกแต่งด้วยประติมากรรมดินเผารูปหงส์ บุคคล และภาพเล่าเรื่อง อาจเป็นรามเกียรติ์ หรือพุทธประวัติ ประติมากรรมเหล่านี้นำไปจัดแสดง ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร
ด้านหน้ามีวิหารหลวง ถัดออกไปมีอุโบสถขนาดเล็ก สถาปัตยกรรมเหล่านี้สร้างสรรค์ขึ้นจากศิลาแลง ซึ่งคงขุดขึ้นมาจากบริเวณนั้น ดังได้พบบ่อขนาดใหญ่ด้านหน้าวิหารหลวง
ข้อมูลติดต่อ
ชื่อผู้ติดต่อ : อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร
ที่อยู่ : อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ต.หนองปลิง อ.เมืองกำแพงเพชร จ.กำแพงเพชร 62000
เบอร์โทรศัพท์ :
พิกัด : 16.5029250, 99.5096834
ชื่อผู้ติดต่อ :
อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร
ที่อยู่ :
อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ต.หนองปลิง อ.เมืองกำแพงเพชร จ.กำแพงเพชร 62000
เบอร์โทรศัพท์ :
พิกัด :
16.5029250, 99.5096834
ข้อมูลทั่วไป
วันทำการ : ทุกวัน
เวลาทำการ : 08.00-18.00 น.
ค่าเข้าชม : คนไทย 20 บาท/คน
ต่างชาติ 100 บาท/คน
ค่าเช่าพาหนะ : รถจักรยาน 30 บาท/วัน/คัน (สามารถเช่าได้ ที่ด้านหน้าอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย)
รถจักรยานเสือภูเขา 50 บาท/วัน/คัน
รถราง 1-5 คน เหมา 100 บาท/คัน
รถราง 6 คนขึ้นไป คิดตามจำนวนคน/คนละ 20 บาท
สามารถเช่าได้ที่บริเวณป้อมจำหน่ายบัตร 4 และ 5 ภายในอุทยานประวัติศาสตร์
รถราง 1 คัน นั่งได้ไม่เกิน 15 คนรวมคนขับ
จุดขึ้นรถรางอยู่หน้าศูนย์บริการข้อมูล
วันทำการ :
ทุกวัน
เวลาทำการ :
08.00-18.00 น.
ค่าเข้าชม :
ค่าเช่าพาหนะ :
สามารถเช่าได้ที่บริเวณป้อมจำหน่ายบัตร 4 และ 5 ภายในอุทยานประวัติศาสตร์
รถราง 1 คัน นั่งได้ไม่เกิน 15 คนรวมคนขับ
จุดขึ้นรถรางอยู่หน้าศูนย์บริการข้อมูล
รถราง 1 คัน นั่งได้ไม่เกิน 15 คนรวมคนขับ
จุดขึ้นรถรางอยู่หน้าศูนย์บริการข้อมูล
ชมทัศนียภาพ
พักผ่อน
เรียนรู้ประวัติศาสตร์
หาประสบการณ์
เติมเต็มจิตวิญญาณ
โบราณสถาน
เดินเท้า
ปั่นจักรยาน
สามล้อเครื่อง
รถราง
Information Center
ที่จอดรถ
จุดถ่ายภาพ
ตำนานพระร่วง
ป้ายแผนที่
กษัตริย์เสด็จ
กิจกรรมแบบเดี่ยว
กิจกรรมแบบกลุ่ม
เพื่อความรู้์
กิจกรรมกลางแจ้ง
แนะนำการเดินทาง
จากอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยเดินทางไป อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร สามารถเดินทางไปเที่ยวชมด้วยการ รถจักรยานยนต์ , รถยนต์ และรถสองแถวเท่านั้น โดยวัดระยะทางจากอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยได้เป็นระยะทาง 77.9 กิโลเมตร
วิธีการเดินทาง
ระยะทาง
ระยะเวลา
หมายเหตุ
รถมอเตอร์ไซค์
77.9 กม.
3.30-4.00 ชม.
ไม่แนะนำ
รถยนต์
77.9 กม.
1-1.3 ชม.
-
รถสองแถว (สุโขทัย-กำแพงเพชร)
77.9 กม.
1.40-2.00 ชม.
ขึ้นรถที่ บขส.สุโขทัยเท่านั่น
วิธีการเดินทาง
จากอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชรเดินทางไป วัดช้างรอบ ซึ่งอยู่ภายในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร เขต 1 โดยวัดระยะทางจากประตูทางเข้าอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ได้เป็นระยะทาง 1.5 กิโลเมตร
วิธีการเดินทาง
ระยะทาง
ระยะเวลา
หมายเหตุ
เดินเท้า
1.5 กม.
18-25 นาที
-
รถจักรยาน
1.5 กิโลเมตร
15-17 นาที
-
รถมอเตอร์ไซค์
1.5 กิโลเมตร
9-12 นาที
-
รถยนต์
1.5 กิโลเมตร
5-7 นาที
ขับในเส้นทางอุทยานฯ
รถราง
1.5 กิโลเมตร
-
สามารถซื้อตั๋วและขึ้นรถรางได้ที่จุดจอดรถราง