วัดพระแก้ว
ย้อนเวลาค้นหาประวัติศาสตร์
(อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร, จ.กำแพงเพชร)
ชื่อเมืองกำแพงเพชรมีนัยหมายถึง "เมืองที่แข็งแกร่งประดุจเพชร" ประจักษ์พยานคือกำแพงขนาดมหึมา ทว่าภายในกำแพงเมืองกลับมีพื้นที่ไม่มากนัก สันนิษฐานว่าเพื่อความสะดวกในการป้องกันรักษายามศึกสงคราม ปัจจุบันยังเหลือโบราณสถานจำนวนหนึ่งอยู่ภายในกำแพงเมือง เรียงตัวในแนวทิศตะวันออก-ตะวันตก และในจำนวนโบราณสถานเหล่านี้ "วัดพระแก้ว" ดูเหมือนจะสำคัญกว่าวัดใดๆ
หากเริ่มจากบริเวณศาลหลักเมืองกำแพงเพชร สถาปัตยกรรมแรกที่จะพบในวัดพระแก้ว คือเจดีย์ทรงระฆังที่มีประติมากรรมช้างรายล้อมฐานของเจดีย์ ซึ่งศิลปกรรมที่นิยมสร้างในสมัยสุโขทัย แต่หากสังเกตดีดีจะพบว่าเหนือชั้นฐานที่มีประติมากรรมช้างขึ้นไป มุมทั้งสี่ของฐานยังปรากฏเจดีย์องค์เล็กๆ อยู่มุมละ 1 องค์ เจดีย์ช้างล้อมองค์นี้จึงมีทั้งหมด 5 องค์อยู่บนฐานเดียวกัน ซึ่งไม่พบที่ใดอีกเลย
ใกล้ๆ กับฐานเจดีย์ด้านทิศตะวันออก หากสังเกตดีๆ จะพบชิ้นส่วนพระบาทของพระพุทธรูปยืนองค์ใหญ่ สลักขากศิลาแลง สันนิษฐานว่าคงจะเป็นพระพุทธรูปยืนแบบที่เรียกว่า "พระอัฏฐารส" ซึ่งนิยมสร้างในสมัยสุโขทัย เช่นกัน
ถัดมาเป็นวิหารหลังน้อย ภายในมีชุกชีประดิษฐานพระพุทธรูป 3 องค์ เป็นพระนอนองค์หนึ่ง พระมารวิชัย 2 องค์ มีรูปพระพักตร์เป็นสี่เหลี่ยม นักวิชาการจึงเชื่อว่าสร้างในสมัยอู่ทอง หมายถึงช่วงต้นของกรุงศรีอยุธยา ที่ฐานชุกชีเคยมีประติมากรรมเล่าเรื่องรามเกียรติ์ประดับอยู่ ด้านหน้าวิหารหลังนี้มีวิหารอีกหลังหนึ่ง ฐานสูง ยังเหลือโกลนศิลาแลงของพระพุทธรูปประธานในวิหารอยู่ โกลน แปลว่า แกน หมายถึงแกนในของพระพุทธรูปที่สลักเป็นเค้าโครงหยาบๆ จากหินแล้วจึงค่อยๆ ใช้ปูนปั้นพอกจนเป็นองค์พระพุทธรูป
ถัดจากวิหารหลังนี้คือเจดีย์ที่น่าจะเป็นสถาปัตยกรรมประธานของวัด ด้วยมีขนาดใหญ่ที่สุดและมีรูปทรงงดงามแปลกตา คือส่วนบนเป็นเจดีย์ทรงระฆัง ที่ถัดจากองค์ระฆังลงมาทำเป็นซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูปจำนวน 16 ซุ้ม ถัดลงมาอีกเป็นฐานสี่เหลี่ยม ทำเป็นซุ้ม จำนวน 32 ซุ้ม ในซุ้มมีสิงห์ตั้งอยู่ สันนิษฐานว่าสิงห์ล้อมฐานเจดีย์นี้มีพัฒนาการมาจากเจดีย์ช้างล้อมแบบสุโขทัย แต่ปรับมาเป็นสิงห์ตามความนิยมของช่างอยุธยา
ต่อจากเจดีย์สิงห์ล้อมออกไปทางตะวันออก มีฐานไพทีสูงและใหญ่โตมาก คำว่า "ไพที" มีความหมายเช่นเดียวกับเวที คือบริเวณที่ยกพื้นสูงขึ้นเพื่อให้สง่างาม มองเห็นชัดเจน ด้านทิศตะวันตกของฐานไพทีเชื่อมต่อกับฐานของสิ่งก่อสร้างหลังหนึ่งผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมย่อมุม มีบันไดทางขึ้นด้านทิศตะวันออก แต่ส่วนยอดพังทลายลงมาแล้ว ชาวบ้านเรียกกันว่า "บุษบก" สันนิษฐานว่าเคยเป็นที่ประดิษฐานพระแก้วมรกต ที่ตำนานเล่าไว้ว่าครั้งหนึ่งเคยประดิษฐานในเมืองกำแพงเพชรพร้อมพระพุทธสิหิงค์
การได้เดินเที่ยวชมวัดพระแก้ว จึงเท่ากับได้ย้อนอดีตค้นหาประวัติศาสตร์ของเมืองกำแพงเพชรด้วยนั่นเอง
หากเริ่มจากบริเวณศาลหลักเมืองกำแพงเพชร สถาปัตยกรรมแรกที่จะพบในวัดพระแก้ว คือเจดีย์ทรงระฆังที่มีประติมากรรมช้างรายล้อมฐานของเจดีย์ ซึ่งศิลปกรรมที่นิยมสร้างในสมัยสุโขทัย แต่หากสังเกตดีดีจะพบว่าเหนือชั้นฐานที่มีประติมากรรมช้างขึ้นไป มุมทั้งสี่ของฐานยังปรากฏเจดีย์องค์เล็กๆ อยู่มุมละ 1 องค์ เจดีย์ช้างล้อมองค์นี้จึงมีทั้งหมด 5 องค์อยู่บนฐานเดียวกัน ซึ่งไม่พบที่ใดอีกเลย
ใกล้ๆ กับฐานเจดีย์ด้านทิศตะวันออก หากสังเกตดีๆ จะพบชิ้นส่วนพระบาทของพระพุทธรูปยืนองค์ใหญ่ สลักขากศิลาแลง สันนิษฐานว่าคงจะเป็นพระพุทธรูปยืนแบบที่เรียกว่า "พระอัฏฐารส" ซึ่งนิยมสร้างในสมัยสุโขทัย เช่นกัน
ถัดมาเป็นวิหารหลังน้อย ภายในมีชุกชีประดิษฐานพระพุทธรูป 3 องค์ เป็นพระนอนองค์หนึ่ง พระมารวิชัย 2 องค์ มีรูปพระพักตร์เป็นสี่เหลี่ยม นักวิชาการจึงเชื่อว่าสร้างในสมัยอู่ทอง หมายถึงช่วงต้นของกรุงศรีอยุธยา ที่ฐานชุกชีเคยมีประติมากรรมเล่าเรื่องรามเกียรติ์ประดับอยู่ ด้านหน้าวิหารหลังนี้มีวิหารอีกหลังหนึ่ง ฐานสูง ยังเหลือโกลนศิลาแลงของพระพุทธรูปประธานในวิหารอยู่ โกลน แปลว่า แกน หมายถึงแกนในของพระพุทธรูปที่สลักเป็นเค้าโครงหยาบๆ จากหินแล้วจึงค่อยๆ ใช้ปูนปั้นพอกจนเป็นองค์พระพุทธรูป
ถัดจากวิหารหลังนี้คือเจดีย์ที่น่าจะเป็นสถาปัตยกรรมประธานของวัด ด้วยมีขนาดใหญ่ที่สุดและมีรูปทรงงดงามแปลกตา คือส่วนบนเป็นเจดีย์ทรงระฆัง ที่ถัดจากองค์ระฆังลงมาทำเป็นซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูปจำนวน 16 ซุ้ม ถัดลงมาอีกเป็นฐานสี่เหลี่ยม ทำเป็นซุ้ม จำนวน 32 ซุ้ม ในซุ้มมีสิงห์ตั้งอยู่ สันนิษฐานว่าสิงห์ล้อมฐานเจดีย์นี้มีพัฒนาการมาจากเจดีย์ช้างล้อมแบบสุโขทัย แต่ปรับมาเป็นสิงห์ตามความนิยมของช่างอยุธยา
ต่อจากเจดีย์สิงห์ล้อมออกไปทางตะวันออก มีฐานไพทีสูงและใหญ่โตมาก คำว่า "ไพที" มีความหมายเช่นเดียวกับเวที คือบริเวณที่ยกพื้นสูงขึ้นเพื่อให้สง่างาม มองเห็นชัดเจน ด้านทิศตะวันตกของฐานไพทีเชื่อมต่อกับฐานของสิ่งก่อสร้างหลังหนึ่งผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมย่อมุม มีบันไดทางขึ้นด้านทิศตะวันออก แต่ส่วนยอดพังทลายลงมาแล้ว ชาวบ้านเรียกกันว่า "บุษบก" สันนิษฐานว่าเคยเป็นที่ประดิษฐานพระแก้วมรกต ที่ตำนานเล่าไว้ว่าครั้งหนึ่งเคยประดิษฐานในเมืองกำแพงเพชรพร้อมพระพุทธสิหิงค์
การได้เดินเที่ยวชมวัดพระแก้ว จึงเท่ากับได้ย้อนอดีตค้นหาประวัติศาสตร์ของเมืองกำแพงเพชรด้วยนั่นเอง
ข้อมูลติดต่อ
ชื่อผู้ติดต่อ : อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร
ที่อยู่ : อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ต.หนองปลิง อ.เมืองกำแพงเพชร จ.กำแพงเพชร 62000
เบอร์โทรศัพท์ :
พิกัด : 16.4882755, 99.5180223
ชื่อผู้ติดต่อ :
อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร
ที่อยู่ :
อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ต.หนองปลิง อ.เมืองกำแพงเพชร จ.กำแพงเพชร 62000
เบอร์โทรศัพท์ :
พิกัด :
16.4882755, 99.5180223
ข้อมูลทั่วไป
วันทำการ : ทุกวัน
เวลาทำการ : 08.00-18.00 น.
ค่าเข้าชม : คนไทย 20 บาท/คน
ต่างชาติ 100 บาท/คน
ค่าเช่าพาหนะ : รถจักรยาน 30 บาท/วัน/คัน (สามารถเช่าได้ ที่ด้านหน้าอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย)
รถจักรยานเสือภูเขา 50 บาท/วัน/คัน
สามารถเช่าได้ที่บริเวณป้อมจำหน่ายบัตร 4 และ 5 ภายในอุทยานประวัติศาสตร์
วันทำการ :
ทุกวัน
เวลาทำการ :
08.00-18.00 น.
ค่าเข้าชม :
ค่าเช่าพาหนะ :
สามารถเช่าได้ที่บริเวณป้อมจำหน่ายบัตร 4 และ 5 ภายในอุทยานประวัติศาสตร์
ชมทัศนียภาพ
พักผ่อน
เรียนรู้ประวัติศาสตร์
หาประสบการณ์
เติมเต็มจิตวิญญาณ
โบราณสถาน
เดินเท้า
ปั่นจักรยาน
สามล้อเครื่อง
รถราง
Information Center
ที่จอดรถ
จุดถ่ายภาพ
ตำนานพระร่วง
ป้ายแผนที่
กษัตริย์เสด็จ
กิจกรรมแบบเดี่ยว
กิจกรรมแบบกลุ่ม
เพื่อความรู้์
กิจกรรมกลางแจ้ง
แนะนำการเดินทาง
จากอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยเดินทางไป อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร สามารถเดินทางไปเที่ยวชมด้วยการ รถจักรยานยนต์ , รถยนต์ และรถสองแถวเท่านั้น โดยวัดระยะทางจากอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยได้เป็นระยะทาง 77.9 กิโลเมตร
วิธีการเดินทาง
ระยะทาง
ระยะเวลา
หมายเหตุ
รถมอเตอร์ไซค์
77.9 กม.
3.30-4.00 ชม.
ไม่แนะนำ
รถยนต์
77.9 กม.
1-1.3 ชม.
-
รถสองแถว (สุโขทัย-กำแพงเพชร)
77.9 กม.
1.40-2.00 ชม.
ขึ้นรถที่ บขส.สุโขทัยเท่านั่น
วิธีการเดินทาง
จากอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชรเดินทางไป วัดพระแก้ว ซึ่งอยู่ภายในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร เขต 2 โดยวัดระยะทางจากประตูทางเข้าอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ได้เป็นระยะทาง 3 กิโลเมตร
วิธีการเดินทาง
ระยะทาง
ระยะเวลา
หมายเหตุ
เดินเท้า
3 กม.
38-50 นาที
ไม่แนะนำ
รถจักรยาน
3 กม.
20-25 นาที
-
รถมอเตอร์ไซค์
3 กม.
12-16 นาที
-
รถยนต์
3 กม.
5-10 นาที
ขับในเส้นทางอุทยานฯ
รถราง
-
-
-