วัดตลิ่งชัน
(สถานที่สักการะ, อ.ศรีสัชนาลัย, จ.สุโขทัย)
วัดตลิ่งชัน ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1824 และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ. 1830 สันนิษฐานว่าอุโบสถน่าจะสร้างขึ้นประมาณ พ.ศ. 1826 ภายในอุโบสถมีภาพจิตรกรรมฝาผนังที่น่าจะมีอายุประมาณร้อยกว่าปี และเขียนโดยช่างชาวบ้านโดยนำสีจากธรรมชาติมาเขียนเกี่ยวกับเรื่องราวพุทธประวัติ ทศชาติชาดก มีภาพธงชาติช้างเผือกของสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ภาพวาดเกี่ยวกับการค้าขายในสมัยอดีต การล่องเรือมาของพ่อค้าต่างชาติโดยเรือสำเภาและภาพวาดเกี่ยวกับการแสดงดนตรีมังคละ
พระประธานในอุโบสถเป็นพระพุทธรูปสัมฤทธิ์โบราณองค์ใหญ่ ซึ่งในจังหวัดสุโขทัยมีเพียง 3 องค์ อีกสององค์คือ หลวงพ่อโต วัดเชิงคีรี อำเภอศรีสัชนาลัยและพระพุทธเรืองฤทธิ์ วัดสว่างอารมณ์วรวิหาร พระประธานในอุโบสถวัดตลิ่งชัน มีขนาดหน้าตักกว้าง 3 ศอก องค์ใหญ่เป็นอันดับ 3 เดิมเข้าใจผิดคิดว่าเป็นปูนปั้น จึงยังไม่ได้มีการขึ้นทะเบียนโบราณวัตถุ แต่จากการตรวจสอบพบว่าพระประธานองค์นี้เคยปรากฏอยู่ในช่วงที่เป็นเมืองวิเศษไชยสัตย์ ซึ่งเป็นชื่อเมืองชื่อที่ 5 ของเมืองเชลียง ก่อนเปลี่ยนมาเป็นเมืองศรีสัชนาลัย เมืองเชียงชื่น เมืองสวรรคโลก และเมืองวิเศษไชยสัตย์ ตามลำดับ ภายหลังมีพระนามว่า พระศรีเมืองวิเศษไชยสัตย์
พระประธานในอุโบสถเป็นพระพุทธรูปสัมฤทธิ์โบราณองค์ใหญ่ ซึ่งในจังหวัดสุโขทัยมีเพียง 3 องค์ อีกสององค์คือ หลวงพ่อโต วัดเชิงคีรี อำเภอศรีสัชนาลัยและพระพุทธเรืองฤทธิ์ วัดสว่างอารมณ์วรวิหาร พระประธานในอุโบสถวัดตลิ่งชัน มีขนาดหน้าตักกว้าง 3 ศอก องค์ใหญ่เป็นอันดับ 3 เดิมเข้าใจผิดคิดว่าเป็นปูนปั้น จึงยังไม่ได้มีการขึ้นทะเบียนโบราณวัตถุ แต่จากการตรวจสอบพบว่าพระประธานองค์นี้เคยปรากฏอยู่ในช่วงที่เป็นเมืองวิเศษไชยสัตย์ ซึ่งเป็นชื่อเมืองชื่อที่ 5 ของเมืองเชลียง ก่อนเปลี่ยนมาเป็นเมืองศรีสัชนาลัย เมืองเชียงชื่น เมืองสวรรคโลก และเมืองวิเศษไชยสัตย์ ตามลำดับ ภายหลังมีพระนามว่า พระศรีเมืองวิเศษไชยสัตย์
นอกจากนี้ วัดตลิ่งชันยังเป็นสถานที่สำคัญในการจัดประเพณีถวายผ้ากฐินเรือสังเค็ด หรือสะล้า สังเค็ด คือเรือนจำลองจั่วหลังเล็กๆเป็นยานคานหามแห่ผ้ากฐิน สะล้า คือเรือที่ใช้ในการแห่สังเค็ดเป็นประเพณีประจำปีของวัดตลิ่งชันจะมีการแห่องค์กฐิน ในอดีตชาวบ้านจะมาช่วยกันตัดไม้ไผ่เพื่อช่วยกันทำสังเค็ด ประดับตกแต่งให้สวยงาม ทั้งการประดับด้วยดอกไม้นานาชนิดโดยการร้อยพวงมาลัย ประดับด้วยธงทิวที่ทำจากกระดาษแก้วหลากสีเรียกวันนี้ว่า วันร้อยดอกไม้ ต่อมาวันขึ้น 7 ค่ำ เดือน 12 เป็นวันแห่สังเค็ดในอดีตจะเริ่มแห่ตามเวลาที่ชาวบ้านเรียกว่า สายๆ หรือประมาณ 8 โมง ในขบวนแห่เรือสังเค็ดก็จะมีการร้องรำทำเพลงสร้างความสนุกสนาน โดยวงปี่พาทย์บรรเลง และมีนางรำอยู่หัวเรือ แห่เรือสังเค็ดจากท่าน้ำหน้าวัดตลิ่งชัน ขึ้นไปทางเหนือจนถึงวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ หรือวัดพระปรางค์ แล้วย้อนล่องกลับไปทางใต้จนถึงวัดท่าเกย หรือจนสุดเขตหมู่บ้านเพื่อให้ชาวบ้านได้ร่วมทำบุญ เมื่อแห่สังเค็ดกับมาถึงวัดก็จะมีกิจกรรมการละเล่น เช่น การแข่งเรือน้ำ กีฬาพื้นบ้านมวยทะเล แข่งเรือเร็ว และวันขึ้น 8 ค่ำ เดือน 12 ทำการทอดกฐิน และใส่บาตรฉลองกฐินในช่วงเช้า
นอกจากนี้ วัดตลิ่งชันยังเป็นสถานที่สำคัญในการจัดประเพณีถวายผ้ากฐินเรือสังเค็ด หรือสะล้า สังเค็ด คือเรือนจำลองจั่วหลังเล็กๆเป็นยานคานหามแห่ผ้ากฐิน สะล้า คือเรือที่ใช้ในการแห่สังเค็ดเป็นประเพณีประจำปีของวัดตลิ่งชันจะมีการแห่องค์กฐิน ในอดีตชาวบ้านจะมาช่วยกันตัดไม้ไผ่เพื่อช่วยกันทำสังเค็ด ประดับตกแต่งให้สวยงาม ทั้งการประดับด้วยดอกไม้นานาชนิดโดยการร้อยพวงมาลัย ประดับด้วยธงทิวที่ทำจากกระดาษแก้วหลากสีเรียกวันนี้ว่า วันร้อยดอกไม้ ต่อมาวันขึ้น 7 ค่ำ เดือน 12 เป็นวันแห่สังเค็ดในอดีตจะเริ่มแห่ตามเวลาที่ชาวบ้านเรียกว่า สายๆ หรือประมาณ 8 โมง ในขบวนแห่เรือสังเค็ดก็จะมีการร้องรำทำเพลงสร้างความสนุกสนาน โดยวงปี่พาทย์บรรเลง และมีนางรำอยู่หัวเรือ แห่เรือสังเค็ดจากท่าน้ำหน้าวัดตลิ่งชัน ขึ้นไปทางเหนือจนถึงวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ หรือวัดพระปรางค์ แล้วย้อนล่องกลับไปทางใต้จนถึงวัดท่าเกย หรือจนสุดเขตหมู่บ้านเพื่อให้ชาวบ้านได้ร่วมทำบุญ เมื่อแห่สังเค็ดกับมาถึงวัดก็จะมีกิจกรรมการละเล่น เช่น การแข่งเรือน้ำ กีฬาพื้นบ้านมวยทะเล แข่งเรือเร็ว และวันขึ้น 8 ค่ำ เดือน 12 ทำการทอดกฐิน และใส่บาตรฉลองกฐินในช่วงเช้า
ชมทัศนียภาพ
พักผ่อน
เรียนรู้ประวัติศาสตร์
เติมเต็มจิตวิญญาณ
สถานที่สักการะ
เดินเท้า
ปั่นจักรยาน
มอเตอร์ไซค์
รถยนต์
สามล้อเครื่อง