โบราณสถานที่โดดเด่น เป็นที่รู้จักอย่างมากหลายของนักท่องเที่ยวหลายสัญชาติ ที่มาเยือนเมืองเก่าสุโขทัย ต้องมาชมพระพุทธรูปพระองค์ใหญ่ "พระอจนะ" อย่างไม่ขาดสาย ด้วยมนต์เสน่ห์แห่งศิลปะ และสถาปัตยกรรมเก่าแก่ที่มีอายุยาวนานหลายศตวรรษ วัดศรีชุม เป็นไฮไลท์อีก 1 วัดที่ต้องห้ามพลาดของเมืองมรดกโลก
วัดศรีชุม เป็นโบราณสถานในเขตอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ นอกกำแพงเมือง เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัยองค์ใหญ่ซึ่งมีนามว่า "พระอจนะ" หรือ "พระพูดได้" ซึ่งมีความเป็นมาว่า เมื่อครั้งสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงยกกองทัพไปปราบกฎที่เมืองสวรรคโลก ได้มีการมาชุมนุมที่วัดศรีชุมก่อน การรบในครั้งนี้เป็นการรบระหว่างคนไทยเราด้วยกัน ทำให้เหล่าทหารไม่มีกำลังใจในการรบ สมเด็จพระนเรศวรมหาราชจึงได้มีการวางแผนสร้างขวัญและกำลังใจให้กับทหารเหล่านั้น โดยการให้ทหารนายหนึ่งปีนบันไดขึ้นไปทางด้านหลังขององค์พระพุทธรูปและพูดให้กำลังใจแก่เหล่าทหาร และด้วยเหตุนี้ที่ทำให้เกิดตำนาน "พระพูดได้" นั่นเอง อีกทั้งวัดศรีชุมแห่งนี้ยังได้มีการจัดพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยาอีกด้วย
ส่วนลักษณะทางสถาปัตยกรรมของวิหารแห่งนี้ สร้างเป็นรูปสี่เหลี่ยมลักษณะคล้ายมณฑป ไม่มีหลังคา เหลือเพียงผนังทั้งสี่ด้าน ผนังแต่ละด้าน ก่ออิฐถือปูนอย่างแน่นหนา ตรงประตูทางเข้าจะมีช่องประตูเล็กๆ ตรงทางขวามือ ภายในช่องกำแพงตามฝาผนังมีภาพเขียนเก่าแก่แต่เลอะเลือนเกือบหมด อายุเกือบ 700 ปี นอกจากนี้แล้วบนเพดานช่องบันไดยังมีแผ่นหินชนวนขนาดใหญ่ แกะสลักลวดลายเรื่อง ชาดกต่างๆ มีจำนวนทั้งหมด 50 ภาพ จุดนี้เองที่ถือได้ว่า เป็นงานจิตรกรรมไทยที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย แต่ปัจจุบันไม่สามารถเปิดให้เข้าชมได้ เพราะตัววัดมีความเก่าและเสื่อมสภาพตามเวลา จึงกลัวเกิดอันตราย แต่พิพิธภัณฑสถานรามคำแหงได้จำลองสถานที่เหมือนข้างในกำแพงของโบสถ์
วัดศรีชุมนั้น สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยพ่อขุนรามคำแหง โดยปรากฏอยู่ในศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ 1 ว่า "เบื้องตีนนอนเมืองสุโขทัยนี้...มีพระอจนะ มีปราสาท" พระประธานในมณฑปจึงมีชื่อว่า "พระอจนะ"
ความน่าสนใจอีกอย่างของวัดศรีชุมคือ เป็นสถานที่พบศิลาจารึกหลักที่สอง พูดถึงความเป็นมาของราชวงศ์พระร่วง และราชวงศ์ผาเมืองและการตั้งเมืองสุโขทัย ซึ่งเป็นหลักฐานสำคัญที่ยืนยันความเป็นของแท้ดั้งเดิมของจารึกหลักที่หนึ่ง เพราะมีหลายคนสงสัยว่า จารึกหลักหนึ่งเป็นของปลอมหรือไม่
ด้วยมนต์เสน่ห์แห่งศิลปะ และสถาปัตยกรรมเก่าแก่ พร้อมด้วยองค์ "พระอจนะ" ที่เป็นเอกลักษณ์สำคัญของวัดศรีชุม การได้มาเยี่ยมชม ทำให้เราได้รู้เรื่องราวของประวัติศาสตร์ เพราะนอกจากจะได้เห็นสถานที่จริงแล้ว ยังได้สัมผัสบรรยากาศในสถานที่นั้นๆ ด้วย
วัดศรีชุม เป็นโบราณสถานในเขตอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ นอกกำแพงเมือง เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัยองค์ใหญ่ซึ่งมีนามว่า "พระอจนะ" หรือ "พระพูดได้" ซึ่งมีความเป็นมาว่า เมื่อครั้งสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงยกกองทัพไปปราบกฎที่เมืองสวรรคโลก ได้มีการมาชุมนุมที่วัดศรีชุมก่อน การรบในครั้งนี้เป็นการรบระหว่างคนไทยเราด้วยกัน ทำให้เหล่าทหารไม่มีกำลังใจในการรบ สมเด็จพระนเรศวรมหาราชจึงได้มีการวางแผนสร้างขวัญและกำลังใจให้กับทหารเหล่านั้น โดยการให้ทหารนายหนึ่งปีนบันไดขึ้นไปทางด้านหลังขององค์พระพุทธรูปและพูดให้กำลังใจแก่เหล่าทหาร และด้วยเหตุนี้ที่ทำให้เกิดตำนาน "พระพูดได้" นั่นเอง อีกทั้งวัดศรีชุมแห่งนี้ยังได้มีการจัดพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยาอีกด้วย
ส่วนลักษณะทางสถาปัตยกรรมของวิหารแห่งนี้ สร้างเป็นรูปสี่เหลี่ยมลักษณะคล้ายมณฑป ไม่มีหลังคา เหลือเพียงผนังทั้งสี่ด้าน ผนังแต่ละด้าน ก่ออิฐถือปูนอย่างแน่นหนา ตรงประตูทางเข้าจะมีช่องประตูเล็กๆ ตรงทางขวามือ ภายในช่องกำแพงตามฝาผนังมีภาพเขียนเก่าแก่แต่เลอะเลือนเกือบหมด อายุเกือบ 700 ปี นอกจากนี้แล้วบนเพดานช่องบันไดยังมีแผ่นหินชนวนขนาดใหญ่ แกะสลักลวดลายเรื่อง ชาดกต่างๆ มีจำนวนทั้งหมด 50 ภาพ จุดนี้เองที่ถือได้ว่า เป็นงานจิตรกรรมไทยที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย แต่ปัจจุบันไม่สามารถเปิดให้เข้าชมได้ เพราะตัววัดมีความเก่าและเสื่อมสภาพตามเวลา จึงกลัวเกิดอันตราย แต่พิพิธภัณฑสถานรามคำแหงได้จำลองสถานที่เหมือนข้างในกำแพงของโบสถ์
วัดศรีชุมนั้น สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยพ่อขุนรามคำแหง โดยปรากฏอยู่ในศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ 1 ว่า "เบื้องตีนนอนเมืองสุโขทัยนี้...มีพระอจนะ มีปราสาท" พระประธานในมณฑปจึงมีชื่อว่า "พระอจนะ"
ความน่าสนใจอีกอย่างของวัดศรีชุมคือ เป็นสถานที่พบศิลาจารึกหลักที่สอง พูดถึงความเป็นมาของราชวงศ์พระร่วง และราชวงศ์ผาเมืองและการตั้งเมืองสุโขทัย ซึ่งเป็นหลักฐานสำคัญที่ยืนยันความเป็นของแท้ดั้งเดิมของจารึกหลักที่หนึ่ง เพราะมีหลายคนสงสัยว่า จารึกหลักหนึ่งเป็นของปลอมหรือไม่
ด้วยมนต์เสน่ห์แห่งศิลปะ และสถาปัตยกรรมเก่าแก่ พร้อมด้วยองค์ "พระอจนะ" ที่เป็นเอกลักษณ์สำคัญของวัดศรีชุม การได้มาเยี่ยมชม ทำให้เราได้รู้เรื่องราวของประวัติศาสตร์ เพราะนอกจากจะได้เห็นสถานที่จริงแล้ว ยังได้สัมผัสบรรยากาศในสถานที่นั้นๆ ด้วย
ข้อมูลติดต่อ
ชื่อผู้ติดต่อ : อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย
ที่อยู่ : อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ต.เมืองเก่า อ.เมืองสุโขทัย จ.สุโขทัย 64210
เบอร์โทรศัพท์ :
พิกัด : 17.02689, 99.69314
Facebook :
ชื่อผู้ติดต่อ :
อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย
ที่อยู่ :
อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ต.เมืองเก่า อ.เมืองสุโขทัย จ.สุโขทัย 64210
เบอร์โทรศัพท์ :
พิกัด :
17.02689, 99.69314
Facebook :
ข้อมูลทั่วไป
วันทำการ : ทุกวัน
เวลาทำการ : แนะนำให้เยี่ยมชมก่อนเวลา 15.00 น.
ค่าเข้าชม : คนไทย 20 บาท/คน
ต่างชาติ 100 บาท/คน
ค่าเช่าพาหนะ : รถจักรยาน 30 บาท/วัน (สามารถเช่าได้ ที่ด้านหน้าอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย)
ค่าบริการ รถจักรยานยนต์ 200-250 บาท (ราคาเช่าต่อวัน)
รถสามล้อเครื่อง 150-200 บาท (ราคาโดยประมาณ) จอดบริเวณด้านหน้าประตูอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย)
หมายเหตุ ร้านเช่ารถ อยู่ตรงข้ามพิพิธภัณฑสถานรามคำแหง บริเวณที่ด้านหน้าอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย
วันทำการ :
ทุกวัน
เวลาทำการ :
แนะนำให้เยี่ยมชมก่อนเวลา 15.00 น.
ค่าเข้าชม :
ค่าเช่าพาหนะ :
หมายเหตุ ร้านเช่ารถ อยู่ตรงข้ามพิพิธภัณฑสถานรามคำแหง บริเวณที่ด้านหน้าอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย
สัญลักษณ์
แรงจูงใจ :
ประเภทของสถานที่
การเดินทาง
Touch Point
กิจกรรม
แรงจูงใจ :
ประเภทของสถานที่
การเดินทาง
Touch Point
กิจกรรม
แนะนำการเดินทาง
วัดศรีชุม ตั้งนอกเขตอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย หากเดินทางมาจากเขตเทศบาลเมืองสุโขทัย มายังอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย จะต้องเดินทางด้วย รถจักรยาน , รถจักรยานยนต์ , รถยนต์ , รถคอกหมู และรถสามล้อเครื่อง มีระยะทางห่าง 12.9 กิโลเมตร
วิธีการเดินทาง
ระยะทาง
ระยะเวลา
หมายเหตุ
เดินเท้า
12.9 กม
2.30-2.50 ชั่วโมง
ไม่แนะนำ
รถจักรยาน
12.9 กม
20-30 นาที
-
รถมอเตอร์ไซค์
12.9 กม
15-20 นาที
-
รถยนต์
12.9 กม
10-15 นาทีี
-
รถคอกหมู
12.9 กม
-
ตามข้อตกลง
รถสามล้อเครื่อง
12.9 กม
ตามข้อตกลง
อื่นๆ (รถราง)
-
-
-
วิธีการเดินทาง
จากประตูทางเข้าอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยเดินทางไป วัดศรีชุม ซึ่งอยู่ภายนอกอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย สามารถเที่ยวชมภายในด้วยการ เดินเท้า, ปั่นจักรยาน รถจักรยานยนต์ , รถยนต์ และรถสามล้อเครื่องเท่านั้น โดยวัดระยะทางจากประตูทางเข้าได้เป็นระยะทาง 2.8 กิโลเมตร
วิธีการเดินทาง
ระยะทาง
ระยะเวลา
หมายเหตุ
เดินเท้า
2.8 กม.
35-50 นาที
ไม่แนะนำ
รถจักรยาน
2.8 กม.
30-40 นาที
-
รถมอเตอร์ไซค์
2.8 กม.
15-20 นาที
-
รถยนต์
2.8 กม.
8-10 นาที
-
รถคอกหมู
-
-
-
รถสามล้อเครื่อง
2.8 เมตร
15-20 นาที
ตามข้อตกลง
อื่นๆ (รถราง)
-
-
-