หอพระพุทธสิริมารวิชัย
พระผู้ชนะมารด้วยสิริ
(สถานที่สักการะ, เมืองเก่าสุโขทัย)
พระพุทธสิริมารวิชัย เป็นพระพุทธรูปโบราณ หล่อด้วยโลหะ ขนาดใหญ่ องค์สุดท้ายที่ยังประดิษฐานอยู่ในเขตเมืองโบราณสุโขทัย ตามประวัติกล่าวว่าเดิมประดิษฐานอยู่ในวัดใหม่ ด้านหน้าอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ก่อนที่พระราชประสิทธิคุณ (ทิม ยสทินฺโน) อดีตเจ้าคณะจังหวัดสุโขทัย อดีตเจ้าอาวาสวัดราชธานี จะอัญเชิญไปประดิษฐานในวิหารวัดราชธานี ในตัวเมืองสุโขทัย ชาวบ้านเรียกกันว่าหลวงพ่องาม เพราะมีพุทธลักษณะงดงามอย่างยิ่ง
ปี พ.ศ.2511 เกิดเหตุไฟไหม้ใหญ่ในตลาดสุโขทัย ไฟลามมาถึงวัดราชธานี หลวงพ่องามได้รับความเสียหาย หลุดออกเป็นชิ้นๆและบางชิ้นละลายหายไปกับเปลวไฟ พระราชประสิทธิคุณจึงมอบชิ้นส่วนพระพุทธรูปให้กรมศิลปากร ส่วนพระเศียรเชิญไปประดิษฐานให้ประชาชนได้ชมที่ชั้น 2 พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง จนกระทั่งปี พ.ศ. 2535 ธนาคารไทยพาณิชย์ ร่วมกับกรมศิลปากร ซ่อมแซมพระพุทธรูปจนกลับมางดงามดังเดิม เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในโอกาสเจริญพระชนมพรรษาครบ 5 รอบ และได้พระราชทานนามพระพุทธรูปว่า "พระพุทธสิริมารวิชัย" หมายถึง "พระพุทธเจ้าผู้ชนะมารด้วยสิริ"
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินทางทรงเบิกพระเนตรและวางศิลาฤกษ์หอพระพุทธสิริมารวิชัยเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2535 นับเป็นการเสด็จพระราชดำเนินเมืองสุโขทัยเป็นครั้งสุดท้ายของในหลวงรัชกาลที่ 9
หอพระพุทธสิริมารวิชัยออกแบบโดยนาวาอากาศเอกอาวุธ เงินชูกลิ่น อดีตอธิบดีกรมศิลปากร สร้างด้วยสถาปัตยกรรมแบบสมัยสุโขทัย ตกแต่งด้วยสังคโลก ภายในมีจิตรกรรมฝาผนังเล่าเรื่องพุทธประวัติ ประวัติศาสตร์สุโขทัย และประวัติพระพุทธสิริมารวิชัย นักท่องเที่ยวไม่ควรพลาดชม
ปี พ.ศ.2511 เกิดเหตุไฟไหม้ใหญ่ในตลาดสุโขทัย ไฟลามมาถึงวัดราชธานี หลวงพ่องามได้รับความเสียหาย หลุดออกเป็นชิ้นๆและบางชิ้นละลายหายไปกับเปลวไฟ พระราชประสิทธิคุณจึงมอบชิ้นส่วนพระพุทธรูปให้กรมศิลปากร ส่วนพระเศียรเชิญไปประดิษฐานให้ประชาชนได้ชมที่ชั้น 2 พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง จนกระทั่งปี พ.ศ. 2535 ธนาคารไทยพาณิชย์ ร่วมกับกรมศิลปากร ซ่อมแซมพระพุทธรูปจนกลับมางดงามดังเดิม เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในโอกาสเจริญพระชนมพรรษาครบ 5 รอบ และได้พระราชทานนามพระพุทธรูปว่า "พระพุทธสิริมารวิชัย" หมายถึง "พระพุทธเจ้าผู้ชนะมารด้วยสิริ"
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินทางทรงเบิกพระเนตรและวางศิลาฤกษ์หอพระพุทธสิริมารวิชัยเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2535 นับเป็นการเสด็จพระราชดำเนินเมืองสุโขทัยเป็นครั้งสุดท้ายของในหลวงรัชกาลที่ 9
หอพระพุทธสิริมารวิชัยออกแบบโดยนาวาอากาศเอกอาวุธ เงินชูกลิ่น อดีตอธิบดีกรมศิลปากร สร้างด้วยสถาปัตยกรรมแบบสมัยสุโขทัย ตกแต่งด้วยสังคโลก ภายในมีจิตรกรรมฝาผนังเล่าเรื่องพุทธประวัติ ประวัติศาสตร์สุโขทัย และประวัติพระพุทธสิริมารวิชัย นักท่องเที่ยวไม่ควรพลาดชม
ข้อมูลติดต่อ
ชื่อผู้ติดต่อ : อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย
ที่อยู่ : อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ต.เมืองเก่า อ.เมืองสุโขทัย จ.สุโขทัย 64210
เบอร์โทรศัพท์ :
พิกัด : 17.02899, 99.70315
Facebook :
ชื่อผู้ติดต่อ :
อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย
ที่อยู่ :
อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ต.เมืองเก่า อ.เมืองสุโขทัย จ.สุโขทัย 64210
เบอร์โทรศัพท์ :
พิกัด :
17.02899, 99.70315
Facebook :
ข้อมูลทั่วไป
วันทำการ : ทุกวัน
เวลาทำการ : แนะนำให้เยี่ยมชมก่อนเวลา 15.00 น. (เส้นทางเปลี่ยว และอันตราย)
ค่าเข้าชม : -
ค่าเช่าพาหนะ : รถจักรยาน 30 บาท/วัน (สามารถเช่าได้ ที่ด้านหน้าอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย)
รถจักรยานยนต์ 200-250 บาท/วัน
รถสามล้อเครื่อง 150-200 บาท (ราคาโดยประมาณ) จอดบริเวณด้านหน้าประตูอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย
หมายเหตุ ร้านเช่ารถ อยู่ตรงข้ามพิพิธภัณฑสถานรามคำแหง บริเวณที่ด้านหน้าอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย
วันทำการ :
ทุกวัน
เวลาทำการ :
แนะนำให้เยี่ยมชมก่อนเวลา 15.00 น. (เส้นทางเปลี่ยว และอันตราย)
ค่าเข้าชม :
-
ค่าเช่าพาหนะ :
หมายเหตุ ร้านเช่ารถ อยู่ตรงข้ามพิพิธภัณฑสถานรามคำแหง บริเวณที่ด้านหน้าอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย
สัญลักษณ์
แรงจูงใจ :
ประเภทของสถานที่
การเดินทาง
สิ่งอำนวยความสะดวก
กิจกรรม
แรงจูงใจ :
ประเภทของสถานที่
การเดินทาง
สิ่งอำนวยความสะดวก
กิจกรรม
แนะนำการเดินทาง
อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ตั้งในเขตตำบลเมืองเก่า หากเดินทางมาจากเขตเทศบาลเมืองสุโขทัย จะต้องเดินทางด้วย รถจักรยาน , รถจักรยานยนต์ , รถยนต์ , รถคอกหมู และรถสามล้อเครื่อง มีระยะทางห่าง 12.9 กิโลเมตร
วิธีการเดินทาง
ระยะทาง
ระยะเวลา
หมายเหตุ
เดินเท้า
12.9 กม
2.30-2.50 ชั่วโมง
ไม่แนะนำ
รถจักรยาน
12.9 กม
20-30 นาที
-
รถมอเตอร์ไซค์
12.9 กม
15-20 นาที
-
รถยนต์
12.9 กม
10-15 นาทีี
-
รถคอกหมู
12.9 กม
-
ตามข้อตกลง
รถสามล้อเครื่อง
12.9 กม
ตามข้อตกลง
อื่นๆ (รถราง)
-
-
-
วิธีการเดินทาง
จากประตูทางเข้าอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยเดินทางไป หอพระพุทธศิริมารวิชัย ซึ่งอยู่ภายนอกอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย สามารถเที่ยวชมภายในด้วยการ ปั่นจักรยาน, รถจักรยานยนต์, รถสามล้อเครื่อง และรถยนต์เท่านั้น โดยวัดระยะทางจากประตูทางเข้าได้เป็นระยะทาง 1.5 กิโลเมตร
วิธีการเดินทาง
ระยะทาง
ระยะเวลา
หมายเหตุ
เดินเท้า
1.5 กม.
20-30 นาที
-
รถจักรยาน
1.5 กม.
15-20 นาที
-
รถมอเตอร์ไซค์
1.5 กม.
10-15 นาที
-
รถยนต์
1.5 กม.
5-10 นาที
-
รถคอกหมู
-
-
-
รถสามล้อเครื่อง
1.5 กม.
15-20 นาที
ตามข้อตกลง
อื่นๆ (รถราง)
-
-
-