อนุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช
มหาราชพระองค์แรกของสยามประเทศ
(สถานที่สักการะ, เมืองเก่าสุโขทัย)
ศิลาจารึกกล่าวว่าพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ประชาสามารถทั้งทางด้านการทหาร อักษรศาสตร์ และการเมืองการปกครอง ทรงชนช้างชนะขุนสามชนเจ้าเมืองฉอดตั้งแต่พระชนมายุได้ 19 ปี เมื่อครองราชสมบัติแล้วทรงประดิษฐ์ลายสือไทขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 1826 ในรัชกาลของพระองค์แผ่นดินสุโขทัยกว้างใหญ่ไพศาลผู้คนมีความสุข ชาวสุโขทัยล้วนเคารพเทิดทูนพระองค์ท่านมาจนกระทั่งปัจจุบัน จึงพร้อมใจกันสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์ขึ้นในเมืองโบราณสุโขทัย
พระบรมราชานุสาวรีย์นี้มีขนาด 2 เท่าพระองค์จริง เฉพาะพระองค์สูง 3 เมตร หล่อด้วยโลหะทองเหลืองผสมทองแดงรมดำ ขนาดน้ำหนักประมาณ 3 ตัน พระพักตร์อย่างพระพุทธรูปสมัยสุโขทัยตอนต้น ถ่ายทอดความรู้สึกที่แสดงว่าพ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงมีน้ำพระทัยเมตตากรุณา ยุติธรรม และเฉียบขาด เครื่องฉลองพระองค์และศิราภรณ์ยึดถือลักษณะจากเทวรูปของศิลปสมัยสุโขทัย ประทับนั่งห้อยพระบาทบนพระแท่นมนังศิลาบาตร พระหัตถ์ขวาทรงถือสมุดไทยอันหมายถึงสรรพวิทยาการต่างๆ ที่พระองค์ทรงรอบรู้ พระหัตถ์ซ้ายแสดงลักษณะทรงสั่งสอนพสกนิกรหรือขณะออกว่าราชการ มีพานวางพระขรรค์ไว้ข้างๆ ปั้นโดยนายสนั่น ศิลากรณ์ นายช่างเอก กรมศิลปากร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 เสด็จมาทรงเททองหล่อพระบรมรูปที่กรมศิลปากร กรุงเทพมหานคร และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 10 เมื่อยังทรงเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมารเสด็จแทนพระองค์มาทรงทำพิธีเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2526
ด้านหน้าพระบรมราชานุสาวรีย์มีกระดิ่งแขวนไว้ เพื่อจำลองบรรยากาศที่จารึกไว้ในศิลาจารึกว่า ชาวเมืองที่มีเรื่องทุกข์ร้อนจะมาสั่นกระดิ่ง พ่อขุนรามคำแหงจะเสด็จมาตรวจสอบความทุกข์ร้อนนั้นด้วยพระองค์เองเพื่อพระราชทานความช่วยเหลือ
พระบรมราชานุสาวรีย์นี้มีขนาด 2 เท่าพระองค์จริง เฉพาะพระองค์สูง 3 เมตร หล่อด้วยโลหะทองเหลืองผสมทองแดงรมดำ ขนาดน้ำหนักประมาณ 3 ตัน พระพักตร์อย่างพระพุทธรูปสมัยสุโขทัยตอนต้น ถ่ายทอดความรู้สึกที่แสดงว่าพ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงมีน้ำพระทัยเมตตากรุณา ยุติธรรม และเฉียบขาด เครื่องฉลองพระองค์และศิราภรณ์ยึดถือลักษณะจากเทวรูปของศิลปสมัยสุโขทัย ประทับนั่งห้อยพระบาทบนพระแท่นมนังศิลาบาตร พระหัตถ์ขวาทรงถือสมุดไทยอันหมายถึงสรรพวิทยาการต่างๆ ที่พระองค์ทรงรอบรู้ พระหัตถ์ซ้ายแสดงลักษณะทรงสั่งสอนพสกนิกรหรือขณะออกว่าราชการ มีพานวางพระขรรค์ไว้ข้างๆ ปั้นโดยนายสนั่น ศิลากรณ์ นายช่างเอก กรมศิลปากร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 เสด็จมาทรงเททองหล่อพระบรมรูปที่กรมศิลปากร กรุงเทพมหานคร และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 10 เมื่อยังทรงเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมารเสด็จแทนพระองค์มาทรงทำพิธีเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2526
ด้านหน้าพระบรมราชานุสาวรีย์มีกระดิ่งแขวนไว้ เพื่อจำลองบรรยากาศที่จารึกไว้ในศิลาจารึกว่า ชาวเมืองที่มีเรื่องทุกข์ร้อนจะมาสั่นกระดิ่ง พ่อขุนรามคำแหงจะเสด็จมาตรวจสอบความทุกข์ร้อนนั้นด้วยพระองค์เองเพื่อพระราชทานความช่วยเหลือ
ข้อมูลติดต่อ
ชื่อผู้ติดต่อ : อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย
ที่อยู่ : อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ต.เมืองเก่า อ.เมืองสุโขทัย จ.สุโขทัย 64210
เบอร์โทรศัพท์ :
พิกัด : 17.02001, 99.70465
Facebook :
ชื่อผู้ติดต่อ :
อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย
ที่อยู่ :
อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ต.เมืองเก่า อ.เมืองสุโขทัย จ.สุโขทัย 64210
เบอร์โทรศัพท์ :
พิกัด :
17.02001, 99.70465
Facebook :
ข้อมูลทั่วไป
วันทำการ : ทุกวัน
เวลาทำการ : จันทร์–ศุกร์ เวลา 06.00-17.00 น.
เสาร์–อาทิตย์ เวลา 06.00-21.00 น.
ค่าเข้าชม : คนไทย 20 บาท/คน
ต่างชาติ 100 บาท/คน
ค่านำรถจักรยานเข้า 10 บาท (ทางอุทยานฯ เก็บค่านำรถจักรยานเข้าเพิ่ม 10 บาท/คัน)
ค่าเช่าพาหนะ : รถจักรยาน 30 บาท/วัน (สามารถเช่าได้ ที่ด้านหน้าอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย)
รถสามล้อเครื่อง 150-200 บาท (ราคาโดยประมาณ) จอดบริเวณด้านหน้าประตูอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย
รถราง คนไทย 20-30 บาท, ต่างชาติ 50-100 บาท จอดบริเวณจุดจอดรถรางเป็นระยะทางประมาณ 650 เมตร จากทางเข้าประตูอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย
หมายเหตุ ร้านเช่ารถ อยู่ตรงข้ามพิพิธภัณฑสถานรามคำแหง บริเวณที่ด้านหน้าอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย
วันทำการ :
ทุกวัน
เวลาทำการ :
จันทร์–ศุกร์ เวลา 06.00-17.00 น.
เสาร์–อาทิตย์ เวลา 06.00-21.00 น.
ค่าเข้าชม :
ค่าเช่าพาหนะ :
หมายเหตุ ร้านเช่ารถ อยู่ตรงข้ามพิพิธภัณฑสถานรามคำแหง บริเวณที่ด้านหน้าอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย
สัญลักษณ์
แรงจูงใจ :
ประเภทของสถานที่
การเดินทาง
สิ่งอำนวยความสะดวก
Touch Point
กิจกรรม
แรงจูงใจ :
ประเภทของสถานที่
การเดินทาง
สิ่งอำนวยความสะดวก
Touch Point
กิจกรรม
แนะนำการเดินทาง
อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ตั้งในเขตตำบลเมืองเก่า หากเดินทางมาจากเขตเทศบาลเมืองสุโขทัย จะต้องเดินทางด้วย รถจักรยาน , รถจักรยานยนต์ , รถยนต์ , รถคอกหมู และรถสามล้อเครื่อง มีระยะทางห่าง 12.9 กิโลเมตร
วิธีการเดินทาง
ระยะทาง
ระยะเวลา
หมายเหตุ
เดินเท้า
12.9 กม
2.30-2.50 ชั่วโมง
ไม่แนะนำ
รถจักรยาน
12.9 กม
20-30 นาที
-
รถมอเตอร์ไซค์
12.9 กม
15-20 นาที
-
รถยนต์
12.9 กม
10-15 นาทีี
-
รถคอกหมู
12.9 กม
-
ตามข้อตกลง
รถสามล้อเครื่อง
12.9 กม
ตามข้อตกลง
อื่นๆ (รถราง)
-
-
-
วิธีการเดินทาง
จากประตูทางเข้าอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยเดินทางไป อนุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ซึ่งอยู่ภายในอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย สามารถเที่ยวชมภายในด้วยการ เดินเท้า, ปั่นจักรยาน, และรถสามล้อเครื่องเท่านั้น โดยวัดระยะทางจากประตูทางเข้าได้เป็นระยะทาง 350 เมตร
วิธีการเดินทาง
ระยะทาง
ระยะเวลา
หมายเหตุ
เดินเท้า
350 เมตร
4-8 นาที
-
รถจักรยาน
350 เมตร
2-5 นาที
-
รถมอเตอร์ไซค์
-
-
-
รถยนต์
-
-
-
รถคอกหมู
-
-
-
รถสามล้อเครื่อง
350 เมตร
3-5 นาที
ตามข้อตกลง
อื่นๆ (รถราง)
-
-
สามารถซื้อตั๋วและขึ้นรถรางได้ที่จุดจอดรถ