บ้านภูมิปัญญาประดิษฐ์(เครื่องทรงนาฏศิลป์)
(แหล่งศิลปวัฒนธรรม, อ.ศรีสัชนาลัย, จ.สุโขทัย)
ศรีสัชนาลัยเป็นชุมชนที่มีความเจริญและถือเป็นต้นกำเนิดอารยธรรม โดยเฉพาะเครื่องประดับที่มีอัตลักษณ์ คือ เครื่องเงินเครื่องทองลายโบราณที่งดงามละเอียดอ่อนมีชื่อเสียงระดับประเทศ เราได้ค้นพบบ้านหลังน้อยๆ ที่นำฝีมือด้านการทำทองมาพัฒนาฝึกฝน รังสรรค์ให้เกิดชิ้นงานทางด้านนาฏศิลป์ “ช่างทำทอง” ที่มีใจรักทางด้านศิลปะของไทยประกอบกับพรสวรรค์พัฒนาฝีมือฝึกฝนความชำนาญจากการเป็นเพียงลูกจ้างร้านทอง ด้วยแรงบันดาลใจที่ต้องการอนุรักษ์และสืบสานศิลปะแบบไทย ไม่ว่าจะแขนงใดๆ ก็ตาม คุณวุฒิชัย แสนแสง อายุ 53 ปี หมู่ 3 ต.ศรีสัชนาลัยเดิมเคยเป็นช่างทำทอง เริ่มต้นจากไม่มีความรู้เลย อาศัยได้เรียนวิธีการทำทองศรีสัชนาลัยที่เป็นการผลิตชิ้นงานด้วยมือ และมีความละเอียดประณีต ฝึกฝนอยู่นาน 7 ปี บังเอิญมีคนมาชักชวนให้ลองหัดทำเครื่องประดับของชุดการแสดงนาฏศิลป์ เพราะทราบว่าเป็นช่างทำทอง น่าจะนำฝีมือทำทองมาประยุกต์ใช้กับการทำเครื่องประดับนาฏศิลป์ได้ ร้านที่มาติดต่อเป็นร้านเช่าชุดแต่งงาน (ร้านโต้ง) ที่อำเภอสวรรคโลก ทางร้านให้เริ่มทำเครื่องประดับแบบง่าย ๆ เช่น พาหุรัด หรือจี้นาง กำไลตะขาบทองกร (กำไลสวม) ฝีมือในช่วงแรกยังทำได้ไม่ละเอียด ประณีต ต่อมาอาศัยความรู้ที่ได้จากการทำทอง ค่อย ๆ ฝึกฝนและพัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้งานแต่ละชิ้นเริ่มมีความสวยงามมากยิ่งขึ้น
หลังจากรับงานร้านที่อำเภอสวรรคโลกมาทำได้ 2 - 3 ปี บังเอิญพบผู้ใหญ่ใจดีได้มอบอุปกรณ์ที่จะใช้ในการทำเครื่องประดับนาฏศิลป์ให้กับครอบครัวเลยเป็นจุดเปลี่ยนจากการเป็นลูกจ้างร้านทองออกมารับงานทำเครื่องประดับชุดการแสดงนาฏศิลป์ เริ่มเขียนแบบลงบนประเก็น แกะแบบ ขึ้นแบบพ่นสี ประดับพลอย เลื่อม จนถึงผลงานสำเร็จ เมื่อฝีมือพัฒนามากยิ่งขึ้นชิ้นงานที่ได้รับก็เพิ่ม ระดับความยากมากขึ้นเรื่อย ๆ เช่น ทับทรวงประดับ กรองศอหรือนวมนาง ชฎา กระทั่งปัจจุบันนี้ รับงานทั่วประเทศ และชิ้นงานที่ผลิตก็มีตั้งแต่ศีรษะจรดปลายเท้า ขอเพียงแต่มีภาพที่ต้องการให้ทำมาให้ก็จะสามารถเขียนแบบและผลิตออกมาเป็นชิ้นงานได้ใกล้เคียงมากที่สุด ถ้าให้ประเมินคุณภาพความใกล้เคียงของชิ้นงานไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80 โดยอาชีพที่ทำตอนนี้สามารถสร้างรายได้ให้กับครอบครัวและยังมีการกระจายงาน กระจายรายได้ให้กับคนในชุมชนผู้สูงอายุประมาณ 5 - 6 คน ที่รับงานตีแบบขึ้นแบบพ่นสี นอกเหนือ จะทำให้คนในชุมชนมีรายได้เพิ่มจากรายได้หลักแช้ว คุณวุฒิชัยรู้สึกภาคภูมิใจที่มีส่วนช่วยให้วงการนาฏศิลป์มีงานฝีมือดี ๆ จากครอบครัวเราไปใช้ ในการแสดงต่าง ๆ เพื่อสืบสานศิลปวัฒนธรรมชาติไทยได้ต่อไปตลอดจนชาวต่างชาติได้รับรู้
คุณวุฒิชัยเล่าว่า มีทีมที่เข้าประกวดชิงช้าสวรรค์มาสั่งผลงานของตนไปใช้ในการเข้าร่วมประกวดด้วยและชิ้นงานแต่ละชิ้นไม่ได้จำหน่ายเฉพาะภาคเหนือตอนล่างเท่านั้น ไปไกลใต้สุดคือหาดใหญ่และเหนือสุดคือเชียงราย แต่ที่รับไปประจำคือ พาหุรัด ทุกคนพยายามสร้างชิ้นงานที่ดีมีคุณภาพ
หลังจากรับงานร้านที่อำเภอสวรรคโลกมาทำได้ 2 - 3 ปี บังเอิญพบผู้ใหญ่ใจดีได้มอบอุปกรณ์ที่จะใช้ในการทำเครื่องประดับนาฏศิลป์ให้กับครอบครัวเลยเป็นจุดเปลี่ยนจากการเป็นลูกจ้างร้านทองออกมารับงานทำเครื่องประดับชุดการแสดงนาฏศิลป์ เริ่มเขียนแบบลงบนประเก็น แกะแบบ ขึ้นแบบพ่นสี ประดับพลอย เลื่อม จนถึงผลงานสำเร็จ เมื่อฝีมือพัฒนามากยิ่งขึ้นชิ้นงานที่ได้รับก็เพิ่ม ระดับความยากมากขึ้นเรื่อย ๆ เช่น ทับทรวงประดับ กรองศอหรือนวมนาง ชฎา กระทั่งปัจจุบันนี้ รับงานทั่วประเทศ และชิ้นงานที่ผลิตก็มีตั้งแต่ศีรษะจรดปลายเท้า ขอเพียงแต่มีภาพที่ต้องการให้ทำมาให้ก็จะสามารถเขียนแบบและผลิตออกมาเป็นชิ้นงานได้ใกล้เคียงมากที่สุด ถ้าให้ประเมินคุณภาพความใกล้เคียงของชิ้นงานไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80 โดยอาชีพที่ทำตอนนี้สามารถสร้างรายได้ให้กับครอบครัวและยังมีการกระจายงาน กระจายรายได้ให้กับคนในชุมชนผู้สูงอายุประมาณ 5 - 6 คน ที่รับงานตีแบบขึ้นแบบพ่นสี นอกเหนือ จะทำให้คนในชุมชนมีรายได้เพิ่มจากรายได้หลักแช้ว คุณวุฒิชัยรู้สึกภาคภูมิใจที่มีส่วนช่วยให้วงการนาฏศิลป์มีงานฝีมือดี ๆ จากครอบครัวเราไปใช้ ในการแสดงต่าง ๆ เพื่อสืบสานศิลปวัฒนธรรมชาติไทยได้ต่อไปตลอดจนชาวต่างชาติได้รับรู้
คุณวุฒิชัยเล่าว่า มีทีมที่เข้าประกวดชิงช้าสวรรค์มาสั่งผลงานของตนไปใช้ในการเข้าร่วมประกวดด้วยและชิ้นงานแต่ละชิ้นไม่ได้จำหน่ายเฉพาะภาคเหนือตอนล่างเท่านั้น ไปไกลใต้สุดคือหาดใหญ่และเหนือสุดคือเชียงราย แต่ที่รับไปประจำคือ พาหุรัด ทุกคนพยายามสร้างชิ้นงานที่ดีมีคุณภาพ
ชมทัศนียภาพ
พักผ่อน
ร้านของฝาก/ของที่ระลึก
ปั่นจักรยาน
มอเตอร์ไซค์
รถยนต์
ที่จอดรถ
กิจกรรมแบบเดี่ยว
กิจกรรมแบบกลุ่ม
เพื่อความบันเทิง
กิจกรรมในร่ม