Top

กำแพงเมืองและประตูเมือง

(อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย, อ.ศรีสัชนาลัย, จ.สุโขทัย)
เมืองศรีสัชนาลัยเป้นเมืองที่มีพัฒนาการมาโดยตลอด นับตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ลพบุรี สุโขทัย อยุธยา โดยมีการย้ายศูนย์กลางของเมือง จากบริเวณที่เป็นวัดชมชื่นและวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ราชวรวิหาร มาสู่บริเวณเขาพนมเพลิง

หากเดินทางไปยังวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ราชวรวิหาร เราจะยังคงเห็นแนวของกำแพงเมืองบริเวณริมแม่น้ำยมชัดเจน แนวกำแพงศิลาแลงนี้เชื่อว่าเป็นกำแพงเมืองเชลียง ซึ่งเป็นเมืองรุ่นเก่า ก่อนผู้คนจะย้ายเมืองไปยังเขาพนมเพลิง

เมืองสร้างเมืองใหม่โดยรอบเขาพนมเพลิงแล้ว จึงสร้างกำแพงเมืองใหม่ขึ้นมา มีผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีคูน้ำและคันดินล้อมรอบ และก่อสร้างอย่างมั่นคงแข็งแรง มี ป้อมปืน ประตูเมือง บนกำแพงเมืองเชิงเทิน ยังมองเห็นรูสำหรับสังเกตการณ์ และสอดปืนสำหรับทำศึกอีกด้วย กำแพงเมืองด้านตะวันออกเฉียงเหนือขนานกับลำน้ำยม ซึ่งมีแก่งหลวงขวางกลางลำน้ำไว้ ยากต่อการเข้าประชิดกำแพงเมือง กำแพงด้านนี้ยาว ๘๐๐ เมตร กว้างประมาณ ๒.๒๐ เมตร ส่วนแนวกำแพงด้านตะวันตกเฉียงใต้ยาว ๗๘๐ เมตร สูง ๕.๑๐ เมตร หนา ๒.๒๐ เมตร ส่วนด้านตะวันตกเฉียงเหนือยาวประมาณ ๑,๐๗๐ เมตร เป็นเส้นตรงมากกว่าด้านอื่นๆ จากการสำรวจของกรมศิลปากรพบว่าแนวกำแพงศิลาแลงที่เห็นอยู่นี้เป็นเพียงกำแพงเมืองชั้นใน ยังมีคันดินและคูน้ำเป็นกำแพงห่างออกไปอีก ๒ ชั้น ลักษณะเช่นนี้ทำให้เมืองศรีสัชนาลัยเป็นเมืองที่มีความมั่นคง ปลอดภัยอย่างยิ่ง

ตามแนวกำแพงยังมีประตูเมืองจำนวน ๖ ประตู คือประตูดอนแหลม ประตูรามณรงค์ ประตูสะพานจันทร์ ประตูชนะสงคราม ประตูไชยพฤกษ์ ประตูเตาหม้อพร้อมกับป้อมที่ล้อมรอบด้วยคูน้ำ พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาเล่าว่า สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงตีเมืองนี้ด้วยความยากลำบาก เพราะชัยภูมิที่ดี และการป้องกันเมืองที่เข้มแข็ง แต่ในที่สุดก็ทรงได้รับชัยชนะสามารถตีเมืองได้สำเร็จด้านประตูดอนแหลม และจับเจ้าเมืองสำเร็จโทษที่ป้อมประตูดังกล่าว ประตูเตาหม้อ
ประตูเตาหม้ออยู่ระหว่างกำแพงเมืองชั้นในด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือใกล้กับมุมที่ต่อจากกำแพงเมืองด้านตะวันออก เป็นประตูขนาดใหญ่ก่อด้วยศิลาแลง ภายในประตูทั้งสองฟากมีการเว้นช่องซึ่งอาจเป็นช่องสำหรับทหาร หรือเป็นช่องที่ลงเขื่อนไม้เมื่อเวลามีศึกสงคราม สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงอธิบายความเพิ่มเติมไว้ในหนังสือเที่ยวเมืองพระร่วงว่า "ที่เรียกว่าประตูหม้อสันนิษฐานว่าประตูหม้อเป็นทางเดินไปตำบลที่ตั้งเตาหม้อคือเครื่องทำสังคโลก ถ้าเช่นนั้นก็จะอยู่ตอนริมน้ำทางด้านเหนือ"

ประตูดอนแหลม
ประตูดอนแหลมเป็นประตูเมืองทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ รูปทรงของประตูไม่เหลือสภาพให้เห็นเนื่องจากถูกไถปรับเป็นถนนเข้าสู่ตัว เมืองศรีสัชนาลัย ถัดออกมามีป้อมห้าเหลี่ยมสร้างบนกำแพงเมือง พงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับสมเด็จพระวันรัตน์กล่าวถึงตอนที่สมเด็จพระนเรศวร ยกทัพมาตีเมืองสวรรคโลก (ศรีสัชนาลัย) ตอนหนึ่งว่า "โหราจารย์ยังทูลว่าจะได้ แต่ซึ่งปล้นข้าง ประตูสามเกิดนี้เห็นจะได้ด้วยยาก ถ้าปล้นข้างประตูดอนแหลมไซร้เห็นจะได้โดยง่าย" ส่วนอายุสมัยของประตูนี้ กำหนดไว้ในช่วงก่อนปี พ.ศ.2017

ประตูชัยพฤกษ์
กำแพงชัยพฤกษ์ตั้งอยู่บริเวณมุมช่วงต่อของกำแพงเมืองชั้นในด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ประตูก่อด้วยศิลาแลง มีขนาดเล็ก ลักษณะเป็นการเจาะกำแพงออกไปตรงๆ ไม่พบร่องรอยการย่อมุม

ประตูชนะสงคราม
ตั้งอยู่ระหว่างแนวกำแพงเมืองชั้นในด้านตะวันตกเฉียงใต้ ด้านทิศเหนือของเขาสุวรรณคีรี ซึ่งอยู่คนละฟากเขากับประตูสะพานจันทร์ ประตูเมืองก่อด้วยศิลาแลงมีทางเดินเป็นคัน ดินไปหาตัวป้อมซึ่งเป็นป้อมห้าเหลี่ยม

ประตูรามณรงค์
ประตูด่านแรกสู่ดินแดนแห่งประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย ที่ไม่ว่าใครก็ต้องเจอเป็นอันดับแรกก่อนเข้าอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย
เป็นประตูขนาดใหญ่ก่อด้วยศิลาแลง ฐานประตูรูปบัวคว่ำ กรอบนอกทั้ง 4 มุม เป็นลักษณะย่อมุมไม้สิบสอง ด้านหน้ามีทางเดินปูด้วยลูกรังไปถึงป้อมประตู ซึ่งเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ผนังด้านนอกสุดเป็นการสกัดลงบนชั้นดินดาน รอบตัวป้อมล้อมรอบด้วยคูเมืองและสระน้ำ
จึงสันนิษฐานว่าเป็นทางเข้า-ออกหลักของเมือง และเป็นจุดแรกที่นักท่องเที่ยวต้องเจอก่อนเข้าสู่เมืองประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย

ประตูสะพานจันทร์
ประตูสะพานจันทร์อยู่บริเวณเชิงเขาสุวรรณคีรีฟากทิศใต้ ลักษณะเป็นฐานก่อเรียงตั้งสูงขึ้นแบบเรียบๆ ตัวป้อมใช้แนวหินธรรมชาติก่อเรียงเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า
ประวัติของประตูและป้อมแห่งนี้ปรากฏในพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับพระนพรัตน์ฯ ตอนที่กล่าวถึงสมเด็จพระนเรศวรมหาราชยกทัพเข้าตีเมืองสวรรคโลก และปรากฏในหนังสือเที่ยวเมืองพระร่วง พระราชนิพินธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวเช่นกัน ส่วนอายุของป้อมและประตูนี้ กำหนดไว้ในช่วงก่อนปี พ.ศ. 2017



ข้อมูลติดต่อ
ชื่อผู้ติดต่อ :
อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย
ที่อยู่ :
หมู่ 6 ตำบลศรีสัชนาลัย อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย
เบอร์โทรศัพท์ :
พิกัด :
ประตูเตาหม้อ 17.43806, 99.78663
ประตูดอนแหลม 17.43171, 99.7912
ประตูชัยพฤกษ์ 17.43503, 99.78003
ประตูชนะสงคราม 17.43394, 99.78035
ประตูรามณรงค์ 17.42744, 99.78809
ประตูสะพานจันทร์ 17.43139, 99.78197
Facebook :

ข้อมูลทั่วไป
วันทำการ :
ทุกวัน
เวลาทำการ :
08.00-18.00 น.
ค่าเข้าชม :
li>คนไทย 20 บาท/คน
  • ต่างชาติ 100 บาท/คน
  • ประตูดอนแหลมและประตูเตาหม้อ ไม่เสียค่าใช้จ่ายในการเข้าชม
  • ค่าเช่าพาหนะ :
  • รถจักรยาน 20 บาท/วัน/คัน
  • สามารถเช่ารถจักรยานได้ที่บริเวณด้านหน้าอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย (เช่าได้ถึง 18.00 น.)

    ชมทัศนียภาพ
    พักผ่อน
    เรียนรู้ประวัติศาสตร์
    หาประสบการณ์
    เติมเต็มจิตวิญญาณ
    โบราณสถาน
    เดินเท้า
    ปั่นจักรยาน
    สามล้อเครื่อง
    รถราง
    Information Center
    ที่จอดรถ
    จุดถ่ายภาพ
    ตำนานพระร่วง
    ป้ายแผนที่
    กษัตริย์เสด็จ
    กิจกรรมแบบเดี่ยว
    กิจกรรมแบบกลุ่ม
    เพื่อความรู้์
    กิจกรรมกลางแจ้ง
    แนะนำการเดินทาง
    จากอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยลัยเดินทางไป อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย สามารถเดินทางไปเที่ยวชมด้วยการ รถจักรยานยนต์ , รถยนต์ และรถประจำทางวินทัวร์เท่านั้น โดยวัดระยะทางจากอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยได้เป็นระยะทาง 70.5 กิโลเมตร
    วิธีการเดินทาง
    ระยะทาง
    ระยะเวลา
    หมายเหตุ
    รถมอเตอร์ไซค์
    70.5 กม.
    3-3.30 ชม.
    ไม่แนะนำ
    รถยนต์
    70.5 กม.
    1.25-1.50 ชม.
    -
    รถสองแถว (สุโขทัย-กำแพงเพชร)
    70.5 กม.
    2-2.30 ชม.
    จุดขึ้นรถ

    ประตูเตาหม้อ
    โดยวัดระยะทางจากอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัยได้เป็นระยะทาง 1.8 กิโลเมตร
    วิธีการเดินทาง
    ระยะทาง
    ระยะเวลา
    หมายเหตุ
    เดินเท้า
    1.8 กม.
    22-30 นาที
    -
    รถจักรยาน
    1.8 กม.
    9-11 นาที
    -
    รถมอเตอร์ไซค์
    1.8 กม.
    6-7 นาที
    -
    รถยนต์
    1.8 กม.
    4-6 นาที
    ถนนเส้นเล็กและแคบ
    อื่นๆ (รถราง)
    -
    -
    -

    ประตูดอนแหลม
    โดยวัดระยะทางจากอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัยได้เป็นระยะทาง 900 เมตร
    วิธีการเดินทาง
    ระยะทาง
    ระยะเวลา
    หมายเหตุ
    เดินเท้า
    900 เมตร
    11-13 นาที
    -
    รถจักรยาน
    900 เมตร
    7-9 นาที
    -
    รถมอเตอร์ไซค์
    900 เมตร
    4-6 นาที
    -
    รถยนต์
    900 เมตร
    2-5 นาที
    ถนนเส้นเล็กและแคบ
    อื่นๆ (รถราง)
    -
    -
    -

    ประตูชัยพฤกษ์
    โดยวัดระยะทางจากอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัยได้เป็นระยะทาง 1.64 กิโลเมตร (เขตรถจักรยานเท่านั่น)
    วิธีการเดินทาง
    ระยะทาง
    ระยะเวลา
    หมายเหตุ
    เดินเท้า
    1.64 กม.
    20-35 นาที
    -
    รถจักรยาน
    1.64 กม.
    20-35 นาที
    -
    รถมอเตอร์ไซค์
    -
    -
    -
    รถยนต์
    -
    -
    -
    อื่นๆ (รถราง)
    -
    -
    -

    ประตูรามณรงค์
    โดยวัดระยะทางจากอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัยได้เป็นระยะทาง 180 เมตร (เขตรถจักรยานเท่านั่น)
    วิธีการเดินทาง
    ระยะทาง
    ระยะเวลา
    หมายเหตุ
    เดินเท้า
    180 เมตร
    3-5 นาที
    -
    รถจักรยาน
    180 เมตร
    1-3 นาที
    -
    รถมอเตอร์ไซค์
    -
    -
    -
    รถยนต์
    -
    -
    -
    อื่นๆ (รถราง)
    -
    -
    -

    ประตูชนะสงคราม
    โดยวัดระยะทางจากอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัยได้เป็นระยะทาง 1.50 กิโลเมตร (เขตรถจักรยานเท่านั่น)
    วิธีการเดินทาง
    ระยะทาง
    ระยะเวลา
    หมายเหตุ
    เดินเท้า
    1.50 กม.
    19-34 นาที
    -
    รถจักรยาน
    1.50 กม.
    7-11 นาที
    -
    รถมอเตอร์ไซค์
    -
    -
    -
    รถยนต์
    -
    -
    -
    อื่นๆ (รถราง)
    -
    -
    -

    ประตูสะพานจันทร์
    โดยวัดระยะทางจากอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัยได้เป็นระยะทาง 1.16 กิโลเมตร (เขตรถจักรยานเท่านั่น)
    วิธีการเดินทาง
    ระยะทาง
    ระยะเวลา
    หมายเหตุ
    เดินเท้า
    1.16 กม.
    13-16 นาที
    -
    รถจักรยาน
    1.16 กม.
    6-10 นาที
    -
    รถมอเตอร์ไซค์
    -
    -
    -
    รถยนต์
    -
    -
    -
    อื่นๆ (รถราง)
    -
    -
    -

    จุดสังเกต
    ประตูและกำแพงมืองมีทั้งหมด 6 ประตู คือ
    1. ประตูเตาหม้อ ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย ใกล้กับวัดกุฎีรายติดแม่น้ำยม ที่ปากประตูจะมีศาลเจ้าแม่ละอองสำลี จำลอง อยู่หน้าปากประตู
    2. ประตูดอนแหลม ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้
    3. ประตูชัยพฤกษ์ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย
    4. ประตูชนะสงคราม ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย ใกล้กับประตูชัยพฤกษ์
    5. ประตูรามณรงค์ ตั้งอยู่ประตูทางเข้าอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย
    6. ประตูสะพานจันทร์ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย ใกล้กับวัดขาสุวรรณคีรี

    ที่ตั้ง
    ประตูและกำแพงมืองมีทั้งหมด 6 ประตู คือ
    1. ประตูเตาหม้อ ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย
    2. ประตูดอนแหลม ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใตของอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย ้
    3. ประตูชัยพฤกษ์ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย
    4. ประตูชนะสงคราม ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย
    5. ประตูรามณรงค์ ตั้งอยู่ประตูทางเข้าอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย
    6. ประตูสะพานจันทร์ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย

    แผนที่

    ข้อแนะนำ
  • อากาศค่อนข้างร้อน ควรพกร่ม หรือ หมวก และน้ำดื่ม ระหว่างการเยี่ยมชม
  • แสงแดดจ้า ควรทาโลชั่นกันแดด เพื่อป้องกันผิวไหม้
  • ควรเที่ยวชมก่อนเวลา 15.00 น. เพราะเส้นทางค่อนข้างเปลี่ยว
  • ประตูเมืองและกำแพงเมือง ถือเป็นโบราณสถานที่สำคัญแห่งหนึ่ง นักท่องเที่ยวควรจะศึกษาข้อมูลมาเบื้องต้นเพื่อให้เข้าใจและสามารถซึมซับประวัติศาสตร์ได้อย่างถ่องแท้
  • ควรแต่งกายให้เหมาะสม

  • ข้อควรระวัง
  • หากเดินทางโดยลำพัง ให้ระมัดระวังความปลอดภัย
  • อย่าปีนป่าย โบราณสถาน
  • โปรดปฏิบัติตามคำเตือน



  • สถานที่ท่องเที่ยวใกล้เคียง

    ค้นหาแหล่งท่องเที่ยวใกล้เคียงที่น่าสนใจได้อีกมากมาย

    ย้อนกลับ