วัดนางพญา
ต้นกำเนิด...ทองโบราณศรีสัชนาลัย
(อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย, อ.ศรีสัชนาลัย, จ.สุโขทัย)
ต้นแบบแห่งลวดลายความสวยงามและเป็นแรงบันดาลใจให้ช่างฝีมือท้องถิ่นนำไปพัฒนาเป็นลวดลายที่ปรากฏบนเครื่องประดับทอง และเงินที่รู้จักกันในนาม "ทองโบราณศรีสัชนาลัย" เป็นเป็นวัดใหญ่ที่ยังคงเหลือความสมบูรณ์ศิลปะลายปูนปั้นบนกำแพงให้เราได้ชม
ชื่อของวัดนี้ มีนัยหมายถึงวัดของผู้หญิง หรือวัดที่สร้างให้ผู้หญิง ตำนานเล่าว่าผู้สร้างเป็นเจ้าหญิงจากเมืองจีน ที่เดินทางมาถวายตัวเป็นมเหสีของพระร่วงเจ้า และบ้างก็ว่าชื่อของวัดนี้มีที่มาจากลวดลายปูนปั้นภายในวัดที่งดงามอ่อนช้อย จนทำให้นึกว่าผู้หญิงเป็นผู้สร้างวัด
สถานที่ตั้งของวัดที่ตั้งอยู่เกือบประชิดติดกำแพงเมืองศรีสัชนาลัยด้านทิศตะวันออก ตามแนวแกนเมือง ทำให้เชื่อว่าเป็นวัดที่สร้างขึ้นในยุคหลังๆประจวบกับศิลปกรรมภายในวัด เช่น สถาปัตยกรรมประธานเป็นเจดีย์ทรงระฆังที่มีซุ้มทางเดิมเข้าสู่เจดีย์ด้านทิศตะวันออก และสามารถเดินเข้าสู่ภายในองค์เจดีย์ได้โดย ตรงกลางทำเป็นแกน มีซุ้มพระพุทธรูป ฐานประทักษิณของเจดีย์มีช้างล้อมอยู่โดยรอบ แต่ตัวช้างพังทลายลงเกือบหมดแล้ว ลักษณะเช่นนี้แสดงอิทธิพลศิลปกรรมแบบอยุธยา ด้านหน้าของเจดีย์มีวิหารหลวงซึ่งผนังเจาะเป็นช่องมะหวด ยังหลงเหลือลายปูนปั้นเป็นรูปดอกพุดตานใบเทศ ก้านขด ลายช่องกระจก และลายรักร้อยซึ่งงดงามอย่างยิ่ง ลักษณะลวดลายเช่นนี้แสดงอิทธิพลศิลปะล้านนา จีนหรือเวียดนามอย่างชัดเจน ด้านหลังเจดีย์ มีอุโบสถตั้งอยู่ในแนวขวางอีกด้วย
ความงดงามของวัดนี้เป็นที่เลื่องลือ เป็นแรงบันกาลใจให้กับหัตถกรรมสำคัญของจังหวัดสุโขทัย คือการทำทอง และเงินลวดลายโบราณ และเคยใช้เป็นสถานที่ถ่ายทำละครเรื่องทายาทอสูรด้วย
ชื่อของวัดนี้ มีนัยหมายถึงวัดของผู้หญิง หรือวัดที่สร้างให้ผู้หญิง ตำนานเล่าว่าผู้สร้างเป็นเจ้าหญิงจากเมืองจีน ที่เดินทางมาถวายตัวเป็นมเหสีของพระร่วงเจ้า และบ้างก็ว่าชื่อของวัดนี้มีที่มาจากลวดลายปูนปั้นภายในวัดที่งดงามอ่อนช้อย จนทำให้นึกว่าผู้หญิงเป็นผู้สร้างวัด
สถานที่ตั้งของวัดที่ตั้งอยู่เกือบประชิดติดกำแพงเมืองศรีสัชนาลัยด้านทิศตะวันออก ตามแนวแกนเมือง ทำให้เชื่อว่าเป็นวัดที่สร้างขึ้นในยุคหลังๆประจวบกับศิลปกรรมภายในวัด เช่น สถาปัตยกรรมประธานเป็นเจดีย์ทรงระฆังที่มีซุ้มทางเดิมเข้าสู่เจดีย์ด้านทิศตะวันออก และสามารถเดินเข้าสู่ภายในองค์เจดีย์ได้โดย ตรงกลางทำเป็นแกน มีซุ้มพระพุทธรูป ฐานประทักษิณของเจดีย์มีช้างล้อมอยู่โดยรอบ แต่ตัวช้างพังทลายลงเกือบหมดแล้ว ลักษณะเช่นนี้แสดงอิทธิพลศิลปกรรมแบบอยุธยา ด้านหน้าของเจดีย์มีวิหารหลวงซึ่งผนังเจาะเป็นช่องมะหวด ยังหลงเหลือลายปูนปั้นเป็นรูปดอกพุดตานใบเทศ ก้านขด ลายช่องกระจก และลายรักร้อยซึ่งงดงามอย่างยิ่ง ลักษณะลวดลายเช่นนี้แสดงอิทธิพลศิลปะล้านนา จีนหรือเวียดนามอย่างชัดเจน ด้านหลังเจดีย์ มีอุโบสถตั้งอยู่ในแนวขวางอีกด้วย
ความงดงามของวัดนี้เป็นที่เลื่องลือ เป็นแรงบันกาลใจให้กับหัตถกรรมสำคัญของจังหวัดสุโขทัย คือการทำทอง และเงินลวดลายโบราณ และเคยใช้เป็นสถานที่ถ่ายทำละครเรื่องทายาทอสูรด้วย
ข้อมูลติดต่อ
ชื่อผู้ติดต่อ : อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย
ที่อยู่ : หมู่ 6 ตำบลศรีสัชนาลัย อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย
เบอร์โทรศัพท์ :
พิกัด : 17.42927, 99.78813
Facebook :
ชื่อผู้ติดต่อ :
อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย
ที่อยู่ :
หมู่ 6 ตำบลศรีสัชนาลัย อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย
เบอร์โทรศัพท์ :
พิกัด :
17.42927, 99.78813
Facebook :
ข้อมูลทั่วไป
วันทำการ : ทุกวัน
เวลาทำการ : 08.00-18.00 น.
ค่าเข้าชม : คนไทย 20 บาท/คน
ต่างชาติ 100 บาท/คน
ค่าเช่าพาหนะ : รถจักรยาน 20 บาท/วัน/คัน
สามารถเช่ารถจักรยานได้ที่บริเวณด้านหน้าอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย (เช่าได้ถึง 18.00 น.)
วันทำการ :
ทุกวัน
เวลาทำการ :
08.00-18.00 น.
ค่าเข้าชม :
ค่าเช่าพาหนะ :
สามารถเช่ารถจักรยานได้ที่บริเวณด้านหน้าอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย (เช่าได้ถึง 18.00 น.)
ชมทัศนียภาพ
พักผ่อน
เรียนรู้ประวัติศาสตร์
หาประสบการณ์
เติมเต็มจิตวิญญาณ
โบราณสถาน
เดินเท้า
ปั่นจักรยาน
สามล้อเครื่อง
รถราง
Information Center
ที่จอดรถ
จุดถ่ายภาพ
ตำนานพระร่วง
ป้ายแผนที่
กษัตริย์เสด็จ
กิจกรรมแบบเดี่ยว
กิจกรรมแบบกลุ่ม
เพื่อความรู้์
กิจกรรมกลางแจ้ง
แนะนำการเดินทาง
จากอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยลัยเดินทางไป อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย สามารถเดินทางไปเที่ยวชมด้วยการ รถจักรยานยนต์ , รถยนต์ และรถประจำทางวินทัวร์เท่านั้น โดยวัดระยะทางจากอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยได้เป็นระยะทาง 70.5 กิโลเมตร
วิธีการเดินทาง
ระยะทาง
ระยะเวลา
หมายเหตุ
รถมอเตอร์ไซค์
70.5 กม.
3-3.30 ชม.
ไม่แนะนำ
รถยนต์
70.5 กม.
1.25-1.50 ชม.
-
รถสองแถว (สุโขทัย-กำแพงเพชร)
70.5 กม.
2-2.30 ชม.
จุดขึ้นรถ
วิธีการเดินทาง
จากอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัยเดินทางไป วัดนางพญา ซึ่งอยู่ภายในอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย โดยวัดระยะทางจากอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัยได้เป็นระยะทาง 480 เมตร
วิธีการเดินทาง
ระยะทาง
ระยะเวลา
หมายเหตุ
เดินเท้า
480 เมตร
6-8 นาที
-
รถจักรยาน
480 เมตร
3-5 นาที
-
รถมอเตอร์ไซค์
-
-
-
รถยนต์
-
-
-
อื่นๆ (รถราง)
-
-
จุดขึ้นรถ