วัดเจ้าจันทร์
ศาสนสถานศิลปะขอม
(อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย, อ.ศรีสัชนาลัย, จ.สุโขทัย)
ศิลปะขอมมีอิทธิพลอย่างมากต่อสถาปัตยกรรมโบราณสถานในยุคสมัยสุโขทัยจนถึงยุคปัจจุบัน เป็นความสวยงามที่ผสมผสานกับความเป็นไทยอย่างลงตัว วัดเจ้าจันทร์เป็นศาสนสนสถานที่ได้รับอิทธิพลจากศิลปะขอมเช่นกัน
วัดเจ้าจันทร์ตั้งอยู่ด้านหลังของวัดชมชื่น เป็นศาสนสถานที่ได้รับอิทธิพลจากศิลปะขอม โดยมีประวัติที่มีอายุเก่าแก่กว่าสมัยสุโขทัย กำหนดอายุได้ราวพุทธศตวรรษที่ 18 ร่วมสมัยกับศิลปะขอมแบบบายน สิ่งสำคัญภายในวัดประกอบด้วย ปรางค์ประธานศิลปะขอมก่อด้วยก้อนศิลาแลงขนาดใหญ่ ฐานชั้นล่างสุดเป็นชุดบัวคว่ำ-บัวหงาย ที่เรือนธาตุมีซุ้มประกอบทั้งสี่ด้าน ด้านหน้ามีห้องสำหรับประดิษฐานรูปเคารพ ส่วนด้านอื่นๆ ตกแต่งเป็นประตูหลอก ถัดขึ้นไปเป็นฐานบัวเชิงบาตร ประดับด้วยกลีบขนุน 5 ชั้น ยอดปราสาทเป็นจอมโมฬีประดับด้วยบัวกลุ่ม ต่อมาในยุคนสมัยสุโขทัย ศาสนสถานแห่งนี้ได้รับการปรับเปลี่ยนให้เป็นวัดทางพระพุทธศาสนา โดยการถมบริเวณโดยรอบของฐานปรางค์ปราสาท ทำให้ฐานชุดบัวคว่ำ-บัวหงายจมอยู่ใต้ดิน แล้วจึงสร้างวิหารศิลาแลงขึ้นที่ด้านหน้าของปรางค์ปราสาทพร้อมกับมณฑปศิลาแลงสำหรับประดิษฐานพระอัฏฐารศขึ้นทางทิศเหนือของปรางค์ ในมณฑปมีโกลนศิลาแลงพระพุทธรูปยืนพระหัตถ์แนบลำพระองค์ 1 องค์ หลังคาที่เป็นเครื่องไม้ได้ผุพังไป พบเพียงชิ้นส่วนของกระเบื้องดินเผาสำหรับมุงหลังคาตกกระจายอยู่โดยรอบ กรมศิลปากรได้ขุดพบพระพิมพ์ทำด้วยชิน ทรงเครื่องแบบกษัตริย์ และเมื่อขุดลึกลงไปอีกในระดับลึกพบโบราณวัตถุสมัยทวารวดี เครื่องถ้วยหริภุญไชย ลูกปัดแก้ว และชิ้นส่วนโครงกระดูกคน วัดเจ้าจันทร์นี้ พระบาทสมเด็จพระมงกฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จมาทอดพระเนตร ตามปรากฏในหนังสือพระราชนิพนธ์ "เที่ยวเมืองพระร่วง"
แม้ประวัติศาสตร์ทางด้านศิลปะได้เปลี่ยนแปลงและจางหายไปตามกาลเวลา แต่ยังคงมีโบราณสถานที่ยังหลงเหลือให้เราได้ศึกษาความเป็นมาทางศิลปะ เป็นสิ่งที่ควรอนุรักษ์ รักษาให้คงอยู่ตลอดไป
วัดเจ้าจันทร์ตั้งอยู่ด้านหลังของวัดชมชื่น เป็นศาสนสถานที่ได้รับอิทธิพลจากศิลปะขอม โดยมีประวัติที่มีอายุเก่าแก่กว่าสมัยสุโขทัย กำหนดอายุได้ราวพุทธศตวรรษที่ 18 ร่วมสมัยกับศิลปะขอมแบบบายน สิ่งสำคัญภายในวัดประกอบด้วย ปรางค์ประธานศิลปะขอมก่อด้วยก้อนศิลาแลงขนาดใหญ่ ฐานชั้นล่างสุดเป็นชุดบัวคว่ำ-บัวหงาย ที่เรือนธาตุมีซุ้มประกอบทั้งสี่ด้าน ด้านหน้ามีห้องสำหรับประดิษฐานรูปเคารพ ส่วนด้านอื่นๆ ตกแต่งเป็นประตูหลอก ถัดขึ้นไปเป็นฐานบัวเชิงบาตร ประดับด้วยกลีบขนุน 5 ชั้น ยอดปราสาทเป็นจอมโมฬีประดับด้วยบัวกลุ่ม ต่อมาในยุคนสมัยสุโขทัย ศาสนสถานแห่งนี้ได้รับการปรับเปลี่ยนให้เป็นวัดทางพระพุทธศาสนา โดยการถมบริเวณโดยรอบของฐานปรางค์ปราสาท ทำให้ฐานชุดบัวคว่ำ-บัวหงายจมอยู่ใต้ดิน แล้วจึงสร้างวิหารศิลาแลงขึ้นที่ด้านหน้าของปรางค์ปราสาทพร้อมกับมณฑปศิลาแลงสำหรับประดิษฐานพระอัฏฐารศขึ้นทางทิศเหนือของปรางค์ ในมณฑปมีโกลนศิลาแลงพระพุทธรูปยืนพระหัตถ์แนบลำพระองค์ 1 องค์ หลังคาที่เป็นเครื่องไม้ได้ผุพังไป พบเพียงชิ้นส่วนของกระเบื้องดินเผาสำหรับมุงหลังคาตกกระจายอยู่โดยรอบ กรมศิลปากรได้ขุดพบพระพิมพ์ทำด้วยชิน ทรงเครื่องแบบกษัตริย์ และเมื่อขุดลึกลงไปอีกในระดับลึกพบโบราณวัตถุสมัยทวารวดี เครื่องถ้วยหริภุญไชย ลูกปัดแก้ว และชิ้นส่วนโครงกระดูกคน วัดเจ้าจันทร์นี้ พระบาทสมเด็จพระมงกฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จมาทอดพระเนตร ตามปรากฏในหนังสือพระราชนิพนธ์ "เที่ยวเมืองพระร่วง"
แม้ประวัติศาสตร์ทางด้านศิลปะได้เปลี่ยนแปลงและจางหายไปตามกาลเวลา แต่ยังคงมีโบราณสถานที่ยังหลงเหลือให้เราได้ศึกษาความเป็นมาทางศิลปะ เป็นสิ่งที่ควรอนุรักษ์ รักษาให้คงอยู่ตลอดไป
ข้อมูลติดต่อ
ชื่อผู้ติดต่อ : อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย
ที่อยู่ : หมู่ 6 ตำบลศรีสัชนาลัย อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย
เบอร์โทรศัพท์ :
พิกัด : 17.42834, 99.80503
Facebook :
ชื่อผู้ติดต่อ :
อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย
ที่อยู่ :
หมู่ 6 ตำบลศรีสัชนาลัย อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย
เบอร์โทรศัพท์ :
พิกัด :
17.42834, 99.80503
Facebook :
ข้อมูลทั่วไป
วันทำการ : ทุกวัน
เวลาทำการ : แนะนำให้เยี่ยมชมก่อนเวลา 15.00 น.
ค่าเข้าชม : -
ค่าเช่าพาหนะ : รถจักรยาน 20 บาท/วัน/คัน
สามารถเช่ารถจักรยานได้ที่บริเวณด้านหน้าอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย (เช่าได้ถึง 18.00 น.)
วันทำการ :
ทุกวัน
เวลาทำการ :
แนะนำให้เยี่ยมชมก่อนเวลา 15.00 น.
ค่าเข้าชม :
-
ค่าเช่าพาหนะ :
สามารถเช่ารถจักรยานได้ที่บริเวณด้านหน้าอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย (เช่าได้ถึง 18.00 น.)
ชมทัศนียภาพ
พักผ่อน
เรียนรู้ประวัติศาสตร์
หาประสบการณ์
เติมเต็มจิตวิญญาณ
โบราณสถาน
เดินเท้า
ปั่นจักรยาน
สามล้อเครื่อง
รถราง
Information Center
ที่จอดรถ
จุดถ่ายภาพ
ตำนานพระร่วง
ป้ายแผนที่
กษัตริย์เสด็จ
กิจกรรมแบบเดี่ยว
กิจกรรมแบบกลุ่ม
เพื่อความรู้์
กิจกรรมกลางแจ้ง
แนะนำการเดินทาง
จากอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยลัยเดินทางไป อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย สามารถเดินทางไปเที่ยวชมด้วยการ รถจักรยานยนต์ , รถยนต์ และรถประจำทางวินทัวร์เท่านั้น โดยวัดระยะทางจากอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยได้เป็นระยะทาง 70.5 กิโลเมตร
วิธีการเดินทาง
ระยะทาง
ระยะเวลา
หมายเหตุ
รถมอเตอร์ไซค์
70.5 กม.
3-3.30 ชม.
ไม่แนะนำ
รถยนต์
70.5 กม.
1.25-1.50 ชม.
-
รถสองแถว (สุโขทัย-กำแพงเพชร)
70.5 กม.
2-2.30 ชม.
จุดขึ้นรถ
วิธีการเดินทาง
จากอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัยเดินทางไป วัดเจ้าจันทร์ ซึ่งอยู่ภายนอกอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย โดยวัดระยะทางจากอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัยได้เป็นระยะทาง 2.4 กิโลเมตร
วิธีการเดินทาง
ระยะทาง
ระยะเวลา
หมายเหตุ
เดินเท้า
2.4 กม.
30-35 นาที
-
รถจักรยาน
2.4 กม.
13-17 นาที
-
รถมอเตอร์ไซค์
2.4 กม.
7-12 นาที
-
รถยนต์
2.4 กม.
6-10 นาที
ถนนเส้นเล็กและแคบ