วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ
(วัดพระปรางค์)
พระอารามหลวงชั้นราชวรวิหาร ณ เมืองศรีสัชนาลัย
(อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย, อ.ศรีสัชนาลัย, จ.สุโขทัย)
เมืองศรีสัชนาลัยมีแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์มากมาย แต่ก็คงหนีไม่พ้นวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ 1 ในวัดใหญ่ที่ยังคงมีการบูรณะ และมีพระภิกษุสงฆ์อาศัยอยู่ภายในวัด
วัดศรีรัตนมหาธาตุ หรือ วัดพระบรมธาตุเมืองเฉลียง อีกชื่อว่า วัดพระปรางค์ จากหลักฐานทางโบราณคดี พบว่า วัดนี้มีอายุตั้งแต่สมัยขอมเรืองอำนาจ คือ ประมาณ 800 ปีมาแล้วเป็นอย่างต่ำ พระอารามหลวงที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ทรงยกย่องว่าเป็นหนึ่งในมหาเจดีย์ของประเทศไทยแห่งนี้ มีประวัติเป็นมาที่ยาวนาน โดยศึกษาได้จากศิลปกรรมอันงดงามภายในวัด นับตั้งแต่ซุ้มกำแพงแก้ว ที่มียอดเป็นพุ่ม มีรูปใบหน้าบุคคลสี่ทิศ ประดับด้วยพระพุทธรูป รูปนางอัปสรร่ายรำ ลายกระหนก ดอกไม้ และลายราหูอมจันทร์ ซึ่งเป็นลวดลายที่แสดงอิทธิพลศิลปะเขมรแบบบายน ช่วยยืนยันความเก่าแก่ของวัดแห่งนี้ และสันนิษฐานว่าที่นี่คือศูนย์กลางของเมืองเก่าแก่ที่ชื่อ เชลียง ที่มีมาก่อนเมืองศรีสัชนาลัย ชาวบ้านในปัจจุบันจึงนิยมเรียกวัดนี้ว่า พระธาตุเชลียง
สถาปัตยกรรมประธานของวัด คือพระปรางค์ศิลปะอยุธยา หันหน้าไปทางทิศตะวันออก มีบันไดทางขึ้นสูงชันเข้าสู่ห้องครรภคฤหะ หรือห้องสำหรับประดิษฐานสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งภายในห้องมีเจดีย์ทรงยอดดอกบัวตูมหรือทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ขนาดย่อมประดิษฐานอยู่ ทำให้มีนักวิชาการสันนิษฐานว่า แต่เดิมมีเจดีย์ทรงยอดดอกบัวตูมตั้งอยู่ที่นี้ แล้วสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถแห่งกรุงศรีอยุธยาทรงสร้างพระปรางค์ครอบไว้ หลังจากทรงได้ครอบครองพื้นที่แถบนี้
ด้านหน้าพระปรางค์ มีพระวิหารหลวงซึ่งภายในประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัย ปูนปั้น ศิลปะสุโขทัยเป็นพระพุทธรูปประธาน รายล้อมด้วยพระพุทธรูปขนาดย่อม เบื้องขวาของพระประธาน มีพระพุทธรูปลีลา ปูนปั้น ซึ่งมีความงามล้ำเลิศ เป็นหนึ่งในพระพุทธรูปที่ผู้มาเยือนสุโขทัยไม่ควรพลาดสักการะ
ด้านหลังพระปรางค์ ยังมีพระธาตุมุเตา ซึ่งมีตำนานเล่าถึงการสร้างเจดีย์แข่งกันระหว่างพระร่วง และพระลือ พระร่วงเกรงว่าน้องชายจะสร้างเจดีย์สูงเท่ากับของตน จึงเตะยอดเจดีย์ของน้องชายหักกระเด็นไปตกที่เมืองพิษณุโลก เจดีย์มุเตาที่พระลือสร้างจึงไม่มียอด ส่วนพระปรางค์ที่พระร่วงสร้างจึงเสร็จสมบูรณ์สูงใหญ่สวยงาม ถัดจากพระมุเตาไป มีพระอัฏฐารสประทับยืนองค์หนึ่ง และวิหารที่ปรักพังไปตามกาลเวลา
นอกกำแพงแก้วด้านทิศตะวันออก เป็นที่ตั้งของพระอุโบสถ ภายในมีพระประธานปูนปั้นขนาดใหญ่ พร้อมพระพุทธรูปรายล้อมหลายองค์ ด้านหน้ามีพระพุทธรูปยืนปางห้ามญาติ มีรูปธรรมจักรกลางฝ่าพระหัตถ์ ชาวบ้านจึงเรียกว่าหลวงพ่อธรรมจักร เชื่อกันว่าท่านมีความศักดิ์สิทธิ์เที่ยงธรรมมาก ผู้มีคดีความขัดแย้งกันมักมาสาบานต่อหน้าท่าน ใครผิดคำสาบานจะมีอันเป็นไป ประชาชนขอพรก็สัมฤทธิ์ผล
ถัดจากพระอุโบสถมาด้านทิศตะวันออกของวัด เป็นที่ตั้งของมณฑปพระร่วง ที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปางห้ามสมุทร ๒ องค์ ที่ชาวบ้านเรียกกันว่า "พระร่วง พระลือ" ที่จำลองมาจากองค์จริง สร้างด้วยสำริด สมัยอยุธยา ถูกเชิญไปเก็บรักษาและจัดแสดง ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง อ.เมือง จ.สุโขทัย นอกจากนี้ภายในวัดยังมีพิพิธภัณฑ์ชุมชนเมืองศรีสัชนาลัย ซึ่งสามารถเล่าวิถีชีวิตของคนเมืองนี้ได้อย่างน่าสนใจ ทุกสุดสัปดาห์ปลายเดือนจะมีการจัดตลาดนัดใครใคร่ค้า ค้า ซึ่งมีร้านรวงมากมายมาให้จับจ่าย และงานหัตถกรรมมากมายมาจัดแสดงและเลือกจับจองเป็นเจ้าของ ในบรรยากาศงดงามของวัดพระปรางค์ ชวนนึกถึงงานวัดในอดีต ทั้งนี้ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ – มีนาคมของทุกปี จะมีการจัดงานสมโภชพระศรีรัตนมหาธาตุและงานประจำปี ซึ่งจัดติดต่อกันมากว่าร้อยปี จะได้นำผ้าสีแดงขึ้นไปห่มยอดพระปรางค์ โดยผู้ที่ขึ้นไปทำหน้าที่ห่มนั้นปีนขึ้นไปด้วยมือเปล่า และทำหน้าที่นี้สืบทอดกันมาหลายชั่วอายุคน ไม่ควรพลาดชม
ซึ่งประกอบด้วยสิ่งก่อสร้างที่สำคัญ ได้แก่
ปรางค์ประธาน ก่อด้วยศิลาแลงฉาบปูนเสร็จแล้วลงสีชาดทับ ลักษณะรูปแบบสถาปัตยกรรมเป็นแบบศิลปกรรมสมัยอยุธยา ภายในซุ้มโถงมีสถูปรูปดอกบัวตูมขนาดเล็กโผล่ขึ้นมา ซึ่งเป็นหลักฐานว่ามีการสร้างครอบทับ ตามผนังภายในองค์ปรางค์พบว่ามีร่องรอยของจิตรกรรมฝาผนังแต่ลบเลือนไปมาก ส่วนบริเวณเรือนธาตุด้านหน้ามีบันไดขึ้นสู่องค์ปรางค์
ฐานปรางค์องค์นี้มีลักษณะเป็นวิหารคต 3 ชั้น ก่อผนังทึบและเจาะช่องแสง ซึ่งเมื่อพิจารณาดูแล้วฐานปรางค์แผ่ขยายกว้างออกไปทั้ง 3 ด้าน (ด้านหน้าเป็นพระวิหาร) คล้ายสร้างครอบสถูปหรือเจดีย์ที่สำคัญไว้ภายใน ซึ่งคงเป็นสิ่งก่อสร้างในช่วงสุโขทัยตอนต้น เนื่องจากได้ขุดค้นพบฐานโบราณของสิ่งก่อสร้าง ก่อด้วยอิฐอยู่ใต้ฐานพระวิหารหลวง นอกจากนี้ยังพบกระเบื้องเชิงชายรูปนางอัปสรและเทวดา ซึ่งมีลักษณะร่วมสมัยศิลปะเขมรแบบบายน เช่นเดียวกับลายปูนปั้นยอดซุ้มประตูกำแพงวัด ซึ่งทำเป็นรูปพระพักตร์ของพระอวโลกิเตศวร อยู่ด้านบนทั้ง 4 ทิศ แบบซุ้มประตูนครธม ในกัมพูชา ด้านล่างเป็นรูปเทพธิดานั่งในกรอบซุ้ม ด้านล่างเป็นรูปนางอัปสรร่ายรำ
ฐานพระวิหารหลวงพ่อโต อยู่ด้านหน้าพระปรางค์ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปขนาดใหญ่ปางมารวิชัยประทับ อยู่ตรงกลางขนาบด้วยพระพุทธรูปขนาดเล็กประทับยืนทั้ง 5 ข้าง ถัดจากพระพุทธรูปปางมารวิชัยทางด้านขวามีพระพุทธรูปปูนปั้นปางลีลาที่มี ลักษณะงดงาม
กำแพงวัด เป็นศิลาแลงแท่งกลมขนาดใหญ่ปักเรียงชิดติดกันเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 60 เมตร ยาว 90 เมตร มีคานทับหลังกำแพง มีทางเข้าออกด้านหลัง เหนือซุ้มประตูทำเป็นรูปคล้ายหลังคายอด เหนือซุ้มขึ้นไปมีปูนปั้นเป็นรูปพระพักตร์อวโลกิเตศวร 4 หน้าตามแบบซุ้มประตูนครธม ของกัมพูชา
พระธาตุมุเตา อยู่ด้านหลังปรางค์ประธานนอกกำแพงแก้ว แต่ก็ยังล้อมรอบด้วยกำแพงศิลาแลงที่ทำเป็นแท่งสี่เหลี่ยมบาง ซึ่งน่าจะเป็นคนละสมัยกับกำแพงศิลาแลงที่ทำเป็นท่อนใหญ่ของวัดพระศรีรัตนมหาธาตุเชลียง ตัวพระธาตุมุเตาก่อด้วยศิลาแลงฐานเป็นเหลี่ยมซ้อนกัน 4 ชั้น ต่อจากนั้นเป็นบัวถลา 3 ชั้น ส่วนที่อยู่เหนือขึ้นไปพังทลายลงมาหมด ลักษณะพระธาตุมุเตาเป็นเจดีย์ทรงมอญ ในการขุดแต่งปี พ.ศ. 2535 ได้พบทองจังโกประดับส่วนยอดของเจดีย์ มณฑปพระอัฏฐารศ อยู่ด้านหลังของพระธาตุมุเตา เดิมน่าจะเป็นมณฑปพระสี่อิริยาบถ หลังคามุงกระเบื้องเครื่องไม้ ต่อมาพระพุทธรูปในอิริยาบถอื่น ๆ สามองค์ได้ชำรุดคงซ่อมแซมดัดแปลงที่เหลือเป็นพระพุทธรูปยืนอยู่ภายในซุ้ม คูหาองค์เดียว
วิหารสองพี่น้อง อยู่ทางซ้ายพระอัฏฐารศ ก่อด้วยศิลาแลง มีพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัย ๒ องค์ อยู่บนแท่นพระ จากการขุดค้นทางโบราณคดีพบว่าฐานวิหารสองพี่น้องก่อทับอาคารโบราณก่ออิฐหลังหนึ่ง ข้างขวาพระวิหารสองพี่น้องพบฐานรอยพระพุทธบาท ด้วย
โบสถ์ ตั้งอยู่ด้านหน้าพระวิหาร ปัจจุบันทางวัดได้บูรณะปฏิสังขรณ์ใหม่ทั้งหลัง โดยสร้างทับโบสถ์เดิม
กุฎิพระร่วง-พระลือ ชาวท้องถิ่นเรียกกันในอีกชื่อหนึ่งว่า ศาลพระร่วง-พระลือ ได้รับการบูรณะซ่อมแขมในปีเดียวกันกับโบสถ์ ลักษณะเป็นมณฑปฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัสกว้าง หลังคาทรงมณฑปก่ออิฐซ้อนกัน 4 ชั้น แต่เดิมเคยประดิษฐานรูปเคารพสององค์ ลักษณะเหมือนกันคือ ทรงเครื่องแสดงท่าคล้ายพระพุทธรูปปางประทานอภัย แต่สวมหมวก ชาวบ้านเชื่อว่าเป็นประติมากรรมของพระร่วงกับ พระลือ สองพี่น้อง วีรบุรุษต้นวงศ์พระร่วงสุโขทัยตามตำนานในพงศาวดารเหนือ ปัจจุบันประติมากรรมทั้งสององค์ย้ายไปจัดแสดง ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติรามคำแหง สุโขทัย
ในทุกๆ ปี วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ หรือ วัดพระปรางค์ จะมีการจัดงานพระปรางค์ ทั้งหมด 5 วัน 5 คืน
วัดศรีรัตนมหาธาตุ หรือ วัดพระบรมธาตุเมืองเฉลียง อีกชื่อว่า วัดพระปรางค์ จากหลักฐานทางโบราณคดี พบว่า วัดนี้มีอายุตั้งแต่สมัยขอมเรืองอำนาจ คือ ประมาณ 800 ปีมาแล้วเป็นอย่างต่ำ พระอารามหลวงที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ทรงยกย่องว่าเป็นหนึ่งในมหาเจดีย์ของประเทศไทยแห่งนี้ มีประวัติเป็นมาที่ยาวนาน โดยศึกษาได้จากศิลปกรรมอันงดงามภายในวัด นับตั้งแต่ซุ้มกำแพงแก้ว ที่มียอดเป็นพุ่ม มีรูปใบหน้าบุคคลสี่ทิศ ประดับด้วยพระพุทธรูป รูปนางอัปสรร่ายรำ ลายกระหนก ดอกไม้ และลายราหูอมจันทร์ ซึ่งเป็นลวดลายที่แสดงอิทธิพลศิลปะเขมรแบบบายน ช่วยยืนยันความเก่าแก่ของวัดแห่งนี้ และสันนิษฐานว่าที่นี่คือศูนย์กลางของเมืองเก่าแก่ที่ชื่อ เชลียง ที่มีมาก่อนเมืองศรีสัชนาลัย ชาวบ้านในปัจจุบันจึงนิยมเรียกวัดนี้ว่า พระธาตุเชลียง
สถาปัตยกรรมประธานของวัด คือพระปรางค์ศิลปะอยุธยา หันหน้าไปทางทิศตะวันออก มีบันไดทางขึ้นสูงชันเข้าสู่ห้องครรภคฤหะ หรือห้องสำหรับประดิษฐานสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งภายในห้องมีเจดีย์ทรงยอดดอกบัวตูมหรือทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ขนาดย่อมประดิษฐานอยู่ ทำให้มีนักวิชาการสันนิษฐานว่า แต่เดิมมีเจดีย์ทรงยอดดอกบัวตูมตั้งอยู่ที่นี้ แล้วสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถแห่งกรุงศรีอยุธยาทรงสร้างพระปรางค์ครอบไว้ หลังจากทรงได้ครอบครองพื้นที่แถบนี้
ด้านหน้าพระปรางค์ มีพระวิหารหลวงซึ่งภายในประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัย ปูนปั้น ศิลปะสุโขทัยเป็นพระพุทธรูปประธาน รายล้อมด้วยพระพุทธรูปขนาดย่อม เบื้องขวาของพระประธาน มีพระพุทธรูปลีลา ปูนปั้น ซึ่งมีความงามล้ำเลิศ เป็นหนึ่งในพระพุทธรูปที่ผู้มาเยือนสุโขทัยไม่ควรพลาดสักการะ
ด้านหลังพระปรางค์ ยังมีพระธาตุมุเตา ซึ่งมีตำนานเล่าถึงการสร้างเจดีย์แข่งกันระหว่างพระร่วง และพระลือ พระร่วงเกรงว่าน้องชายจะสร้างเจดีย์สูงเท่ากับของตน จึงเตะยอดเจดีย์ของน้องชายหักกระเด็นไปตกที่เมืองพิษณุโลก เจดีย์มุเตาที่พระลือสร้างจึงไม่มียอด ส่วนพระปรางค์ที่พระร่วงสร้างจึงเสร็จสมบูรณ์สูงใหญ่สวยงาม ถัดจากพระมุเตาไป มีพระอัฏฐารสประทับยืนองค์หนึ่ง และวิหารที่ปรักพังไปตามกาลเวลา
นอกกำแพงแก้วด้านทิศตะวันออก เป็นที่ตั้งของพระอุโบสถ ภายในมีพระประธานปูนปั้นขนาดใหญ่ พร้อมพระพุทธรูปรายล้อมหลายองค์ ด้านหน้ามีพระพุทธรูปยืนปางห้ามญาติ มีรูปธรรมจักรกลางฝ่าพระหัตถ์ ชาวบ้านจึงเรียกว่าหลวงพ่อธรรมจักร เชื่อกันว่าท่านมีความศักดิ์สิทธิ์เที่ยงธรรมมาก ผู้มีคดีความขัดแย้งกันมักมาสาบานต่อหน้าท่าน ใครผิดคำสาบานจะมีอันเป็นไป ประชาชนขอพรก็สัมฤทธิ์ผล
ถัดจากพระอุโบสถมาด้านทิศตะวันออกของวัด เป็นที่ตั้งของมณฑปพระร่วง ที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปางห้ามสมุทร ๒ องค์ ที่ชาวบ้านเรียกกันว่า "พระร่วง พระลือ" ที่จำลองมาจากองค์จริง สร้างด้วยสำริด สมัยอยุธยา ถูกเชิญไปเก็บรักษาและจัดแสดง ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง อ.เมือง จ.สุโขทัย นอกจากนี้ภายในวัดยังมีพิพิธภัณฑ์ชุมชนเมืองศรีสัชนาลัย ซึ่งสามารถเล่าวิถีชีวิตของคนเมืองนี้ได้อย่างน่าสนใจ ทุกสุดสัปดาห์ปลายเดือนจะมีการจัดตลาดนัดใครใคร่ค้า ค้า ซึ่งมีร้านรวงมากมายมาให้จับจ่าย และงานหัตถกรรมมากมายมาจัดแสดงและเลือกจับจองเป็นเจ้าของ ในบรรยากาศงดงามของวัดพระปรางค์ ชวนนึกถึงงานวัดในอดีต ทั้งนี้ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ – มีนาคมของทุกปี จะมีการจัดงานสมโภชพระศรีรัตนมหาธาตุและงานประจำปี ซึ่งจัดติดต่อกันมากว่าร้อยปี จะได้นำผ้าสีแดงขึ้นไปห่มยอดพระปรางค์ โดยผู้ที่ขึ้นไปทำหน้าที่ห่มนั้นปีนขึ้นไปด้วยมือเปล่า และทำหน้าที่นี้สืบทอดกันมาหลายชั่วอายุคน ไม่ควรพลาดชม
ซึ่งประกอบด้วยสิ่งก่อสร้างที่สำคัญ ได้แก่
ในทุกๆ ปี วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ หรือ วัดพระปรางค์ จะมีการจัดงานพระปรางค์ ทั้งหมด 5 วัน 5 คืน
ข้อมูลติดต่อ
ชื่อผู้ติดต่อ : อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย
ที่อยู่ : หมู่ 6 ตำบลศรีสัชนาลัย อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย
เบอร์โทรศัพท์ :
พิกัด : 17.42924, 99.8110220
Facebook :
ชื่อผู้ติดต่อ :
อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย
ที่อยู่ :
หมู่ 6 ตำบลศรีสัชนาลัย อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย
เบอร์โทรศัพท์ :
พิกัด :
17.42924, 99.8110220
Facebook :
ข้อมูลทั่วไป
วันทำการ : ทุกวัน
เวลาทำการ : แนะนำให้เยี่ยมชมก่อนเวลา 15.00 น.
ค่าเข้าชม : -
ค่าเช่าพาหนะ : รถจักรยาน 20 บาท/วัน/คัน
สามารถเช่ารถจักรยานได้ที่บริเวณด้านหน้าอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย (เช่าได้ถึง 18.00 น.)
วันทำการ :
ทุกวัน
เวลาทำการ :
แนะนำให้เยี่ยมชมก่อนเวลา 15.00 น.
ค่าเข้าชม :
-
ค่าเช่าพาหนะ :
สามารถเช่ารถจักรยานได้ที่บริเวณด้านหน้าอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย (เช่าได้ถึง 18.00 น.)
ชมทัศนียภาพ
พักผ่อน
เรียนรู้ประวัติศาสตร์
หาประสบการณ์
เติมเต็มจิตวิญญาณ
โบราณสถาน
เดินเท้า
ปั่นจักรยาน
สามล้อเครื่อง
รถราง
Information Center
ที่จอดรถ
จุดถ่ายภาพ
ตำนานพระร่วง
ป้ายแผนที่
กษัตริย์เสด็จ
กิจกรรมแบบเดี่ยว
กิจกรรมแบบกลุ่ม
เพื่อความรู้์
กิจกรรมกลางแจ้ง
แนะนำการเดินทาง
จากอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยลัยเดินทางไป อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย สามารถเดินทางไปเที่ยวชมด้วยการ รถจักรยานยนต์ , รถยนต์ และรถประจำทางวินทัวร์เท่านั้น โดยวัดระยะทางจากอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยได้เป็นระยะทาง 70.5 กิโลเมตร
วิธีการเดินทาง
ระยะทาง
ระยะเวลา
หมายเหตุ
รถมอเตอร์ไซค์
70.5 กม.
3-3.30 ชม.
ไม่แนะนำ
รถยนต์
70.5 กม.
1.25-1.50 ชม.
-
รถสองแถว (สุโขทัย-กำแพงเพชร)
70.5 กม.
2-2.30 ชม.
จุดขึ้นรถ
วิธีการเดินทาง
จากอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัยเดินทางไป วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ (วัดพระปรางค์) ซึ่งอยู่ภายนอกอุทยานประวัติศาสตร์ โดยวัดระยะทางจากอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัยได้เป็นระยะทาง 2.8 กิโลเมตร
วิธีการเดินทาง
ระยะทาง
ระยะเวลา
หมายเหตุ
เดินเท้า
2.8 กม.
35-45 นาที
-
รถจักรยาน
2.8 กม.
13-20 นาที
-
รถมอเตอร์ไซค์
2.8 กม.
9-15 นาที
-
รถยนต์
2.8 กม.
7-10 นาที
ถนนเส้นเล็กและแคบ