วัดเขาอินทร์
บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ "บ่อแก้ว บ่อทอง"
(อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย, อ.ศรีสัชนาลัย, จ.สุโขทัย)
วัดเขาอินทร์ตั้งอยู่บนยอดเขาอินทร์ ห่างจากกำแพงเมืองโบราณศรีสัชนาลัยพอสมควร แต่คงเป็นวัดที่มีความสำคัญมาตั้งแต่โบราณ เพราะมีสถาปัตยกรรมที่ใหญ่โตโอ่อ่า และการบริหารจัดการพื้นที่อย่างชาญฉลาด
เขาอินทร์เป็นเขาเตี้ยๆที่ตั้งอยู่กลางทุ่งกว้าง บนยอดเขามีการสร้างเจดีย์ทรงระฆังองค์หนึ่ง ซึ่งปัจจุบันถูกมิจฉาชีพขุดค้นจนหักพัง มองเห็นภายในห้องกรุ ซึ่งเคยประดิษฐานสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และเครื่องพุทธบูชา ด้านตะวันออกของเจดีย์มีวิหารหลวงขนาดใหญ่ ซึ่งภาพถ่ายเก่าที่สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธสยามมกุฎราชกุมาร (ต่อมาคือ รัชกาลที่ ๖) ทรงถ่ายไว้ ปรากฏเป็นเสาแปดหลี่ยม ยอดตกแต่งด้วยปูนปั้นเป็นกลีบบัวซ้อนๆกัน นอกจากนี้มีการค้นพบท่อน้ำสังคโลกจำนวนมาก เข้าใจว่าช่างในสมัยโบราณได้วางแนวท่อจากยอดเขาลงมาด้านล่างอย่างเป็นระบบ เพื่อป้องกันน้ำกัดเซาะพื้นที่ เชิงเขาอินทรืด้านทิศเหนือมีบ่อน้ำโบราณบ่อหนึ่ง เรียกว่า บ่อแก้ว และถัดจากวัดเขาอินทร์ออกไปกลางทุ่งประมาณ ๕ กิโลเมตร มีบ่อน้ำขุดลงไปบนพื้นศิลาแลงรูปสี่เหลี่ยมอีกบ่อหนึ่ง เรียกว่า บ่อทอง น้ำจากบ่อทั้งสองนี้ถือเป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งนำไปใช้ในพิธีสำคัญ พระราชพิธีบรมราชาภิเษก มาโดยตลอด
ที่วัดเขาอินทร์นี้ เคยมีพระพุทธรูปโลหะประดิษฐานอยู่ แต่ถูกย้ายไปในช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ได้แก่ พระพระพุทธมารวิชัย อภัยปรปักษ์ อัครพฤกษ์โพธิภิรมย์ อภิสมพุทธบพิตร ประดิษฐานอยู่ ณ วิหารพระโลกนาถ วัดพระเชตพนวิมลมังคลาราม และพระพุทธนากน้อย ประดิษฐานในพระวิหาร วัดประยุรวงศาวาส
เขาอินทร์เป็นเขาเตี้ยๆที่ตั้งอยู่กลางทุ่งกว้าง บนยอดเขามีการสร้างเจดีย์ทรงระฆังองค์หนึ่ง ซึ่งปัจจุบันถูกมิจฉาชีพขุดค้นจนหักพัง มองเห็นภายในห้องกรุ ซึ่งเคยประดิษฐานสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และเครื่องพุทธบูชา ด้านตะวันออกของเจดีย์มีวิหารหลวงขนาดใหญ่ ซึ่งภาพถ่ายเก่าที่สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธสยามมกุฎราชกุมาร (ต่อมาคือ รัชกาลที่ ๖) ทรงถ่ายไว้ ปรากฏเป็นเสาแปดหลี่ยม ยอดตกแต่งด้วยปูนปั้นเป็นกลีบบัวซ้อนๆกัน นอกจากนี้มีการค้นพบท่อน้ำสังคโลกจำนวนมาก เข้าใจว่าช่างในสมัยโบราณได้วางแนวท่อจากยอดเขาลงมาด้านล่างอย่างเป็นระบบ เพื่อป้องกันน้ำกัดเซาะพื้นที่ เชิงเขาอินทรืด้านทิศเหนือมีบ่อน้ำโบราณบ่อหนึ่ง เรียกว่า บ่อแก้ว และถัดจากวัดเขาอินทร์ออกไปกลางทุ่งประมาณ ๕ กิโลเมตร มีบ่อน้ำขุดลงไปบนพื้นศิลาแลงรูปสี่เหลี่ยมอีกบ่อหนึ่ง เรียกว่า บ่อทอง น้ำจากบ่อทั้งสองนี้ถือเป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งนำไปใช้ในพิธีสำคัญ พระราชพิธีบรมราชาภิเษก มาโดยตลอด
ที่วัดเขาอินทร์นี้ เคยมีพระพุทธรูปโลหะประดิษฐานอยู่ แต่ถูกย้ายไปในช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ได้แก่ พระพระพุทธมารวิชัย อภัยปรปักษ์ อัครพฤกษ์โพธิภิรมย์ อภิสมพุทธบพิตร ประดิษฐานอยู่ ณ วิหารพระโลกนาถ วัดพระเชตพนวิมลมังคลาราม และพระพุทธนากน้อย ประดิษฐานในพระวิหาร วัดประยุรวงศาวาส
ข้อมูลติดต่อ
ชื่อผู้ติดต่อ : อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย
ที่อยู่ : หมู่ 6 ตำบลศรีสัชนาลัย อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย
เบอร์โทรศัพท์ :
พิกัด : 17.44534, 99.81049
Facebook :
ชื่อผู้ติดต่อ :
อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย
ที่อยู่ :
หมู่ 6 ตำบลศรีสัชนาลัย อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย
เบอร์โทรศัพท์ :
พิกัด :
17.44534, 99.81049
Facebook :
ข้อมูลทั่วไป
วันทำการ : ทุกวัน
เวลาทำการ : 08.00-18.00 น.
ค่าเข้าชม : -
ค่าเช่าพาหนะ : รถจักรยาน 20 บาท/วัน/คัน
สามารถเช่ารถจักรยานได้ที่บริเวณด้านหน้าอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย (เช่าได้ถึง 18.00 น.)
วันทำการ :
ทุกวัน
เวลาทำการ :
08.00-18.00 น.
ค่าเข้าชม :
-
ค่าเช่าพาหนะ :
สามารถเช่ารถจักรยานได้ที่บริเวณด้านหน้าอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย (เช่าได้ถึง 18.00 น.)
ชมทัศนียภาพ
พักผ่อน
เรียนรู้ประวัติศาสตร์
หาประสบการณ์
เติมเต็มจิตวิญญาณ
โบราณสถาน
เดินเท้า
ปั่นจักรยาน
สามล้อเครื่อง
รถราง
Information Center
ที่จอดรถ
จุดถ่ายภาพ
ตำนานพระร่วง
ป้ายแผนที่
กษัตริย์เสด็จ
กิจกรรมแบบเดี่ยว
กิจกรรมแบบกลุ่ม
เพื่อความรู้์
กิจกรรมกลางแจ้ง
แนะนำการเดินทาง
จากอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยลัยเดินทางไป อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย สามารถเดินทางไปเที่ยวชมด้วยการ รถจักรยานยนต์ , รถยนต์ และรถประจำทางวินทัวร์เท่านั้น โดยวัดระยะทางจากอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยได้เป็นระยะทาง 70.5 กิโลเมตร
วิธีการเดินทาง
ระยะทาง
ระยะเวลา
หมายเหตุ
รถมอเตอร์ไซค์
70.5 กม.
3-3.30 ชม.
ไม่แนะนำ
รถยนต์
70.5 กม.
1.25-1.50 ชม.
-
รถสองแถว (สุโขทัย-กำแพงเพชร)
70.5 กม.
2-2.30 ชม.
จุดขึ้นรถ
วิธีการเดินทาง
จากอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัยเดินทางไป วัดเขาอินทร์ ซึ่งอยู่ภายนอกอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย โดยวัดระยะทางจากอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัยได้เป็นระยะทาง 5.1 กิโลเมตร
วิธีการเดินทาง
ระยะทาง
ระยะเวลา
หมายเหตุ
เดินเท้า
5.1 กม.
65-80 นาที
ไม่แนะนำ
รถจักรยาน
5.1 กม.
35-40 นาที
ไม่แนะนำ
รถมอเตอร์ไซค์
5.1 กม.
15-20 นาที
-
รถยนต์
5.1 กม.
10-15 นาที
ถนนเส้นเล็กและแคบ
อื่นๆ (รถราง)
-
-
จุดขึ้นรถ