วัดเจดีย์สี่ห้อง
ช้าง สิงห์ และมนุษยนาคผู้พิทักษ์ศาสนสถาน
(อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย, เมืองเก่าสุโขทัย)
วัดนี้ตั้งอยู่ตรงข้ามกับวัดเชตุพน นอกกำแพงเมืองโบราณสุโขทัยด้านทิศใต้ ถึงแม้เจดีย์ประธานจะค่อนข้างเล็ก แต่คงเป็นอีกวัดหนึ่งที่สามารถใช้คำว่า "จิ๋วแต่แจ๋ว" เป็นคำอธิบายคุณค่าได้ ชื่อ "เจดีย์สี่ห้อง" นี้เป็นชื่อเดิมที่ชาวบ้านเรียกขานกัน ไม่ทราบว่าหมายถึง อะไรกันแน่ อาจหมายถึงฐานของเจดีย์ที่เป็นรูปสี่เหลี่ยม
เจดีย์ประธานเป็นเจดีย์ทรงระฆัง ตั้งอยู่บนฐานรูปสี่เหลี่ยม มีความพิเศษตรงที่ฐานทั้งสี่ด้านประดับด้วยประติมากรรมปูนปั้นรูปบุคคลสวมเครื่องทรงงดงาม นุ่งผ้าซ้อนเป็นชั้นๆ บางองค์มีสองกร บางองค์มีสี่กร แต่ทุกองค์จะถือหม้อน้ำที่มีลายดอกไม้หรือพรรณพฤกษาโผล่ออกมา เรียกว่า "ปูรณฆฏะ" ซึ่งหมายถึง "หม้อแห่งความอุดมสมบูรณ์" แม้ว่าส่วนเศียรของรูปบุคคลเหล่านี้จะไม่มีแล้ว แต่ร่องรอยของปูนปั้นที่หลุดออกไปของรูปบุคคลรูปหนึ่งปรากฏเหมือนเศียรนาค 5 เศียรอยู่ รูปแบบเช่นนี้พบในลังกาค่อนข้างมาก ในฐานะ "มนุษยนาค" ผู้รักษาทรัพย์ในดิน และผู้พิทักษ์ศาสนสถาน สลับกับรูปช้างและสิงห์ เจดีย์ประธานได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์หลายครั้ง ส่วนยอดที่เรียกว่า "ปล้องไฉน" ของเดิมพังทลายลงมาอยู่ด้านข้างเจดีย์จนถึงปัจจุบัน ภายในเคยขุดพบกรุที่เขียนลายพรรณพฤกษาปิดทองร่องชาด (เขียนลายสีทองบนพื้นสีแดง) พบพระพุทธรูปและ "พระพิมพ์นางพญาเสน่ห์จันทร์" บรรจุอยู่รอบๆ เจดีย์ประธานมีเจดีย์รายหลายองค์ด้วย
ด้านหน้าของเจดีย์มีวิหารขนาดใหญ่มาก แม้หลังคา และผนังส่วนใหญ่จะพังทลายลงมาหมดแล้ว แต่ก็ยังเหลือสภาพพอให้เห็นว่าเป็นผนังที่หนา ด้านในยังเหลือร่องรอยของพระพุทธรูปองค์ใหญ่ก่อด้วยอิฐ เหลือเพียงส่วนพระเพลา (ตัก) การสร้างอาคารขนาดใหญ่ด้วยผนังหนาและสูงทึบแบบนี้ไม่นิยมนักในยุคที่ศิลปกรรมสุโขทัยรุ่งเรือง แต่เป็นที่นิยมในศิลปกรรมแบบอยุธยา สอดคล้องกับพื้นที่แถบนี้ที่อยู่ไม่ไกลจากถนนโบราณที่เรียกว่า "ถนนพระร่วง" ที่เชื่อมเมืองสุโขทัยเข้ากับเมืองกำแพงเพชร ที่เป็นฐานที่มั่นหนึ่งของกรุงศรีอยุธยาที่พยายามแผ่อำนาจมาปกคลุมสุโขทัย
ใกล้ๆ วิหาร มีอุโบสถขนาดเล็ก ล้อมรอบด้วยใบเสมา ตั้งอยู่บนเนิน แยกส่วนออกจากสิ่งก่อสร้างหลัก ในสมัยสุโขทัยนั้น อุโบสถมีความสำคัญน้อยกว่าวิหาร เพราะเป็นสถานที่ประชุมเฉพาะพระสงฆ์สำหรับทำสังฆกรรม จึงไม่สร้างให้มีขนาดใหญ่ และมักสร้างแยกออกมาจากสิ่งก่อสร้างหลักของวัด หลายวัดไม่มีอุโบสถ สันนิษฐานว่าคงมีพระสงฆ์จำพรรษาไม่มาก จึงไปใช้อุโบสถร่วมกับวัดอื่นๆ ก็ได้
เจดีย์ประธานเป็นเจดีย์ทรงระฆัง ตั้งอยู่บนฐานรูปสี่เหลี่ยม มีความพิเศษตรงที่ฐานทั้งสี่ด้านประดับด้วยประติมากรรมปูนปั้นรูปบุคคลสวมเครื่องทรงงดงาม นุ่งผ้าซ้อนเป็นชั้นๆ บางองค์มีสองกร บางองค์มีสี่กร แต่ทุกองค์จะถือหม้อน้ำที่มีลายดอกไม้หรือพรรณพฤกษาโผล่ออกมา เรียกว่า "ปูรณฆฏะ" ซึ่งหมายถึง "หม้อแห่งความอุดมสมบูรณ์" แม้ว่าส่วนเศียรของรูปบุคคลเหล่านี้จะไม่มีแล้ว แต่ร่องรอยของปูนปั้นที่หลุดออกไปของรูปบุคคลรูปหนึ่งปรากฏเหมือนเศียรนาค 5 เศียรอยู่ รูปแบบเช่นนี้พบในลังกาค่อนข้างมาก ในฐานะ "มนุษยนาค" ผู้รักษาทรัพย์ในดิน และผู้พิทักษ์ศาสนสถาน สลับกับรูปช้างและสิงห์ เจดีย์ประธานได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์หลายครั้ง ส่วนยอดที่เรียกว่า "ปล้องไฉน" ของเดิมพังทลายลงมาอยู่ด้านข้างเจดีย์จนถึงปัจจุบัน ภายในเคยขุดพบกรุที่เขียนลายพรรณพฤกษาปิดทองร่องชาด (เขียนลายสีทองบนพื้นสีแดง) พบพระพุทธรูปและ "พระพิมพ์นางพญาเสน่ห์จันทร์" บรรจุอยู่รอบๆ เจดีย์ประธานมีเจดีย์รายหลายองค์ด้วย
ด้านหน้าของเจดีย์มีวิหารขนาดใหญ่มาก แม้หลังคา และผนังส่วนใหญ่จะพังทลายลงมาหมดแล้ว แต่ก็ยังเหลือสภาพพอให้เห็นว่าเป็นผนังที่หนา ด้านในยังเหลือร่องรอยของพระพุทธรูปองค์ใหญ่ก่อด้วยอิฐ เหลือเพียงส่วนพระเพลา (ตัก) การสร้างอาคารขนาดใหญ่ด้วยผนังหนาและสูงทึบแบบนี้ไม่นิยมนักในยุคที่ศิลปกรรมสุโขทัยรุ่งเรือง แต่เป็นที่นิยมในศิลปกรรมแบบอยุธยา สอดคล้องกับพื้นที่แถบนี้ที่อยู่ไม่ไกลจากถนนโบราณที่เรียกว่า "ถนนพระร่วง" ที่เชื่อมเมืองสุโขทัยเข้ากับเมืองกำแพงเพชร ที่เป็นฐานที่มั่นหนึ่งของกรุงศรีอยุธยาที่พยายามแผ่อำนาจมาปกคลุมสุโขทัย
ใกล้ๆ วิหาร มีอุโบสถขนาดเล็ก ล้อมรอบด้วยใบเสมา ตั้งอยู่บนเนิน แยกส่วนออกจากสิ่งก่อสร้างหลัก ในสมัยสุโขทัยนั้น อุโบสถมีความสำคัญน้อยกว่าวิหาร เพราะเป็นสถานที่ประชุมเฉพาะพระสงฆ์สำหรับทำสังฆกรรม จึงไม่สร้างให้มีขนาดใหญ่ และมักสร้างแยกออกมาจากสิ่งก่อสร้างหลักของวัด หลายวัดไม่มีอุโบสถ สันนิษฐานว่าคงมีพระสงฆ์จำพรรษาไม่มาก จึงไปใช้อุโบสถร่วมกับวัดอื่นๆ ก็ได้
ข้อมูลติดต่อ
ชื่อผู้ติดต่อ : อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย
ที่อยู่ : อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ต.เมืองเก่า อ.เมืองสุโขทัย จ.สุโขทัย 64210
เบอร์โทรศัพท์ :
พิกัด : 16.997461, 99.708542
Facebook :
ชื่อผู้ติดต่อ :
อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย
ที่อยู่ :
อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ต.เมืองเก่า อ.เมืองสุโขทัย จ.สุโขทัย 64210
เบอร์โทรศัพท์ :
พิกัด :
16.997461, 99.708542
Facebook :
ข้อมูลทั่วไป
วันทำการ : ทุกวัน
เวลาทำการ : แนะนำให้เยี่ยมชมก่อนเวลา 16.00 น. (ไม่ค่อยมีการสัญจรไปมา หลังเวลานี้)
สถานที่ตั้ง : อยู่นอกกำแพงเมืองอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ทางทิศใต้ ประมาณ 2.9 กิโลเมตร
การเดินทาง : รถจักรยาน รถจักรยานยนต์ รถยนต์ส่วนตัว รถไฟฟ้าเช่าขับเอง
วันทำการ :
ทุกวัน
เวลาทำการ :
แนะนำให้เยี่ยมชมก่อนเวลา 16.00 น. (ไม่ค่อยมีการสัญจรไปมา หลังเวลานี้)
สถานที่ตั้ง :
อยู่นอกกำแพงเมืองอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ทางทิศใต้ ประมาณ 2.9 กิโลเมตร
การเดินทาง :
รถจักรยาน รถจักรยานยนต์ รถยนต์ส่วนตัว รถไฟฟ้าเช่าขับเอง
ชมทัศนียภาพ
พักผ่อน
เรียนรู้ประวัติศาสตร์
หาประสบการณ์
เติมเต็มจิตวิญญาณ
โบราณสถาน
เดินเท้า
ปั่นจักรยาน
สามล้อเครื่อง
รถราง
Information Center
ที่จอดรถ
จุดถ่ายภาพ
ตำนานพระร่วง
ป้ายแผนที่
กษัตริย์เสด็จ
กิจกรรมแบบเดี่ยว
กิจกรรมแบบกลุ่ม
เพื่อความรู้์
กิจกรรมกลางแจ้ง