วัดสรศักดิ์
โขลงช้างพลายแห่งเมืองสุโขทัย
(อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย, เมืองเก่าสุโขทัย)
หากจะใช้คำว่า "จิ๋วแต่แจ๋ว" อธิบายคุณค่าของวัดนี้ก็คงไม่ผิดนัก เพราะวัดสรศักดิ์มีขนาดเล็กมากจนนักท่องเที่ยวมักมองข้ามไป แต่หากลองแวะมาชม และศึกษาประวัติศาสตร์แล้วจึงจะพบว่าเป็นวัดที่ไม่ธรรมดาเลย
เจดีย์ประธานของวัดเป็นทรงระฆังซึ่งมีประติมากรรมช้าง 24 เชือกประดับอยู่โดยรอบ ทุกเชือกมีเพียงครึ่งตัวด้านหน้า สันนิษฐานว่าช่างพยายามสื่อความหมายว่าช้างกำลังแบกเทินพระเจดีย์เอาไว้บนหลัง เป็นสัญลักษณ์ของการเชิดชูพระพุทธศาสนา และอาจเกี่ยวข้องกับคติแบบอินเดียและศรีลังกาโบราณ ที่เชื่อว่าโลกตั้งอยู่บนหลังช้าง ในขณะที่นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์ศิลปะมองว่าเจดีย์ที่มีช้างครึ่งตัวล้อมรอบอยู่นี้ พบอยู่ที่สถูปรุวันเวลิ ในศรีลังกา เรียกว่า "หัตถีปราการ" ซึ่งกษัตริย์พระองค์หนึ่งทรงสร้างไว้เป็นอนุสรณ์แห่งช้างที่เป็นพาหนะในการรบอันเกรียงไกรของพระองค์ ดังนั้น เจดีย์ช้างล้อมจึงอาจแสดงให้เห็นความสัมพันธ์ทางศิลปกรรมและความเชื่อระหว่างสุโขทัยกับศรีลังกาได้ด้วย
ใกล้ๆ กับวัดสรศักดิ์มีตระพังขนาดใหญ่ ชื่อตระพังสอ ที่มุมของตระพังด้านที่ใกล้กับวัดที่สุดเป็นจุดที่มีการค้นพบศิลาจารึก มีเนื้อหาโดยสรุปเล่าเรื่องของนายอินทสรศักดิ์ ซึ่งขอพระราชทานที่ดินขนาด 44x39 วา ซึ่งเป็นที่ตั้งบ้านเรือนของตน จากออกญาธรรมราชาผู้ครองเมืองสุโขทัย เพื่อสร้างวัดเมื่อ พุทธศักราช 1960 เป็นที่จำพรรษาของพระมหาเถรธรรมไตรโลก หลังจากนั้นมีเจ้านายหลายพระองค์มาสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่วัดนี้ โดยประทับที่พระตำหนักหัวสนามเก่าด้านทิศตะวันตกของวัด สะท้อนให้เห็นประเพณีหลายอย่างในเวลานั้น เช่น ความเชื่อว่าพระมหากษัตริย์ทรงเป็นเจ้าของที่ดินทั้งหมดในอาณาจักร การสร้างวัดต้องขอพระราชทานที่ดิน แม้จะเป็นที่ดินที่เจ้าของได้สร้างบ้านเรือนอยู่ก็ตาม เชื่อว่าวัดที่สร้างในคราวนั้นก็คือวัดแห่งนี้ จึงเรียกชื่อวัดว่า "วัดสรศักดิ์"
เจดีย์ประธานของวัดเป็นทรงระฆังซึ่งมีประติมากรรมช้าง 24 เชือกประดับอยู่โดยรอบ ทุกเชือกมีเพียงครึ่งตัวด้านหน้า สันนิษฐานว่าช่างพยายามสื่อความหมายว่าช้างกำลังแบกเทินพระเจดีย์เอาไว้บนหลัง เป็นสัญลักษณ์ของการเชิดชูพระพุทธศาสนา และอาจเกี่ยวข้องกับคติแบบอินเดียและศรีลังกาโบราณ ที่เชื่อว่าโลกตั้งอยู่บนหลังช้าง ในขณะที่นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์ศิลปะมองว่าเจดีย์ที่มีช้างครึ่งตัวล้อมรอบอยู่นี้ พบอยู่ที่สถูปรุวันเวลิ ในศรีลังกา เรียกว่า "หัตถีปราการ" ซึ่งกษัตริย์พระองค์หนึ่งทรงสร้างไว้เป็นอนุสรณ์แห่งช้างที่เป็นพาหนะในการรบอันเกรียงไกรของพระองค์ ดังนั้น เจดีย์ช้างล้อมจึงอาจแสดงให้เห็นความสัมพันธ์ทางศิลปกรรมและความเชื่อระหว่างสุโขทัยกับศรีลังกาได้ด้วย
ใกล้ๆ กับวัดสรศักดิ์มีตระพังขนาดใหญ่ ชื่อตระพังสอ ที่มุมของตระพังด้านที่ใกล้กับวัดที่สุดเป็นจุดที่มีการค้นพบศิลาจารึก มีเนื้อหาโดยสรุปเล่าเรื่องของนายอินทสรศักดิ์ ซึ่งขอพระราชทานที่ดินขนาด 44x39 วา ซึ่งเป็นที่ตั้งบ้านเรือนของตน จากออกญาธรรมราชาผู้ครองเมืองสุโขทัย เพื่อสร้างวัดเมื่อ พุทธศักราช 1960 เป็นที่จำพรรษาของพระมหาเถรธรรมไตรโลก หลังจากนั้นมีเจ้านายหลายพระองค์มาสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่วัดนี้ โดยประทับที่พระตำหนักหัวสนามเก่าด้านทิศตะวันตกของวัด สะท้อนให้เห็นประเพณีหลายอย่างในเวลานั้น เช่น ความเชื่อว่าพระมหากษัตริย์ทรงเป็นเจ้าของที่ดินทั้งหมดในอาณาจักร การสร้างวัดต้องขอพระราชทานที่ดิน แม้จะเป็นที่ดินที่เจ้าของได้สร้างบ้านเรือนอยู่ก็ตาม เชื่อว่าวัดที่สร้างในคราวนั้นก็คือวัดแห่งนี้ จึงเรียกชื่อวัดว่า "วัดสรศักดิ์"
ข้อมูลติดต่อ
ชื่อผู้ติดต่อ : อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย
ที่อยู่ : อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ต.เมืองเก่า อ.เมืองสุโขทัย จ.สุโขทัย 64210
เบอร์โทรศัพท์ :
พิกัด : 17.023015, 99.704703
Facebook :
ชื่อผู้ติดต่อ :
อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย
ที่อยู่ :
อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ต.เมืองเก่า อ.เมืองสุโขทัย จ.สุโขทัย 64210
เบอร์โทรศัพท์ :
พิกัด :
17.023015, 99.704703
Facebook :
ข้อมูลทั่วไป
วันทำการ : ทุกวัน
เวลาทำการ : แนะนำให้เยี่ยมชมก่อนเวลา 16.00 น. (ไม่ค่อยมีการสัญจรไปมา หลังเวลานี้)
สถานที่ตั้ง : อยู่ติดกับกำแพงเมืองด้านทิศเหนือ ห่างจากศูนย์กลางประมาณ 2.8 กิโลเมตร
การเดินทาง : รถจักรยาน รถจักรยานยนต์ รถยนต์ส่วนตัว รถไฟฟ้าเช่าขับเอง
ชมทัศนียภาพ
พักผ่อน
เรียนรู้ประวัติศาสตร์
หาประสบการณ์
เติมเต็มจิตวิญญาณ
โบราณสถาน
เดินเท้า
ปั่นจักรยาน
สามล้อเครื่อง
รถราง
Information Center
ที่จอดรถ
จุดถ่ายภาพ
ตำนานพระร่วง
ป้ายแผนที่
กษัตริย์เสด็จ
กิจกรรมแบบเดี่ยว
กิจกรรมแบบกลุ่ม
เพื่อความรู้์
กิจกรรมกลางแจ้ง
จุดสังเกต
วัดสรศักดิ์ตั้งอยู่นอกอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยทางทิศเหนือ ใกล้กับศาลตาผาแดง
ที่ตั้ง
ตั้งอยู่นอกอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ทางทิศเหนือของอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยใกล้กับศาลตาผาแดงและวัดซ่อนข้าว
แผนที่
สิ่งที่ต้องห้ามพลาด
เจดีย์ทรงระฆังหรือทรงลังกา ที่มีช้างรอบฐาน
เจดีย์ประธานทรงระฆังมีช้างล้อม แต่เดิมเจดีย์นี้มีส่วนยอดพังทลายลงและช้างไม่สมบูรณ์อยู่หลายเชือก กรมศิลปากรบูรณะให้งดงามในสมัยหลัง ด้านหน้ามีวิหารหลวงอยู่ด้วย
"พระตำหนักหัวสนามเก่า" ด้านทิศตะวันตกของวัด เป็นศาลตาผาแดงและที่ว่างซึ่งมีดงไม้อยู่ สันนิษฐานว่าคือบริเวณ "พระตำหนักหัวสนามเก่า" ที่ประทับของเจ้านายในสมัยโบราณ ยังปรากฏฐานอาคาร คูน้ำ และบ่อน้ำบาดาลอยู่ด้วย ดังนั้นบริเวณทิศใต้ คือที่ตั้งของพระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราชนั้น อาจเคยเป็น "สนาม" ของเมือง คล้ายกับสนามหลวงในกรุงเทพมหานครนั่นเอง
จารึกวัดสรศักดิ์ จัดแสดงที่ชั้นล่างของอาคารจัดแสดง พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง สลักขึ้นจากหินชนวน รูปทรงใบเสมา ด้านหนึ่งเป็นตัวอักษรจำนวน 35 บรรทัดบอกเล่าประวัติของวัด อีกด้านหนึ่งเป็นภาพสลักลายเส้นพระพุทธรูปลีลา พระสาวก และเทวดา
ข้อแนะนำ
อากาศค่อนข้างร้อน ควรพกร่ม หรือ หมวก และน้ำดื่ม ระหว่างการเยี่ยมชม
แสงแดดจ้า ควรทาโลชั่นกันแดด เพื่อป้องกันผิวไหม้
หากเดินทางเยี่ยมชมในเวลาค่ำ ควรทายากันยุง เนื่องจากบริเวณวัดมีสระน้ำขนาดใหญ่ที่มียุงชุกชุม
วัดสรศักดิ์ ถือเป็นโบราณสถานที่สำคัญแห่งหนึ่งของเมืองสุโขทัย นักท่องเที่ยวควรจะศึกษาข้อมูลมาเบื้องต้นเพื่อให้เข้าใจและสามารถซึมซับประวัติศาสตร์ได้อย่างถ่องแท้
ข้อควรระวัง
หากเดินทางโดยลำพัง ให้ระมัดระวังความปลอดภัย
อย่าปีนป่าย โบราณสถาน ในจุดที่เจ้าหน้าที่เตือน
โปรดปฏิบัติตามคำเตือนของเจ้าหน้าที่อย่างรัดกุม
วัดนี้อยู่นอกเขตชุมชน เปลี่ยว ไม่แนะนำให้เดินทางมาเองคนเดียว ในเวลากลางคืน
วันทำการ :
ทุกวัน
เวลาทำการ :
แนะนำให้เยี่ยมชมก่อนเวลา 16.00 น. (ไม่ค่อยมีการสัญจรไปมา หลังเวลานี้)
สถานที่ตั้ง :
อยู่ติดกับกำแพงเมืองด้านทิศเหนือ ห่างจากศูนย์กลางประมาณ 2.8 กิโลเมตร
การเดินทาง :
ชมทัศนียภาพ
พักผ่อน
เรียนรู้ประวัติศาสตร์
หาประสบการณ์
เติมเต็มจิตวิญญาณ
โบราณสถาน
เดินเท้า
ปั่นจักรยาน
สามล้อเครื่อง
รถราง
Information Center
ที่จอดรถ
จุดถ่ายภาพ
ตำนานพระร่วง
ป้ายแผนที่
กษัตริย์เสด็จ
กิจกรรมแบบเดี่ยว
กิจกรรมแบบกลุ่ม
เพื่อความรู้์
กิจกรรมกลางแจ้ง