วัดตึก
ปริศนาแห่งป่ามะม่วง
(อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย, เมืองเก่าสุโขทัย)
นอกกำแพงเมืองสุโขทัยด้านทิศตะวันตกนั้น ในสมัยโบราณเป็นเขตที่จำพรรษาของ พระสงฆ์ฝ่ายวิปัสสนาธุระ ซึ่งเรียกว่า "อรัญญิก" ซึ่งกร่อนมาจากคำภาษาบาลีว่า "อรัญญิกาวาส" แปลตรงตัวว่า "วัดป่า"
ในเขตอรัญญิกของเมืองสุโขทัย ซึ่งมีทิวเขาสลับซับซ้อน ป่าไม้ ลำธาร อารามหลายแห่งตั้งอยู่นั้น อาณาบริเวณที่เรียกว่า "ป่ามะม่วง" คงจะมีความสำคัญที่สุด ด้วยมีอารามสำคัญที่เรียกว่า "วัดป่ามะม่วง" อันเป็นที่ประทับของสมเด็จพระมหาธรรมราชาลิไทเมื่อทรงผนวช มีวัดศรีโทนที่ประทับของสมเด็จพระมหาสวามีสังฆราช และเทวสถานอยู่ในบริเวณด้วย ปัจจุบันโบราณสถานเหล่านี้ก็ยังปรากฏซากปรักหักพังอยู่
ทว่า มณฑปขนาดเล็ก ที่มีผนังทึบสามด้าน หันหน้าไปทางทางทิศตะวันออก มีช่องประตูที่มีส่วนบนเป็นซุ้มแหลม ภายในเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปแต่หักพังลงเสียแล้ว ที่ชาวบ้านเรียกกันว่า "วัดตึก" นั้น กลับไม่สามารถชี้เฉพาะว่าแต่เดิมมีชื่อว่าอะไร จะเป็นวัดหนึ่งต่างหาก หรือเป็นส่วนหนึ่งของวัดสำคัญอื่นๆ ก็มิทราบได้
ทว่าคุณค่าของโบราณสถานแห่งนี้ไม่ได้อยู่ที่ชื่อหรือสถานะของวัด หากอยู่ที่สถาปัตยกรรมและการตกแต่ง โดยเฉพาะร่องรอยของการประดับด้านนอกของมณฑปด้วยลายปูนปั้น ที่เมื่อหลายสิบปีก่อนยังมองเห็นเกือบสมบูรณ์ แต่ปัจจุบันหลุดร่วงลงเกือบหมด เหลือเพียงท่อนแขนของบุคคล และสิ่งที่คล้ายกับบันได สันนิษฐานว่าเคยเป็นส่วนหนึ่งของภาพเหตุการณ์ในพุทธประวัติตอนเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ซึ่งช่างสุโขทัยนิยมสร้างกันในอดีต
ในเขตอรัญญิกของเมืองสุโขทัย ซึ่งมีทิวเขาสลับซับซ้อน ป่าไม้ ลำธาร อารามหลายแห่งตั้งอยู่นั้น อาณาบริเวณที่เรียกว่า "ป่ามะม่วง" คงจะมีความสำคัญที่สุด ด้วยมีอารามสำคัญที่เรียกว่า "วัดป่ามะม่วง" อันเป็นที่ประทับของสมเด็จพระมหาธรรมราชาลิไทเมื่อทรงผนวช มีวัดศรีโทนที่ประทับของสมเด็จพระมหาสวามีสังฆราช และเทวสถานอยู่ในบริเวณด้วย ปัจจุบันโบราณสถานเหล่านี้ก็ยังปรากฏซากปรักหักพังอยู่
ทว่า มณฑปขนาดเล็ก ที่มีผนังทึบสามด้าน หันหน้าไปทางทางทิศตะวันออก มีช่องประตูที่มีส่วนบนเป็นซุ้มแหลม ภายในเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปแต่หักพังลงเสียแล้ว ที่ชาวบ้านเรียกกันว่า "วัดตึก" นั้น กลับไม่สามารถชี้เฉพาะว่าแต่เดิมมีชื่อว่าอะไร จะเป็นวัดหนึ่งต่างหาก หรือเป็นส่วนหนึ่งของวัดสำคัญอื่นๆ ก็มิทราบได้
ทว่าคุณค่าของโบราณสถานแห่งนี้ไม่ได้อยู่ที่ชื่อหรือสถานะของวัด หากอยู่ที่สถาปัตยกรรมและการตกแต่ง โดยเฉพาะร่องรอยของการประดับด้านนอกของมณฑปด้วยลายปูนปั้น ที่เมื่อหลายสิบปีก่อนยังมองเห็นเกือบสมบูรณ์ แต่ปัจจุบันหลุดร่วงลงเกือบหมด เหลือเพียงท่อนแขนของบุคคล และสิ่งที่คล้ายกับบันได สันนิษฐานว่าเคยเป็นส่วนหนึ่งของภาพเหตุการณ์ในพุทธประวัติตอนเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ซึ่งช่างสุโขทัยนิยมสร้างกันในอดีต
ข้อมูลติดต่อ
ชื่อผู้ติดต่อ : อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย
ที่อยู่ : อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ต.เมืองเก่า อ.เมืองสุโขทัย จ.สุโขทัย 64210
เบอร์โทรศัพท์ :
พิกัด : 17.01539, 99.68753
Facebook :
ชื่อผู้ติดต่อ :
อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย
ที่อยู่ :
อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ต.เมืองเก่า อ.เมืองสุโขทัย จ.สุโขทัย 64210
เบอร์โทรศัพท์ :
พิกัด :
17.01539, 99.68753
Facebook :
ข้อมูลทั่วไป
วันทำการ : ทุกวัน
เวลาทำการ : แนะนำให้เยี่ยมชมก่อนเวลา 16.00 น. (ห่างจากบ้านชุมชน ไม่ค่อยมีการสัญจรไปมา)
สถานที่ตั้ง : อยู่นอกกำแพงเมืองอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ทางด้านทิศตะวันตก ประมาณ 2 กิโลเมตร
การเดินทาง : รถจักรยาน รถจักรยานยนต์ รถยนต์ส่วนตัว รถไฟฟ้าเช่าขับเอง
วันทำการ :
ทุกวัน
เวลาทำการ :
แนะนำให้เยี่ยมชมก่อนเวลา 16.00 น. (ห่างจากบ้านชุมชน ไม่ค่อยมีการสัญจรไปมา)
สถานที่ตั้ง :
อยู่นอกกำแพงเมืองอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ทางด้านทิศตะวันตก ประมาณ 2 กิโลเมตร
การเดินทาง :
รถจักรยาน รถจักรยานยนต์ รถยนต์ส่วนตัว รถไฟฟ้าเช่าขับเอง
ชมทัศนียภาพ
พักผ่อน
เรียนรู้ประวัติศาสตร์
หาประสบการณ์
เติมเต็มจิตวิญญาณ
โบราณสถาน
เดินเท้า
ปั่นจักรยาน
สามล้อเครื่อง
รถราง
Information Center
ที่จอดรถ
จุดถ่ายภาพ
ตำนานพระร่วง
ป้ายแผนที่
กษัตริย์เสด็จ
กิจกรรมแบบเดี่ยว
กิจกรรมแบบกลุ่ม
เพื่อความรู้์
กิจกรรมกลางแจ้ง