วัดตระพังทอง อารามเก่าแก่ที่มีโบราณสถานสมัยสุโขทัยตั้งอยู่บนเกาะกลางน้ำ เราสามารถมองเห็นทัศนียภาพอันงดงามของวัดนี้ เมื่อรถแล่นผ่านถนนจรดวิถีถ่องเข้าสู่ใจกลางตลาดเมืองเก่าสุโขทัย ประกอบไปด้วยสถูปทรงลังกา หรือทรงระฆังก่อด้วยอิฐสูงตระหง่าน และอุโบสถสีขาวสะอาดซึ่งหันหน้าไปทางทิศตะวันตกหลังเดียวของสุโขทัย มีสะพานไม้ทอดยาวสู่เกาะแห่งนั้น
สามเณรพระยารณชัยชาญยุทธ (ครุธ หงสนันท์) อดีตเจ้าเมืองกิตติมศักดิ์ซึ่งสละชีวิตฆราวาสบรรพชาเป็นสามเณรเมื่อย่างเข้าสู่วัยชรา และมาจำพรรษาที่วัดนี้กระทั่งมรณภาพในสมณเพศได้เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงรวมกำลังชาวบ้านแถบนี้สร้างอุโบสถของวัดตระพังทองขึ้นบนฐานของอาคารสมัยสุโขทัย ภายในเป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่อขาว ด้านหลังพระอุโบสถ มีสถูปประธานของวัด ถัดไปอีกเป็นที่ตั้งของมณฑปประดิษฐานรอยพระพุทธบาทสมัยสุโขทัย ซึ่งสันนิษฐานว่าสมเด็จพระมหาธรรมราชาที่ ๑ (ลิไท) โปรดฯให้สร้างขึ้นด้วยหินชนวนเมื่อปี พ.ศ.๑๙๐๒ เดิมประดิษฐานอยู่ที่วัดเขาพระบาทใหญ่ หลังเมืองโบราณสุโขทัยด้านทิศตะวันตก ก่อนจะถูกเคลื่อนย้ายมาประดิษฐานที่วัดตระพังทองเมื่อปี พ.ศ.๒๔๗๓ โดยพระราชประสิทธิคุณ (ทิมยสทินฺโน) เจ้าคณะจังหวัดสุโขทัย และเจ้าอาวาสวัดราชธานีในเวลานี้ และมีการจัดงานนบพระบาททุกปีมาจนกระทั่งปัจจุบัน
สิ่งก่อสร้างที่กล่าวมาแล้วนี้ทั้งหมดตั้งอยู่บนเกาะกลางสระน้ำที่ชาวบ้านเรียกว่า "ตระพังทอง" มีสะพานไม้ทอดข้ามเข้าสู่เกาะ ทุกๆเช้าพระภิกษุจะบิณฑบาตผ่านสะพานนี้ เปิดโอกาสให้พุทธศาสนิกชนตักบาตร ท่ามกลางบรรยากาศที่งดงาม
ด้านทิศตะวันออกของวัดตระพังทองเป็นที่ตั้งของตลาดสด ซึ่งมีสินค้านานาชนิดให้เลือกซื้อโดยเฉพาะในช่วงเช้าที่ผู้คนในพื้นที่มักมาจับจ่ายซื้อหาอาหารมื้อเช้ากันท่ามกลางบรรยากาศเป็นกันเอง ไม่ไกลจากตลาด ริมตระพังทอง เชิงสะพานที่จะข้ามไปเกาะกลางน้ำ มีวิหารประดิษฐานพระร่วง และขอมดำดิน ตามตำนานพื้นถิ่น ซึ่งชาวบ้านให้ความเคารพนับถืออย่างยิ่ง
ด้านหน้าของตลาดนี้เป็นที่ตั้งของซุ้มประตูสังคโลก ทางเข้าหลักสู่วัดตระพังทอง ซุ้มประตูสังคโลกแห่งนี้ ออกแบบโดยนางวนิดา พึ่งสุนทร ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะสถาปัตยกรรม (แบบประเพณี) ประจำปี ๒๕๔๖ และสร้างสรรค์สังคโลกโดนร้านคเณชาสังคโลก งดงามเป็นเอกลักษณ์สะท้อนภูมิปัญญาท้องถิ่นได้อย่างน่าชื่นชม
สามเณรพระยารณชัยชาญยุทธ (ครุธ หงสนันท์) อดีตเจ้าเมืองกิตติมศักดิ์ซึ่งสละชีวิตฆราวาสบรรพชาเป็นสามเณรเมื่อย่างเข้าสู่วัยชรา และมาจำพรรษาที่วัดนี้กระทั่งมรณภาพในสมณเพศได้เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงรวมกำลังชาวบ้านแถบนี้สร้างอุโบสถของวัดตระพังทองขึ้นบนฐานของอาคารสมัยสุโขทัย ภายในเป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่อขาว ด้านหลังพระอุโบสถ มีสถูปประธานของวัด ถัดไปอีกเป็นที่ตั้งของมณฑปประดิษฐานรอยพระพุทธบาทสมัยสุโขทัย ซึ่งสันนิษฐานว่าสมเด็จพระมหาธรรมราชาที่ ๑ (ลิไท) โปรดฯให้สร้างขึ้นด้วยหินชนวนเมื่อปี พ.ศ.๑๙๐๒ เดิมประดิษฐานอยู่ที่วัดเขาพระบาทใหญ่ หลังเมืองโบราณสุโขทัยด้านทิศตะวันตก ก่อนจะถูกเคลื่อนย้ายมาประดิษฐานที่วัดตระพังทองเมื่อปี พ.ศ.๒๔๗๓ โดยพระราชประสิทธิคุณ (ทิมยสทินฺโน) เจ้าคณะจังหวัดสุโขทัย และเจ้าอาวาสวัดราชธานีในเวลานี้ และมีการจัดงานนบพระบาททุกปีมาจนกระทั่งปัจจุบัน
สิ่งก่อสร้างที่กล่าวมาแล้วนี้ทั้งหมดตั้งอยู่บนเกาะกลางสระน้ำที่ชาวบ้านเรียกว่า "ตระพังทอง" มีสะพานไม้ทอดข้ามเข้าสู่เกาะ ทุกๆเช้าพระภิกษุจะบิณฑบาตผ่านสะพานนี้ เปิดโอกาสให้พุทธศาสนิกชนตักบาตร ท่ามกลางบรรยากาศที่งดงาม
ด้านทิศตะวันออกของวัดตระพังทองเป็นที่ตั้งของตลาดสด ซึ่งมีสินค้านานาชนิดให้เลือกซื้อโดยเฉพาะในช่วงเช้าที่ผู้คนในพื้นที่มักมาจับจ่ายซื้อหาอาหารมื้อเช้ากันท่ามกลางบรรยากาศเป็นกันเอง ไม่ไกลจากตลาด ริมตระพังทอง เชิงสะพานที่จะข้ามไปเกาะกลางน้ำ มีวิหารประดิษฐานพระร่วง และขอมดำดิน ตามตำนานพื้นถิ่น ซึ่งชาวบ้านให้ความเคารพนับถืออย่างยิ่ง
ด้านหน้าของตลาดนี้เป็นที่ตั้งของซุ้มประตูสังคโลก ทางเข้าหลักสู่วัดตระพังทอง ซุ้มประตูสังคโลกแห่งนี้ ออกแบบโดยนางวนิดา พึ่งสุนทร ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะสถาปัตยกรรม (แบบประเพณี) ประจำปี ๒๕๔๖ และสร้างสรรค์สังคโลกโดนร้านคเณชาสังคโลก งดงามเป็นเอกลักษณ์สะท้อนภูมิปัญญาท้องถิ่นได้อย่างน่าชื่นชม
ข้อมูลติดต่อ
ชื่อผู้ติดต่อ : วัดตระพังทอง
ที่อยู่ : ต.เมืองเก่า อ.เมืองสุโขทัย จ.สุโขทัย 64210
เบอร์โทรศัพท์ :
พิกัด : 17.0176, 99.70906
อีเมล์ : traphangthong@hotmail.com
Facebook :
Website :
ชื่อผู้ติดต่อ :
วัดตระพังทอง
ที่อยู่ :
ต.เมืองเก่า อ.เมืองสุโขทัย จ.สุโขทัย 64210
เบอร์โทรศัพท์ :
พิกัด :
17.0176, 99.70906
อีเมล์ :
traphangthong@hotmail.com
Facebook :
Website :
ข้อมูลทั่วไป
วันทำการ : ทุกวัน
เวลาทำการ : 08.00-18.00
ค่าเข้าชม : -
ค่าเช่าพาหนะ : รถจักรยาน 30 บาท/วัน (สามารถเช่าได้ ที่ด้านหน้าอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย)
ค่าบริการ รถจักรยานยนต์ 200-250 บาท (ราคาเช่าต่อวัน)
รถสามล้อเครื่อง 150-200 บาท (ราคาโดยประมาณ) จอดบริเวณด้านหน้าประตูอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย)
หมายเหตุ ร้านเช่ารถ อยู่ตรงข้ามพิพิธภัณฑสถานรามคำแหง บริเวณที่ด้านหน้าอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย
วันทำการ :
ทุกวัน
เวลาทำการ :
08.00-18.00
ค่าเข้าชม :
-
ค่าเช่าพาหนะ :
หมายเหตุ ร้านเช่ารถ อยู่ตรงข้ามพิพิธภัณฑสถานรามคำแหง บริเวณที่ด้านหน้าอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย
สัญลักษณ์
แรงจูงใจ :
ประเภทของสถานที่
การเดินทาง
Touch Point
กิจกรรม
แรงจูงใจ :
ประเภทของสถานที่
การเดินทาง
Touch Point
กิจกรรม
แนะนำการเดินทาง
วัดตระพังทอง ตั้งนอกเขตอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย หากเดินทางมาจากเขตเทศบาลเมืองสุโขทัย มายังอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย จะต้องเดินทางด้วย รถจักรยาน , รถจักรยานยนต์ , รถยนต์ , รถคอกหมู และรถสามล้อเครื่อง มีระยะทางห่าง 12.9 กิโลเมตร
วิธีการเดินทาง
ระยะทาง
ระยะเวลา
หมายเหตุ
เดินเท้า
12.9 กม
2.30-2.50 ชั่วโมง
ไม่แนะนำ
รถจักรยาน
12.9 กม
20-30 นาที
-
รถมอเตอร์ไซค์
12.9 กม
15-20 นาที
-
รถยนต์
12.9 กม
10-15 นาทีี
-
รถคอกหมู
12.9 กม
-
ตามข้อตกลง
รถสามล้อเครื่อง
12.9 กม
ตามข้อตกลง
อื่นๆ (รถราง)
-
-
-
วิธีการเดินทาง
จากประตูทางเข้าอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยเดินทางไป วัดตระพังทอง ซึ่งอยู่ภายนอกอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย สามารถเที่ยวชมภายในด้วยการ เดินเท้า, ปั่นจักรยาน รถจักรยานยนต์ , รถยนต์ , รถคอกหมู และรถสามล้อเครื่อง เท่านั้น โดยวัดระยะทางจากประตูทางเข้าได้เป็นระยะทาง 270 เมตร
วิธีการเดินทาง
ระยะทาง
ระยะเวลา
หมายเหตุ
เดินเท้า
270 เมตร
3-5 นาที
-
รถจักรยาน
270 เมตร
2-5 นาที
-
รถมอเตอร์ไซค์
270 เมตร
1-3 นาที
-
รถยนต์
270 เมตร
1-2 นาที
-
รถคอกหมู
270 เมตร
1-4 นาที
-
รถสามล้อเครื่อง
270 เมตร
2-4 นาที
ตามข้อตกลง
อื่นๆ (รถราง)
-
-
-