ศิลปกรรมผนังชิ้นเอกของสุโขทัย รูปปูนปั้นพุทธประวัติ วัดตระพังทองหลาง ความงดงามวิจิตร "ยุคทองของศิลปะสมัยสุโขทัย" ที่ยังเหลือให้ไปเยี่ยมชม
โบราณสถานวัดตระพังทองหลางตั้งอยู่นอกเมืองเก่าสุโขทัยไปทางทิศตะวันออก ปัจจุบันมีการบูรณะขึ้นใหม่ในบริเวณใกล้เคียงกับโบราณสถาน มีพระภิกษุ สามเณร จำพรรษา
พระอุโบสถ ตั้งอยู่บริเวณด้านหลังเจดีย์ประธาน สร้างขึ้นโดยพญารณชาญ (ครุฑ) เจ้าเมืองสุโขทัย ภายในพระอุโบสถประดิษฐานด้วยพระพุทธรูปปูนปั้นสีขาวนามว่า หลวงพ่อขาว เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ด้านนอกพระอุโบสถมีลักษณะก่ออิฐถือปูน ด้านหน้าเป็นมุขโถง ไม่มีเสาพาไลรองรับหลังคา หน้าบันไม้แบบลูกฟัก หลังคาทรงจั่วลด 2 ชั้น มีหางหงส์ปูนปั้นรูปมกร และใบเสมาหินชนวนคู่ตั้งอยู่รอบพระอุโบสถ ภายนอกก่อเป็นกำแพงแก้ว
มณฑปจัตุรมุข ตั้งอยู่ด้านหน้าเจดีย์ประธาน เป็นมณฑปขนาดเล็ก มีสัดส่วนที่งดงามที่สุด ภายในมณฑปประดิษฐานรอยพระพุทธบาทเบื้องขวา จากหินสีเทาดำ ภายในรอยพระพุทธบาทนั้น จำหลักเป็นลายมงคลหนึ่งร้อยแปด และลายดอกจันโดยรอบ สร้างขึ้นสมัยพระมหาธรรมราชาลิไท เมื่อปี พ.ศ. 1902 โดยทรงให้จำลองแบบจากศรีลังกา ในอดีตเคยนำไป ประดิษฐานไว้ที่เขาพระบาทใหญ่
เมื่อมาเยือนแห่งนี้ ต้องไปชมศิลปกรรมปูนปั้นเกี่ยวกับพุทธประวัติบนผนังทั้งสามด้านของมณฑป ตอนพระพุทธเจ้าเสด็จลงจากดาวดึงส์ ตอนประทานเทศนาโปรดพระพุทธบิดากับกษัตริย์ศากยราช และตอนเสด็จโปรดนางพิมพา นับเป็นศิลปกรรมชิ้นเอกของสุโขทัย มีความเก่าแก่มาก ถือว่าภาพปูนปั้นเหล่านี้แสดงถึงลักษณะศิลปกรรมสมัยสุโขทัยที่เจริญสูงสุด หรือที่เรียกว่า "ยุคทองของศิลปะสมัยสุโขทัย" ซึ่งมีอายุอยู่ในราวกลางพุทธศตวรรษที่ 20
โบราณสถานวัดตระพังทองหลางตั้งอยู่นอกเมืองเก่าสุโขทัยไปทางทิศตะวันออก ปัจจุบันมีการบูรณะขึ้นใหม่ในบริเวณใกล้เคียงกับโบราณสถาน มีพระภิกษุ สามเณร จำพรรษา
พระอุโบสถ ตั้งอยู่บริเวณด้านหลังเจดีย์ประธาน สร้างขึ้นโดยพญารณชาญ (ครุฑ) เจ้าเมืองสุโขทัย ภายในพระอุโบสถประดิษฐานด้วยพระพุทธรูปปูนปั้นสีขาวนามว่า หลวงพ่อขาว เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ด้านนอกพระอุโบสถมีลักษณะก่ออิฐถือปูน ด้านหน้าเป็นมุขโถง ไม่มีเสาพาไลรองรับหลังคา หน้าบันไม้แบบลูกฟัก หลังคาทรงจั่วลด 2 ชั้น มีหางหงส์ปูนปั้นรูปมกร และใบเสมาหินชนวนคู่ตั้งอยู่รอบพระอุโบสถ ภายนอกก่อเป็นกำแพงแก้ว
มณฑปจัตุรมุข ตั้งอยู่ด้านหน้าเจดีย์ประธาน เป็นมณฑปขนาดเล็ก มีสัดส่วนที่งดงามที่สุด ภายในมณฑปประดิษฐานรอยพระพุทธบาทเบื้องขวา จากหินสีเทาดำ ภายในรอยพระพุทธบาทนั้น จำหลักเป็นลายมงคลหนึ่งร้อยแปด และลายดอกจันโดยรอบ สร้างขึ้นสมัยพระมหาธรรมราชาลิไท เมื่อปี พ.ศ. 1902 โดยทรงให้จำลองแบบจากศรีลังกา ในอดีตเคยนำไป ประดิษฐานไว้ที่เขาพระบาทใหญ่
เมื่อมาเยือนแห่งนี้ ต้องไปชมศิลปกรรมปูนปั้นเกี่ยวกับพุทธประวัติบนผนังทั้งสามด้านของมณฑป ตอนพระพุทธเจ้าเสด็จลงจากดาวดึงส์ ตอนประทานเทศนาโปรดพระพุทธบิดากับกษัตริย์ศากยราช และตอนเสด็จโปรดนางพิมพา นับเป็นศิลปกรรมชิ้นเอกของสุโขทัย มีความเก่าแก่มาก ถือว่าภาพปูนปั้นเหล่านี้แสดงถึงลักษณะศิลปกรรมสมัยสุโขทัยที่เจริญสูงสุด หรือที่เรียกว่า "ยุคทองของศิลปะสมัยสุโขทัย" ซึ่งมีอายุอยู่ในราวกลางพุทธศตวรรษที่ 20
ข้อมูลติดต่อ
ชื่อผู้ติดต่อ : อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย
ที่อยู่ : อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ต.เมืองเก่า อ.เมืองสุโขทัย จ.สุโขทัย 64210
เบอร์โทรศัพท์ :
พิกัด : 17.01614, 99.71881
Facebook :
ชื่อผู้ติดต่อ :
อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย
ที่อยู่ :
อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ต.เมืองเก่า อ.เมืองสุโขทัย จ.สุโขทัย 64210
เบอร์โทรศัพท์ :
พิกัด :
17.01614, 99.71881
Facebook :
ข้อมูลทั่วไป
วันทำการ : ทุกวัน
เวลาทำการ : แนะนำให้เยี่ยมชมก่อนเวลา 15.00 น.
ค่าเข้าชม : -
ค่าเช่าพาหนะ : รถจักรยาน 30 บาท/วัน (สามารถเช่าได้ ที่ด้านหน้าอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย)
ค่าบริการ รถจักรยานยนต์ 200-250 บาท (ราคาเช่าต่อวัน)
รถสามล้อเครื่อง 150-200 บาท (ราคาโดยประมาณ) จอดบริเวณด้านหน้าประตูอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย)
หมายเหตุ ร้านเช่ารถ อยู่ตรงข้ามพิพิธภัณฑสถานรามคำแหง บริเวณที่ด้านหน้าอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย
วันทำการ :
ทุกวัน
เวลาทำการ :
แนะนำให้เยี่ยมชมก่อนเวลา 15.00 น.
ค่าเข้าชม :
-
ค่าเช่าพาหนะ :
หมายเหตุ ร้านเช่ารถ อยู่ตรงข้ามพิพิธภัณฑสถานรามคำแหง บริเวณที่ด้านหน้าอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย
สัญลักษณ์
แรงจูงใจ :
ประเภทของสถานที่
การเดินทาง
Touch Point
กิจกรรม
แรงจูงใจ :
ประเภทของสถานที่
การเดินทาง
Touch Point
กิจกรรม
แนะนำการเดินทาง
วัดตระพังทองหลาง ตั้งนอกเขตอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย หากเดินทางมาจากเขตเทศบาลเมืองสุโขทัย มายังอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย จะต้องเดินทางด้วย รถจักรยาน , รถจักรยานยนต์ , รถยนต์ , รถคอกหมู และรถสามล้อเครื่อง มีระยะทางห่าง 12.9 กิโลเมตร
วิธีการเดินทาง
ระยะทาง
ระยะเวลา
หมายเหตุ
เดินเท้า
12.9 กม
2.30-2.50 ชั่วโมง
ไม่แนะนำ
รถจักรยาน
12.9 กม
20-30 นาที
-
รถมอเตอร์ไซค์
12.9 กม
15-20 นาที
-
รถยนต์
12.9 กม
10-15 นาทีี
-
รถคอกหมู
12.9 กม
-
ตามข้อตกลง
รถสามล้อเครื่อง
12.9 กม
ตามข้อตกลง
อื่นๆ (รถราง)
-
-
-
วิธีการเดินทาง
จากประตูทางเข้าอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยเดินทางไป วัดตระพังทองหลาง ซึ่งอยู่ภายนอกอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย สามารถเที่ยวชมภายในด้วยการ เดินเท้า, ปั่นจักรยาน รถจักรยานยนต์ , รถยนต์ , รถคอกหมู และรถสามล้อเครื่องเท่านั้น โดยวัดระยะทางจากประตูทางเข้าได้เป็นระยะทาง 1.6 กิโลเมตร
วิธีการเดินทาง
ระยะทาง
ระยะเวลา
หมายเหตุ
เดินเท้า
1.6 กม.
20-30 นาที
-
รถจักรยาน
1.6 กม.
10-20 นาที
-
รถมอเตอร์ไซค์
1.6 กม.
8-12 นาที
-
รถยนต์
1.6 กม.
4-8 นาที
-
รถคอกหมู
1.6 กม.
6-8 นาที
-
รถสามล้อเครื่อง
1.6 กม.
8-13 นาที
ตามข้อตกลง
อื่นๆ (รถราง)
-
-
-